นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ แถลงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศไตรมาส 2/2567 ขยายตัว 2.3% เร่งขึ้นจากการขยายตัว 1.6% ในไตรมาสแรกของปี 2567 (%YoY) และเมื่อรวมครึ่งแรกของปี 2567 เศรษฐกิจไทยขยายตัว 1.9%
ในการติดตามและประเมินภาวะเศรษฐกิจไทยของ IMF (Article IV Consultation) ประจำปี 2566 โดยรวม IMF มีมุมมองที่สอดคล้องกับทางการไทยต่อแนวโน้มเศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัว แม้จะชะลอลงบ้าง จากการดำเนินนโยบายการเงินเข้มงวดของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลัก การปรับเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน
นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยช่วงไตรมาส 2/2566 มีอัตราการเติบโต 1.8% ค่อนข้างต่ำกว่าคาดการณ์ จากสาเหตุภาคส่งออกติดลบ 5.7% ซึ่งเป็นการหดตัว 3 ไตรมาสติดต่อกัน ซึ่งมีผลมาจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักยังฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่
ชวนมาดู 25 ประเทศ…เศรษฐกิจใหญ่สุดของโลก ‘ไทย’ อยู่ตรงไหนกัน?
Citigroup ออกมาประเมินว่าโอกาสที่จะเกิด Global Recession (เศรษฐกิจโลกถดถอย) มีมากถึงเกือบ 50% เนื่องจากธนาคารกลางต่างเร่งขึ้นดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วเพื่อสกัดเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอย่างรุนแรงจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน และ COVID-19
องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือ OECD ปรับลดคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจโลกเหลือ 3% (ลดลง 1.5% จากเดือนธ.ค. 2021) โดยปัจจัยหลักมาจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่นอกจากจะทำให้เศรษฐกิจทั้งในรัสเซียและยูเครนย่ำแย่ เศรษฐกิจของยุโรปก็ได้รับผลกระทบจากการที่สหภาพยุโรปสั่งระงับการนำเข้าน้ำมันและถ่านหินจากรัสเซียอีกด้วย ส่วนอีกปัจจัยสำคัญ คือ การปิดเมืองและท่าเรือหลายแห่งในจีนตามนโยบาย Zero-COVID ส่งผลกระทบอย่างมากต่อระบบซัพพลายและการบริโภคในระดับโลก