×

Wealth Me Up ให้เงินทำงาน

ฝากออมทรัพย์ ระวังเรื่องภาษี!

57,726

 

วันก่อนเจอคนรู้จักเล่าให้ฟังว่า ในภาวะที่ดอกเบี้ยต่ำๆ อย่างนี้ หนีไปฝากเงินกับธนาคารขนาดเล็กบางแห่งได้ “ดอกเบี้ยเยอะ” แถม “ไม่ต้องเสียภาษี” ด้วย

 

ได้ยินแบบนี้ก็รู้สึกแปลกใจ?!?

 

เพราะถ้า “ดอกเบี้ยเยอะ” ก็น่าจะเป็น “เงินฝากประจำ” แต่ก็ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% หรือ ถ้าเป็น “เงินฝากออมทรัพย์” ดอกเบี้ยก็ไม่เยอะ

 

สรุปได้ความว่าเป็น “เงินฝากออมทรัพย์” แต่เป็นเงินฝากออมทรัพย์ “พิเศษ” ที่จำกัดจำนวนการถอนในแต่ละเดือน ซึ่งดอกเบี้ยก็น่าสนใจทีเดียว แต่ก็ต้องไม่ลืมว่าแม้ “ดอกเบี้ยสูง” ก็ต้องมี “ดอกเบี้ยรวมกันไม่เกิน 20,000 บาท ถึงจะไม่ถูกหักภาษี เพราะไม่เช่นนั้นต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15% เหมือนดอกเบี้ยเงินฝากทั่วไปตั้งแต่บาทแรก”

 

หลายคนเข้าใจผิด

 

เพราะคิดว่าสามารถใช้วิธีการกระจายบัญชี แยกฝากออมทรัพย์หลายบัญชี หลายสาขา หลายธนาคาร เพื่อให้ดอกเบี้ยออมทรัพย์ที่ได้รับไม่เกิน 20,000 บาทต่อบัญชี เพื่อจะได้ไม่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย…ซึ่งการคิดแบบนี้ไม่ถูกต้อง

 

เพราะประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้(ฉบับที่ 55) เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร ที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์ ระบุชัดเจนว่า

 

  1. ดอกเบี้ยเงินออมทรัพย์ที่จะ “ได้รับยกเว้น” ไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องเป็นดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร และมี “จำนวนดอกเบี้ยรวมกันทั้งสิ้นไม่เกิน 20,000 บาท ตลอดปีภาษีนั้น
  2. ถ้าเราได้รับดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์จากทุกธนาคาร “รวมกันเกิน 20,000 บาทตลอดปีภาษีนั้น” ให้แจ้งธนาคารผู้จ่ายดอกเบี้ยเพื่อ “หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายด้วย”
  3. ถ้าหากมีธนาคารไหนที่จ่ายดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ให้เราเป็นจำนวนรวมกันเกิน 20,000 บาท ตลอดปีภาษีนั้น กรณีนี้ผู้ฝากไม่ต้องแจ้งธนาคารให้หักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นหน้าที่ของธนาคารที่จ่ายดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์นั้นหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

 

สรุปคือ กรมสรรพากรไม่สนว่าดอกเบี้ยออมทรัพย์จะมาจากธนาคารไหน กรมสรรพากรสนใจแค่ว่าเราในฐานะผู้มีเงินได้ในปีนั้น ได้รับดอกเบี้ยจากเงินฝากออมทรัพย์ “รวมทุกธนาคาร” เท่าไหร่? “ถ้ามากกว่า 20,000 บาท เราก็ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย

 

แต่ถ้าเราไม่ได้แจ้งธนาคารให้หัก ณ ที่จ่าย 15% หรือธนาคารไม่ได้หักให้เรา ผู้ฝากก็ยังต้องมีหน้าที่ต้องเสียภาษีอยู่ดี โดยการนำดอกเบี้ยออมทรัพย์ที่ได้ทั้งหมดไปรวมกับเงินได้อื่นๆ ตอนยื่นภาษีเงินได้ และเสียภาษีตามฐานภาษีของตน เช่น หากฐานภาษีสูงสุดของเราอยู่ที่ 30% เราก็ต้องเสียภาษีดอกเบี้ยออมทรัพย์ของเราที่อัตรา 30% ดังนั้นแทนที่จะประหยัดภาษี (โดยให้หัก ณ ที่จ่าย 15% แล้วจบเลย) กลับต้องเสียภาษีมากขึ้น และหากเราไม่เอาดอกเบี้ยเงินฝาก (ที่ไม่ได้หัก ณ ที่จ่าย) ไปรวมกับเงินได้อื่นเพื่อยื่นภาษี ก็จะมีความผิดตามกฎหมายด้วย อาจโดนเบี้ยปรับเพิ่มได้

 

นี่คือเรื่องราวของ “เงินฝากออมทรัพย์” กับการเสียภาษี ณ ที่จ่ายเท่านั้น แต่ใครมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเงินฝากประเภทอื่นว่าจะต้องถูกหัก ณ ที่จ่ายหรือไม่ อย่างไร หรือมีการยกเว้นส่วนใดบ้าง ลองศึกษาจากตารางนี้

 

 

#WealthMeUp

 

กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

Related Stories

amazon anti fatigue mats