×

Wealth Me Up ให้เงินทำงาน

ออมก่อน รวยก่อน

8,381

 

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

เวลาถามวัยหนุ่มสาวถึงการเก็บเงินเพื่อเตรียมไปใช้หลังวัยเกษียณ มักจะได้คำตอบว่า “เดี๋ยวก่อนก็ได้ ยังมีเวลาให้เตรียมตัวนานหลายปี” บางคนถึงกับตั้งคำถามสวนกลับว่า “จะรีบไปไหน”

 

ใครที่ยังมองว่าการเก็บเงินเพื่อวัยเกษียณเป็นเรื่องที่ “เอาไว้ก่อนก็ได้” คงต้องคิดใหม่ เพราะหากชะล่าใจอาจจะ “สายเกินไป”

 

คำว่า “ออมก่อน รวยก่อน” ยังคงใช้ได้ทุกยุคสมัย และทรงพลังมากยิ่งขึ้น หากนำเงินไปเก็บออม ไปลงทุนให้ถูกที่ถูกทาง เพราะเมื่อไหร่ที่ได้รับผลตอบแทนงามๆ และสม่ำเสมอ จะเห็นพลังอัตราดอกเบี้ยทบต้น นั่นแปลว่า จะมีอิสระภาพทางการเงินอย่างรวดเร็ว

 

ด้วยเหตุนี้ นักวางแผนการเงินถึงพยายามโน้มน้าวให้ทุกคนรีบเก็บออม ลงทุนกันตั้งแต่อายุน้อยๆ เพราะหากเริ่มต้นเร็วจะได้เปรียบ เงินต้นที่แบ่งมาออม มาลงทุนไม่ต้องมาก ค่อยๆ เก็บหอมรอมริบไปทุกๆ เดือน แต่หากเริ่มต้นช้า ก็ต้องแบ่งเงินมาเก็บออมจำนวนมากกว่า

 

สมมติ อยากมีเงิน 1,000,000 บาท ตอนอายุ 60 ปี

คนแรก เริ่มเก็บตอนอายุ 25 ปี ต้องเก็บ 2,381 บาทต่อเดือน

คนที่สอง เริ่มเก็บตอน 35 ปี ต้องเก็บ 3,333 บาทต่อเดือน

 

นี่เป็นวิธีการเก็บเงินแบบฝังใส่ตุ่มไว้ที่บ้าน โดยไม่มีดอกเบี้ยแม้แต่สลึงเดียว ทั้งสองคนก็ได้หยิบเงินล้านเหมือนกัน (ถ้าเก็บออมทุกเดือน เดือนละเท่าๆ กัน) แต่ถ้าอยากเห็นเงินล้านโดยไวไม่ต้องรอตอนอายุ 60 ปี ก็ต้องหาช่องทางให้ออกดอกออกผลและเริ่มลงมือให้ไวเหมือนคนแรก เข้าคอนเซ็ปต์ “ออมก่อน รวยก่อน” มาดูตัวอย่างกัน

 

นาย ก. แบ่งเงินที่ได้จากโบนัสจำนวน 65,000 บาท ไปลงทุนทุกๆ สิ้นเดือนมกราคม เริ่มตอนอายุ 25 ปี และทุกๆ สิ้นปีจะได้กำไรจากการลงทุน 8% เขาลงทุนแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งอายุ 35 ปี เขาหยุดใส่เงินต้นลงทุน แต่ปล่อยให้เงินที่ลงทุนมากินดอกเบี้ยไปเรื่อยๆ  

 

นาย ข. แบ่งเงินที่ได้จากโบนัสจำนวน 65,000 บาท ไปลงทุนทุกๆ สิ้นเดือนมกราคม เริ่มตอนอายุ 36 ปี และทุกๆ สิ้นปีจะได้กำไรจากการลงทุน 8% เขาลงทุนแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งอายุ 60 ปี

 

 

ผลสรุป

1.นาย ก. เห็นเงินล้านบาทแรกอยู่ในบัญชีตัวเองตอนอายุ 34 ปี ขณะที่นาย ข. ยังไม่เริ่มต้นลงทุน และนาย ข. เห็นล้านบาทแรกของตัวเอง อายุปาเข้าไป 46 ปี ขณะนั้นนาย ก. มี 2 ล้าน 5 แสนบาท

 

2.ตั้งแต่อายุ 36 ปีเป็นต้นมา นาย ก. ไม่ใส่เงินต้นลงทุน แต่ปล่อยให้เงินที่ได้จากการลงทุนมาตั้งแต่ต้น (อายุ 25) ทำงานหาดอกผลต่อไป (ไม่ถอนออกมาแม้แต่บาทเดียว) พอถึงอายุ 60 ปี เขามีเงินทั้งสิ้น 7,409,685 บาท

 

3.นาย ข. เริ่มลงทุนตั้งแต่ 36 ปี ลงทุนมาต่อเนื่องไม่ขาดตกบกพร่อง พอมาถึงอายุ 60 ปี เขามีเงินทั้งสิ้น 4,686,886 บาท

 

4.นาย ก. ใส่เงินต้นลงทุน 11 ปี แต่ตอนอายุ 60 ปี มีเงินเก็บมากกว่า นาย ข. ที่ใส่เงินต้นลงทุนติดต่อกันเป็นระยะเวลา 24 ปี

 

เรื่องนี้บอกให้รู้ว่า ถ้าเริ่มต้นเร็ว และได้ผลตอบแทนที่ดีและสม่ำเสมอ จะเหนื่อยน้อยกว่าผู้ที่เริ่มลงมือช้านั่นเอง

 

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats