×

Wealth Me Up ให้เงินทำงาน

5 กองทุนหุ้น ปั๊มเงินแรงนับทศวรรษ

6,197

 

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

จะดีแค่ไหนเมื่อซื้อกองทุนหุ้นสักกอง สองกอง แล้วใส่เงินลงทุนทุกๆ เดือนต่อเนื่อง พูดง่ายๆ ซื้อไปเรื่อยๆ เพราะจุดหมายปลายทางคือเก็บไว้ใช้ยามเกษียณ แล้วแต่ละปีกองทุนที่ว่าก็สามารถผลิตเงินเป็นกอบเป็นกำ

 

หุ้นตกทีไร หัวใจนักลงทุนก็ห่อเหี่ยว ไม่ต่างจากนักลงทุนที่ซื้อกองทุนหุ้น ที่เมื่อดัชนีหุ้นปรับลดลงต่อเนื่องจนหลุด 1,700 จุด และล่าสุดซื้อขายใกล้ 1,600 จุด เมื่อเปิดดูพอร์ตกองทุนทีไรแทบทำใจไม่ได้ เพราะผลกำไรที่เคยได้ ค่อยๆ ลดลงตามสภาวะตลาดหุ้น โดยเฉพาะมือใหม่หัดลงทุนเริ่มตื่นหายใจไม่ทั่วท้อง สุดท้ายตัดใจขายกองทุนหุ้นที่ซื้อเอาไว้ทิ้ง

 

สำรวจความผิดพลาดที่ผ่านมา

จะว่าไปแล้วความผิดพลาดจากการซื้อกองทุนหุ้นมีหลายปัจจัย ที่ได้ยินกันบ่อยๆ หนีไม่พ้นการลงทุนระยะสั้นๆ บางคนซื้อกองทุนหุ้นเพื่อเทรดดิ้งเหมือนหุ้น หวังส่วนต่างกำไรจากราคา (Capital Gain) แต่เมื่อเจอกับตลาดเป็นขาลงก็ทำอะไรไม่ถูก สุดท้ายก็ใช้อารมณ์ตัดสินใจ

 

ปัจจัยต่อมาคือ ซื้อตามคนรอบข้าง มีคนบอกว่ากองทุนหุ้นนี้ดีสุดยอดก็ตัดสินใจซื้อตาม ทั้งที่ไม่ได้ศึกษาอ่านข้อมูลให้ครบถ้วนว่ากองนี้มีนโยบายการลงทุนเป็นอย่างไร ผู้จัดการกองทุนชื่ออะไร ผลประกอบการในอดีตเป็นอย่างไร ความเสี่ยงระดับไหน เหมาะกับตัวเองหรือไม่

 

บางคนซื้อกองทุนหุ้นครั้งแรกในชีวิตและก็ซื้อครั้งเดียว จากนั้นก็ไม่สนใจใยดี ความจริงแล้วการลงทุนแบบสม่ำเสมอ (Dollar Cost Average : DCA) มีความเหมาะสมกับกองทุนรวมมาก นอกจากจะเกิดประโยชน์ด้านเฉลี่ยต้นทุนแล้ว ยังได้รับสิ่งมหัศจรรย์ที่เรียกว่า ผลของดอกเบี้ยทบต้น (Compound Interest) 

 

นอกจากนี้ ยังมีความผิดพลาดอื่นๆ ให้ได้ยินบ่อยๆ เช่น ซื้อกองทุนหุ้นมากจนเกินไป เช่น 10 กอง, ซื้อตอนตลาดหุ้นเป็นขาขึ้น, ชอบซื้อกองที่เปิดขายใหม่ๆ ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลนี้ เมื่อเกิดความผิดพลาดแล้วรีบแก้ไขอย่างรวดเร็ว จะกลับมาประสบความสำเร็จจากการลงทุนอีกครั้ง

 

กำจัดจุดอ่อนด้วยการเลือกกองทุนประวัติดียาว

วิธีขจัดข้อผิดพลาดง่ายเหมือนปอกกล้วยเข้าปาก นั่นคือ เลือกกองทุนที่มีประวัติผลการดำเนินงานดีงาม ยิ่งหากองที่เปิดซื้อขายมานานเป็นสิบๆ ปี และตลอดเวลาที่ผ่านมาสามารถสร้างผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีได้น่าประทับใจ บอกได้เลยว่ากำลังให้เงินทำงานแทนตัวเรา

