×

Wealth Me Up ให้เงินทำงาน

เช็คอาการป่วย “โรคทรัพย์จาง”

20,729

 

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

นับตั้งแต่เศรษฐกิจไทยขยายตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป คนไทยเป็นป่วยเป็น “โรคทรัพย์จาง” หรือ Moneyphilia” และมีท่าทีว่าโรคดังกล่าวกำลังระบาดไปทั่วประเทศ ซึ่งหลายคนไม่รู้ตัวว่ากำลังเป็นโรคนี้ หรือบางคนก็ทำเป็นไม่รู้ไม่ซี้ ทั้งๆ ที่โรคนี้ได้กระจายเข้าสู่ร่างกายเรียบร้อยแล้ว

 

สำหรับวิธีดูว่าตัวเองกำลังเป็น “โรคทรัพย์จาง” หรือไม่นั้น ง่ายๆ ลองเปิดกระเป๋าตังค์ดูว่า “เงินกำลังไหล” ออกอย่างต่อเนื่องหรือไม่ ถ้ายังไม่เป็นก็โชคดีไป แต่ขอย้ำว่า…ควรรักษาตัวให้ดีๆ เพราะเผลอเมื่อไหร่โรคนี้จะแทรกซึมเข้ามาทันที

 

แต่ถ้าหากเงินค่อยๆ จากเราไป บางครั้งก็ไม่รู้ตัวว่าไปตอนไหน ก็ต้องสำรวจตัวเองว่าเป็น “โรคทรัพย์จาง” ขั้นไหนหรือติดมาได้อย่างไร จะได้รักษาได้ทัน!

 

การติดต่อ:

“โรคทรัพย์จาง” ถือเป็นโรคร้ายแรง แต่ไม่ใช่โรคติดต่อ โดยกลุ่มคนที่มีโอกาสติดเชื้อมากที่สุด ก็คือ กลุ่มที่ “ไม่สามารถบริหารจัดการรายได้กับรายจ่าย” ให้มีความสมดุล นั่นคือ มีรายจ่ายมากกว่ารายได้ที่หามาได้ในแต่ละเดือน รวมไปถึงคนที่ไม่มีเงินออม หรือยังไม่คิดถึงเรื่องการวางแผนการเงิน ก็มีโอกาสเป็น “โรคทรัพย์จาง” ได้ตลอดเวลา

 

ระยะฟักตัว:

เชื้อโรคทรัพย์จาง เริ่มฟักตัวช่วงกลางเดือน แต่ใครที่มีเชื้อรุนแรงอาจจะมีอาการตั้งแต่ต้นสัปดาห์ที่สองของเดือน ซึ่งอาการจะเห็นเร็วหรือช้านั้น ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้จ่ายของแต่ละคน หากใช้จ่ายไม่ลืมหู ลืมตา อาการของเชื้อโรคทรัพย์จางจะมาเร็ว และเชื้อโรคจะลุกลามไปได้เร็วยิ่งขึ้นเมื่อหากไม่หาทางป้องกันรักษา

 

อาการ:

ความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยหรือกำลังซื้อลดลง เป็นอาการแรกที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน จากนั้นสมาธิจะลดน้อยถอยลง บางคนหากมีเชื้อโรคมากจะมีความหงุดหงิดได้ง่าย ชอบเก็บตัวคนเดียว อารมณ์ที่เคยสดใสเหมือนสัปดาห์แรกของเดือนจะค่อยๆ หายไป

 

การป้องกัน:

เข้ากลางเดือนทีไร คนที่เป็น “โรคทรัพย์จาง” มักจะแก้ไขปัญหาด้วยการขอยืมเงินจากคนรอบข้าง หรือไม่ก็ใช้วิธีกดเงินสดจากบัตรเครดิตมาใช้จ่าย บางคนเดินเข้าโรงรับจำนำ โดยวิธีการเหล่านี้เป็นการเอาตัวรอดไปวันๆ ซึ่งส่งผลเสียในระยะยาว

 

การรักษา:

ทุกวันนี้ยังไม่มีตัวยาไหนที่รักษา “โรคทรัพย์จาง” ให้หายขาด ดังนั้น ทุกคนต้องดูแลตัวเอง นั่นคือ การบริหารจัดการทางการเงินให้เหมาะสม เช่น หยุดใช้จ่ายกับสิ่งที่ฟุ่มเฟือย ทานอาหารนอกบ้านน้อยลง ประหยัดเพื่อทำให้รายจ่ายลดลงและน้อยกว่ารายได้ ที่สำคัญทุกๆ เดือนต้องแบ่งเงินไปออมให้ได้ โดยสูตรรักษา คือ รายได้ – เงินออม = รายจ่าย ที่สำคัญท่องยันต์นี้เอาไว้ เพราะโรคนี้กลัวมาก นั่นคือ “ออมก่อน รวยกว่า”

 

#WealthMeUp

 

Related Stories

amazon anti fatigue mats