รับมือเพื่อนร่วมงาน Gen Z
ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…
Facebook | Line | Youtube | Instagram
ตั้งแต่โลกเราก้าวเข้าสู่ยุคโลกาภิวัฒน์ (Globalizations) และมีอินเตอร์เน็ตเป็นศูนย์กลางในการสื่อสาร ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นอย่างมหาศาล ไม่เพียงแต่ความหลากหลายของสินค้าและบริการเท่านั้น แต่ยังส่งผลถึงพฤติกรรมของคนที่เกิดในยุคหลัง ๆ ด้วย
หลายคนอาจกำลังปวดหัวกับเพื่อนร่วมงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชา ที่อยู่ในเจเนอร์เรชั่น Z (Gen Z) หรือกลุ่มคนที่อายุน้อยที่สุด ที่ก้าวเข้าสู่ตลาดแรงงานในตอนนี้ ซึ่งเราต้องเรียนรู้ว่าพวกเค้ามีทัศนคติ มุมมอง และความต้องการอย่างไรบ้างจากการทำงาน บอกเลยว่าหากเราสามารถรับมือกับหนุ่มสาวชาว Gen Z ได้ องค์กรจะได้ประโยชน์อีกมาเลยทีเดียว
Gen Z คือหนุ่มสาวที่เกิดหลังจากปี 1995 หรือปี พ.ศ. 2538 เป็นต้นไป ถ้าคำนวณอายุแล้ว ณ เวลานี้ คนกลุ่มนี้กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัย ใกล้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และอยู่ในกลุ่มเริ่มทำงาน (First Jobber)
5 ลักษณะเด่นคน Gen Z
1.เติบโตมากับเทคโนโลยี
คน Gen Z เกิดและเติบโตมาในยุคดิจิตัล มาพร้อมกับเทคโนโลยี และอินเตอร์เน็ต
2.ใจร้อน
เพราะเติบโตมากับเทคโนโลยี หนุ่มสาว Gen Z จึงมักจะใจร้อน และไม่ค่อยเคยชินกับการรอคอย
3.Self center
คน Gen Z มักมองความต้องการของตัวเองเป็นใหญ่ หรือ ในอีกมุมคือค่อนข้างจะโฟกัสในเรื่องความแตกต่างของปัจเจกบุคคล (individual) มากกว่าคนยุคก่อน
4.สายแข็ง social
คน Gen Z ใช้ชีวิตอยู่ใน social network เอะอะก็โพสต์ โพสต์ทุกย่างก้าว ทุกสเต็ปการใช้ชีวิต ชอบระบายความในใจลงไปบนโซเชียลเน็ตเวิร์ค
5.กล้าแสดงออก
คน Gen Z มักจะกล้าแสดงออก และกล้าตั้งคำถาม แม้กับผู้ที่อาวุโสกว่า
5 วิธีรับมือกับคน Gen Z
1.ให้พื้นที่และโอกาสแสดงความเห็น
เนื่องด้วยคน Gen Z เป็นคนที่มีความคิดเป็นของตัวเองสูง และมักจะไม่ยอมรับอะไรง่าย ๆ จึงควรให้โอกาสในการให้พวกเขาได้ปล่อย “ของ” กันอย่างเต็มที่ แล้วเมื่อนั้นพวกเขาถึงจะรู้เป็นส่วนหนึ่ง และสนุกกับการทำงาน
2.สร้าง shortcut ให้ระบบในองค์กร
เนื่องจากคน Gen Z ส่วนใหญ่มักใจร้อน ไม่ชอบงานระบบ อะไรที่เป็นขั้นตอนเยิ่นเย้อหรือทำให้ชีวิตยาก องค์กรควรพิจารณาออกแบบระบบให้ง่ายขึ้น เช่นระบบการเบิกจ่าย ระบบการเบิกใช้อุปกรณ์สำนักงาน
3.ลดงานเอกสาร
ชาว Gen Z เติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยี จึงไม่นิยมการทำงานเอกสาร เพราะพวกเขามองว่ามันเสียเวลา ดังนั้นจะดีมากถ้าองค์กรออกแบบ applications ภายในองค์กร ให้เป็นการทำงานได้บนระบบออนไลน์ ทำได้แม้อยู่นอกออฟฟิศ ชาว Gen Z จะปลาบปลื้มมากเป็นพิเศษ
4.พิจารณาผลงานจากฝีมือ
เรื่องนี้ค่อนข้างเป็นประเด็น sensitive มากสำหรับคน Gen Z เพราะคนกลุ่มนี้ จะยึดมั่น ถือมั่นในความคิด และฝีมือ และมักไม่ยอมรับในระบบอาวุโส เรื่องนี้องค์กรต้องมีเกณฑ์การพิจารณาการเลื่อนเงินเดือน และเลื่อนตำแหน่งให้เหมาะสม และประกาศออกมาอย่างโปร่งใสให้พนักงานทราบด้วย หากองค์กรไม่ให้ความสำคัญกับผลงาน คน Gen Z ก็พร้อมจะจากไปอย่างไร้เยื่อใย
5.สื่อสารอย่างเป็นระบบผ่านโซเชียล
ก็ในเมื่อคน Gen Z เป็นกลุ่มคนที่ addicted อยู่กับ Social network องค์กรก็ควรปรับตัวให้ทันกับยุคสมัยด้วย เช่นสร้าง fanpage, group chat ต่างๆเพื่อให้เข้าถึงกันได้ง่ายขึ้น และเป็นกันเอง รวมไปถึงต้องระวังการรับมือกับความคิดเห็นด้านลบด้วย เช่น อย่าลบคอมเม้นท์ที่ไม่ดีจากพนักงาน แต่ให้พยายามหาข้อชี้แจงที่มีเหตุผลไปตอบ เป็นต้น ด้วยวิธีดังกล่าวจะทำให้ได้ใจคน Gen Z ได้ดียิ่งขึ้น
แม้ว่าเทคโนโลยีจะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อองค์กร แต่ข้อเสียก็คือหากเสพติดมากๆ อาจทำให้ขาดทักษะในการเข้าสังคม หรือการมีโลกส่วนตัวสูงมาก อาจทำให้ขาดความอดทน ดังนั้นองค์กรต่าง ๆ ควรมีนโยบายให้ชาว Gen Z มีโอกาสได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนด้วย ก็จะมีประโยชน์ไม่น้อย
ที่มา : JobDB.com