×

Wealth Me Up ให้เงินทำงาน

หลุมพรางดอกเบี้ยเงินกู้

13,026

 

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

เวลากู้เงินซื้อบ้าน หลายคนคงรู้ว่า การจ่ายดอกเบี้ยมี 2 แบบ คือ ปีแรกๆ เช่น 2 ปี 3 ปี เป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ เช่น  2.50%, 3.50% ถัดจากช่วงนั้นไป ตลอดระยะเวลาการกู้ที่เหลือ แบงก์จะคิดดอกเบี้ยลอยตัว โดยอิงกับดอกเบี้ย MLR หรือบางแบงก์อิงกับดอกเบี้ย MRR

 

ถึงจะรู้แบบนี้ แต่ผู้กู้จำนวนไม่น้อยมักจะเลือกกู้เงินจากแบงก์ที่มี “ดอกเบี้ยถูกสุด” ในช่วงแรก ซึ่งในระยะยาวแล้วอาจไม่ได้ถูกจริง

 

ตัวอย่างเช่น

 

กรณีแรก แบงก์ ABC เสนอดอกเบี้ยคงที่ 3 ปีแรกที่ระดับ 5% ต่อปี ถัดจากนั้นคิดดอกเบี้ยลอยตัวไปตลอดระยะเวลาการกู้ MRR – 2.50%

 

กรณีที่สอง แบงก์ XYZ เสนอดอกเบี้ยคงที่ 4 ปีแรกที่ระดับ 3% ต่อปี จากนั้นคิด    MRR – 1.00%

 

พอเห็นแบบนี้ ผู้กู้ต้องเลือกกู้เงินกับแบงก์ XYZ แน่นอน เพราะช่วงปีแรกๆ เสนอดอกเบี้ยคงที่ถูกกว่าแบงก์ ABC

 

แต่ถ้านั่งคำนวณกันดีๆ แบงก์ XYZ อาจไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีก็ได้ เพราะหลังจากกลายเป็นดอกเบี้ยลอยตัวแล้วอาจจะสูงกว่าแบงก์แรก เพราะระยะเวลาการกู้ซื้อบ้านส่วนใหญ่จะกินระยะเวลานาน เช่น 20 ปี, 25 ปี หรือ 30 ปี

 

ดังนั้น ต้นทุนดอกเบี้ยลอยตัวคือประเด็นที่ควรคำนึงถึง ยิ่งช่วงดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น มีโอกาสที่แต่ละแบงก์จะปรับขึ้นดอกเบี้ย MLR และ MRR

 

เช่น ปีนี้แบงก์ ABC และแบงก์ XYZ กำหนดอัตราดอกเบี้ย MRR ที่ 7.00% หมายความว่า ถ้าผู้กู้เงินจากแบงก์ ABC มีต้นทุนจ่ายดอกเบี้ยปีนี้ 4.50% (7.00 – 2.50) และถ้ากู้กับแบงก์ XYZ มีต้นทุนดอกเบี้ย 6.00% (7.00 – 1.00)

 

สมมติว่าปีหน้า แบงก์ ABC และแบงก์ XYZ ปรับอัตราดอกเบี้ย MRR ไปที่ 7.25% นั่นหมายความว่าต้นทุนดอกเบี้ยจะเพิ่มตามไปด้วย

 

ดังนั้น ก่อนตัดสินใจกู้เงินเพื่อซื้อบ้านกับแบงก์ไหน ควรดูตัวเลขอัตราดอกเบี้ยลอยตัวเป็นหลัก วิธีการก็คือ ดูสถิติย้อนหลังว่าแต่ละแบงก์ปรับอัตราดอกเบี้ย MLR และ MRR อย่างไร เพราะถ้ากู้ไปแล้ว มองดูเผินๆ อาจคุ้มค่าในปีแรกๆ แต่สุดท้ายอาจได้ไม่คุ้มเสีย

 

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats