×

Wealth Me Up ให้เงินทำงาน

อย่าปล่อย…เงินตามกรมธรรม์สูญ

12,680

 

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

วันก่อนได้อ่าน Facebook พบบทความที่น่าสนใจเรื่องหนึ่งจากผู้จัดการกองทุนประกันชีวิตคนใหม่ได้เล่าถึงภารกิจ “ตามหาผู้เอาประกันตามเงินกรมธรรม์ล่วงพ้นอายุความ” ว่าหลังกองทุนประกันชีวิตตั้งมาจนเข้าสู่ปีที่ 10 แล้ว พบว่ามีเงินกรมธรรม์ล่วงพ้นอายุความอยู่ที่กว่า 886 ล้านบาท และผู้เอาประกันที่มีสิทธิได้รับเงินคืนมากถึง 638,746 ราย

 

ขณะที่กองทุนจ่ายเงินคืนได้เพียงกว่า 11 ล้านบาท จากผู้มารับสิทธิเพียง 1,078 รายเท่านั้น (ณ วันที่ 31 มี.ค. 2561) แถมแต่ละปีกองทุนประกันชีวิตจะได้รับเงินตามกรมธรรม์ล่วงพ้นอายุความจากบริษัทประกันชีวิตเข้ามาเฉลี่ยกว่า 100 ล้านบาท โดยในปี 2560 เข้ามาประมาณ 138 ล้านบาท

 

ก่อนอื่นขออธิบายให้เข้าใจก่อนว่า เงินตามกรมธรรม์ล่วงพ้นอายุความ คือเงินที่ผู้เอากรมธรรม์ หรือ ผู้รับผลประโยชน์ หรือ ทายาทของผู้รับผลประโยชน์มีสิทธิได้รับตามกรมธรรม์แต่ไม่ได้มาขอรับเงินดังกล่าวจากบริษัทประกันชีวิตจนล่วงพ้นอายุความ

 

แปลว่าที่อุตส่าห์เก็บออมเงินในประกันชีวิตเพื่อความมั่นคงของครอบครัว สุดท้ายตัวเราเองหรือครอบครัวก็ไม่ได้ใช้ เพราะเราเองหรือทายาทของเราไม่ได้ไปแจ้งขอรับเงินผลประโยชน์จากบริษัทประกันชีวิตเอง

 

เงินที่ผู้เอากรมธรรม์ หรือผู้รับผลประโยชน์ หรือทายาทของผู้รับผลประโยชน์มีสิทธิได้รับตามกรมธรรม์ มีดังนี้ จำนวนเงินเอาประกันกรณีเสียชีวิตหรือมีชีวิตอยู่จนครบสัญญากรมธรรม์ประกันชีวิต เงินปันผล เงินคืนตามเงื่อนไขสัญญากรมธรรม์ประกันชีวิต เงินเวนคืนตามสัญญากรมธรรม์ประกันชีวิต เงินค่าสินไหมทดแทนของสัญญาเพิ่มเติมที่แนบท้ายสัญญาประกันชีวิต หรือเป็นสิทธิเรียกร้องขอคืนค่าเบี้ยประกันภัยตามสัญญาประกันชีวิต

 

สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้เงินกรมธรรม์ล่วงพ้นอายุความ คือ

  1. บริษัทประกันชีวิตไม่สามารถติดต่อผู้ทำประกันได้ เช่น ย้ายที่อยู่ แต่ไม่ได้แจ้งบริษัท เพราะประกันชีวิตเป็นการออมระยะยาว โดยเฉลี่ยประมาณ 10 ปี (เพราะหลายคนซื้อประกันชีวิตเพื่อลดหย่อนภาษี) ทำให้ลืมไปว่าเคยทำประกันชีวิตไว้ เมื่อย้ายที่อยู่ จึงลืมที่จะแจ้งบริษัทประกัน ทำให้บริษัทประกันไม่สามารถติดต่อได้
  2. ผู้ทำประกันเสียชีวิต และไม่ได้แจ้งให้ทายาททราบว่าได้ทำประกันชีวิตไว้
  3. ผู้ทำประกันชีวิตไม่ส่งเบี้ยประกันปีต่ออายุทำให้ขาดความคุ้มครอง แต่ไม่ทราบว่ากรมธรรม์มีมูลค่าเงินสดเช็คขาดอายุ