 

ถึงแม้ว่าผลงานในอดีตจะไม่การันตีว่าจะสร้างความยอดเยี่ยมในอนาคต แต่อย่างน้อยก็มั่นใจได้ระดับหนึ่งว่ากองทุนหุ้นเหล่านี้ได้ผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านวิกฤติทางเศรษฐกิจมาหลายรอบ รวมถึงกำลังเผชิญกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ก็ยังแข็งแกร่งและปั๊มผลกำไรให้ผู้ถือหน่วยได้ดีอย่างสม่ำเสมอ

 

วิธีการก็คือ ตรวจสอบผลการดำเนินงานย้อนหลัง (Back Test) เริ่มกันตั้งแต่ปีแรกที่เปิดซื้อขายจนถึงปีล่าสุด จากนั้นก็เข้าไปดูนโยบายการลงทุน จ่ายหรือไม่จ่ายปันผล ดูพอร์ตการลงทุนว่าถือหุ้นอะไรเอาไว้บ้าง ค่าธรรมเนียม ความเสี่ยง ผู้จัดการกองทุนชื่ออะไร กองทุนนี้เหมาะกับเราหรือไม่ ต้องระวังอะไรเป็นพิเศษ เป็นต้น   

 

ข้อดีของการตรวจสอบผลตอบแทนย้อนหลัง ทำให้เห็นว่าในแต่ละช่วงเวลานั้นมีผลงานเป็นอย่างไร ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วหากเป็นจังหวะตลาดหุ้นดีๆ ผู้จัดการกองทุนก็จะแสดงฝีมือได้ดีกว่า หมายความว่า สร้างผลตอบแทนเอาชนะตลาดโดยรวม ตรงกันข้าม หากกำลังเผชิญกับวิกฤติก็สามารถปรับพอร์ตลงทุนได้ดีมีประสิทธิภาพ ถ้าขาดทุนก็ขาดทุนน้อยกว่าตลาดโดยรวม และขาดทุนน้อยกว่ากองทุนอื่นๆ ที่มีนโยบายการลงทุนเหมือนกัน

 

เมื่อหากองทุนหุ้นที่ว่านี้เจอ ก็ต้องใส่เงินลงทุนแต่ละเดือนไปเรื่อยๆ ถ้าเป็นไปได้ก็ไม่ควรขายออกไประหว่างทาง โดยให้ตั้งเป้าว่าเงินและดอกผลจากกองทุนนี้จะเก็บไว้ใช้หลังวัยเกษียณ ถ้าทำได้จะให้มีอิสระภาพทางการเงินเร็วขึ้น

 

ชี้เป้า 5 สุดยอดกองทุนหุ้น

และนี่คือ 5 สุดยอดกองทุนหุ้น ที่บริหารงานโดย 5 บลจ. ที่สร้างผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีนับตั้งแต่เปิดให้ซื้อขายตั้งแต่ปีแรกจนถึงปีล่าสุดได้อย่างน่าประทับใจ ยกตัวอย่าง ซื้อกองทุนเคเอ เอควิตี้ เดือนละ 2,000 บาท เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2546 จนมาถึงสิ้นเดือนธันวาคม 2560 (15 ปี หรือ 180 เดือน) จะได้รับเงินต้นรวมผลตอบแทน 1,461,220 บาท ถ้าลงทุนเดือนละ 5,000 บาท จะได้เงินทั้งสิ้น 3,653,050 บาท

 

หรือลงทุนกองทุนอเบอร์ดีนสมอลแค็พ เดือนละ 2,000 บาท ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ปี 2548 ถึงธันวาคม 2560 (151 เดือน) จะได้รับเงินต้นรวมผลตอบแทน 754,849 บาท ถ้าลงทุนเดือนละ 5,000 บาท จะได้เงินทั้งสิ้น 1,887,124 บาท

 

หมายความว่า หากเลือกกองทุนที่สร้างผลงานได้ดีมีประสิทธิภาพสม่ำเสมอ แล้วลงทุนแบบ DCA โดยมีเป้าหมายการลงทุนระยะยาว ทำให้เงินลงทุนงอกเงยขึ้นอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอเช่นเดียวกัน

 

 

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats