×

Wealth Me Up ให้เงินทำงาน

ประกันสุขภาพอะไรบ้างลดหย่อนภาษีได้?

5,406

 

ข่าวดีเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา เกี่ยวกับประกันสุขภาพที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.60 ที่ผ่านมาสามารถเอามาลดหย่อนภาษีได้ตามจ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท ถือว่าเป็นการลดหย่อนภาษีที่ให้ประโยชน์ทั้งผู้ซื้อและรัฐบาล เพราะจะเป็นการประหยัดงบประมาณด้านสวัสดิการรักษาพยาบาล และทำให้ผู้มีรายได้น้อยได้ใช้งบประมาณด้านรักษาพยาบาลนี้อย่างเต็มที่ แต่ที่หลายคนสงสัยก็คือ เบี้ยประกันสุขภาพที่ได้รับสิทธิลดหย่อนนี้ต้องเป็นประกันสุขภาพแบบไหน

 

เกี่ยวกับเรื่องนี้ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้ประชุมหารือร่วมกับกรมสรรพากร  ภาคธุรกิจ  สมาคมประกันชีวิตไทยและสมาคมประกันวินาศภัย ได้ข้อสรุปว่าจะมีการจัดทำร่างประกาศกรมสรรพากร ออกมาในแนวทางเดียวกับการประกันสุขภาพบิดามารดา (ประกันภัยลูกกตัญญู) ที่มีสิทธิหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาทเหมือนกัน โดยมีหลักเกณฑ์การให้ความคุ้มครองครอบคลุมอย่างใดอย่างหนึ่งในทั้งหมด 4 ข้อ ดังนี้

 

1. ประกันภัยคุ้มครองการรักษาพยาบาลอันเกิดจากการเจ็บป่วยและการบาดเจ็บ การชดเชยการทุพพลภาพและการสูญเสียอวัยวะ เนื่องจากการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ

2.  ประกันภัยอุบัติเหตุที่คุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล การทุพพลภาพ การสูญเสียอวัยวะ และการแตกหักของกระดูกด้วย

3. ประกันภัยโรคร้ายแรง (Critical Illnesses)

4. ประกันภัยแบบดูแลระยะยาว (Long Term Care)

 

โดยประกันสุขภาพจะเป็นสัญญาเพิ่มเติมที่ขายพ่วงอยู่กับประกันชีวิตกรมธรรม์หลัก หรือ เป็นประกันภัยที่ขายแบบเดี่ยวก็ได้ ส่วนการชดเชยรายวันจะไม่อยู่ใน 4 เงื่อนไขนี้  

 

 

แต่สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างประกันสุขภาพ กับ ประกันภัยลูกกตัญญู ก็คือ ประกันสุขภาพ ผู้ที่จะเอาไปลดหย่อนภาษีได้ ต้องเป็นผู้เอาประกันเท่านั้น ไม่สนใจว่าใครเป็นผู้ชำระเบี้ย ส่วนประกันภัยลูกกตัญญู ชื่อผู้เอาประกันต้องเป็นชื่อ พ่อหรือ แม่ คนที่เอาไปลดหย่อนภาษี คือ ผู้ชำระเบี้ย ซึ่งต้องเป็นลูกแท้ๆ ที่ถูกต้องตามกฎหมายของพ่อแม่เท่านั้น (ลูกบุญธรรมไม่มีสิทธิหักลดหย่อน) และที่แตกต่างอีกข้อ ก็คือ ประกันภัยลูกกตัญญู พ่อแม่ต้องมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีนั้นไม่เกิน 30,000 บาท ส่วนประกันสุขภาพ ไม่มีเงื่อนไขเรื่องเงินได้ของผู้เอาประกัน คือ จะมีเงินได้เท่าไหร่ก็หักลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพได้ตามจ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท

 

ส่วนสิ่งที่เหมือนกันนอกจากความคุ้มครองแบบเดียวกัน ก็คือ ประกันสุขภาพทั้ง 2 แบบไม่กำหนดเรื่องอายุของผู้เอาประกัน คือ จะอายุเท่าไหร่ก็ซื้อประกันสุขภาพและมีสิทธินำเบี้ยประกันมาหักลดหย่อนภาษีได้ โดยจำนวนเงินที่จ่ายเป็นค่าเบี้ยและลดหย่อนภาษีได้จะเหมือนกัน คือ ไม่เกิน 15,000 บาท

 

ตรงนี้สำหรับประกันภัยลูกกตัญญู หลายคนเข้าใจผิดว่าถ้าจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพให้ทั้งพ่อและแม่ก็สามารถลดหย่อนได้สูงสุด 30,000 บาท(ลดหย่อนพ่อได้ 15,000 บาท ลดหย่อนแม่ได้ 15,000 บาท) ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้ผู้เสียภาษี 1 คนสามารถใช้สิทธิลดหย่อนนี้ได้ตามที่จ่ายจริงสำหรับพ่อแม่ทุกคนรวมกันสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาทเท่านั้น

 

สำหรับหลักฐานที่ต้องใช้ในการลดหย่อนภาษี ก็คือ  ใบเสร็จหรือหนังสือรับรองการชำระเบี้ยประกันสุขภาพจากบริษัทประกัน

 

#WealthMeUp

 

กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

Related Stories

amazon anti fatigue mats