5 สิทธิประโยชน์ทางภาษี เมื่อพ้นสมาชิกภาพ PVD
ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…
Facebook | Line | Youtube | Instagram
ยิ่งรู้เยอะยิ่งได้เปรียบ เพราะจะทำให้เราสามารถวางแผน บริหารจัดการด้านการเงินได้เป็นอย่างดี ลองมาดูกันว่าสิทธิที่เราจะได้รับเมื่อพ้นสภาพของสมาชิก ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่น่าสนใจมีอะไรบ้าง ด้วย “5 สิทธิประโยชน์ดีๆ จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ”
การได้รับเงินสะสมและผลประโยชน์จากเงินสะสมเต็มจำนวน
เพราะในแต่ละเดือนที่เราจ่ายเงินสะสมไปในกองทุนก็เหมือนกับการเก็บออมและลงทุนไปในตัว เมื่อเราสิ้นสุดการเป็นสมาชิกกองทุนก็จะได้รับเงินสะสมและผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด 100%
การได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์จากเงินสมทบ
ตรงนี้ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละบริษัทมีข้อกำหนดในการจ่ายเงินสมทบอย่างไร โดยส่วนใหญ่เราจะได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์จาก เงินสมทบในอัตราที่มากขึ้นตามอายุงาน เพื่อให้สวัสดิการนี้เป็นแรงจูงใจในการทำงานระยะยาว เช่น
- อายุงานน้อยกว่า 1 ปี จะไม่ได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์จากเงินสมทบ
- อายุงาน 1-5 ปี ได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์จากเงินสมทบ 50%
- อายุงาน 10 ปีขึ้นไป ได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์จากเงินสมทบ 100%
สิทธิประโยชน์ทางภาษี
สามารถแบ่งได้ตามจำนวนปีที่เป็นสมาชิกกองทุนและอายุของสมาชิก ซึ่งเป็นไปตามที่เงื่อนไขที่กำหนด
สิทธิในการคงเงินไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ในกรณีที่ลาออกจากงานหรือเกษียณอายุุ หากยังไม่ต้องการใช้เงินหรือต้องการเก็บเงินก้อนนี้ไว้ ใช้ยามเกษียณอายุ ก็สามารถคงเงินไว้ในกองทุนตามนโยบายการลงทุนที่เลือกไว้ โดยติดต่อกับบริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนเพื่อแจ้งระยะเวลาคงเงินที่ไม่ขัดกับข้อกำหนดของทางกองทุนรวม ซึ่งในกรณี เกษียณอายุเราสามารถขอให้กองทุนทยอยจ่ายเงินให้เราเป็นงวดๆ คล้ายกับเงินบำนาญได้อีกด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของกองทุนและควรจะเช็คค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องว่าคุ้มค่าหรือไม่ด้วย
สิทธิในการโอนเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปไว้ที่กองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
จะช่วยให้ได้รับประโยชน์จากการออมเงินต่อเนื่องในระยะยาว โดยเรามีอิสระในการ เลือกนโยบายการลงทุนได้เอง ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเทียบเท่ากับการคงเงินไว้ ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คือ ไม่ถูกบังคับให้ลงทุนต่อเนื่องเหมือน RMF ทั่วไป รวมทั้งสามารถนับอายุสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต่อเนื่องกับ RMF ได้ เพื่อให้ ได้รับยกเว้นภาษีเมื่อมีคุณสมบัติครบตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด ทั้งนี้เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่โอนไป RMF นั้นจะไม่สามารถนำไปหักลดหย่อน ภาษีเงินได้บุคคลประจำปี
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.set.or.th/set/financialplanning/lifeevent.do?name=lifeevent_detail_retire-5&innerMenuId=14