 

และเนื่องจากการประกันชีวิตไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความฟ้องร้องไว้โดยเฉพาะ ดังนั้นการฟ้องร้องให้ผู้รับประกันภัยใช้เงินตามสัญญาประกันชีวิต หรือฟ้องเรียกให้ใช้หรือคืนเบี้ยประกันภัยตามสัญญาประกันชีวิต จึงต้องใช้อายุความทั่วไป 10 ปี

 

ดังนั้นในกรณีเงินตามกรมธรรม์ล่วงพ้นอายุที่ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันชีวิต หรือทายาทของผู้เอาประกันภัย มีสิทธิได้รับเงินตามกรมธรรม์ประกันชีวิต แต่มิได้เรียกร้องจากบริษัท จนล่วงพ้นอายุความสิบปีแล้ว บริษัทประกันชีวิตต้องนำเงินตามกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ล่วงพ้นอายุความเข้ากองทุนประกันชีวิตภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ครบกำหนดอายุความ

 

ทั้งนี้ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ หรือทายาทของผู้เอาประกันภัยยังคงมีสิทธิยื่นขอรับจำนวนเงินตามกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ล่วงพ้นตามอายุความได้จากกองทุนประกันชีวิต

 

หากผู้เอาประกันไม่มาขอรับเงินที่กองทุนนานเกิน 10 ปี เงินตามสิทธิประโยชน์ตามกรมธรรม์จะตกเป็นเงินสมทบของกองทุนทันที โดยที่ผู้เอาประกันไม่มีสิทธิมาเรียกร้องคืนได้อีก

 

สรุปก็คือ เรามีระยะเวลาที่จะขอเงินตามกรมธรรม์ล่วงพ้นอายุความ 20 ปี โดย 10 ปีแรกขอจากบริษัทประกันชีวิต 10 ปีหลังขอจากกองทุนประกันชีวิต หลังจากนั้นแล้วจะไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินคืนได้อีก

 

วิธีที่จะไม่ให้เกิดปัญหานี้ที่ดีที่สุด คือ ทำทะเบียนเอาไว้เลยว่าเรามีประกันอะไรบ้างที่ไหน กรมธรรม์เก็บไว้ที่ไหน แล้วบอกคนในบ้านให้รู้ไว้ เพื่อว่าหากมีอะไรเกิดขึ้น จะได้สามารถนำผลประโยชน์จากประกันชีวิตมาใช้ได้ตามความต้องการของเราในวันที่ซื้อประกัน

 

แต่ถ้าบังเอิญขณะที่อ่านบทความนี้ ญาติผู้ใหญ่ของเราเสียชีวิตไปแล้ว ทราบว่าท่านทำประกันชีวิตไว้ แต่ไม่ทราบว่าทำที่ไหน หรือไม่แน่ใจว่าท่านทำประกันชีวิตไว้หรือไม่ ก็ไม่ต้องกังวล เราในฐานะทายาทยังสามารถเช็กได้ โดยยื่นคำร้องเพื่อขอคัดสำเนากรมธรรม์ประกันชีวิตได้ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) โดยแสดงหลักฐานการเป็นทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสีย พร้อมหลักฐานใบมรณบัตรว่าได้เสียชีวิตแล้วเนื่องด้วยสาเหตุใด  สำนักงาน คปภ.จะส่งเรื่องให้บริษัทเพื่อตรวจสอบการทำประกันชีวิต

 

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats