4 ข้อผิดพลาดเรื่องการเงิน
ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…
Facebook | Line | Youtube | Instagram
วันนี้พามาดูความผิดพลาดเรื่องเงินของวัยรุ่นส่วนใหญ่ว่ามีอะไรบ้าง ถ้าเราเป็นแบบนี้อยู่ เราก็จะได้ลดละเลิกพฤติกรรมเหล่านี้ เพื่อสุขภาพการเงินที่ดีในอนาคตของตัวเราเอง
ตัดสินใจซื้อแบบง่ายๆ
คำนี้ดูเหมือนว่าจะทำให้วัยรุ่นในยุคนี้ตัดสินใจซื้ออะไรแบบง่ายๆ แทบจะไม่ต้องคิดอะไรเลย เพราะอยากจะซื้อตามเทรนด์กลัวเอ้าท์ มากกว่ามองเป็นของจำเป็น ทั้งเสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า เครื่องสำอาง โทรศัพท์รุ่นล่าสุด แกดเจ็ตใหม่ๆ นาฬิกา เครื่องประดับ ซึ่งของหลายอย่างราคาเกินกำลังที่เด็กในวัยเรียนจะจ่ายไหวอยู่แล้ว ฉะนั้นก่อนตัดสินซื้ออะไรก็อยากจะให้คิดสักหน่อยว่าของที่เราจะควักเงินจ่ายออกไปนั้นเป็นของที่ “จำเป็น” หรือเป็นของที่เราเพียงแค่ “อยากได้” เท่านั้น
ได้มาเท่าไหร่ ใช้เท่านั้น
ต้องยอมรับว่าการเก็บเงิน เป็นเรื่องง่ายๆ ที่ทุกคนรู้ แต่จะมีสักกี่คนที่ทำได้จริง ๆ โดยเฉพาะในวัยเรียน ยิ่งเรียนมหาวิทยาลัยยิ่งเก็บเงินยาก เพราะมีสิ่งยั่วยุเยอะเหลือเกิน ไม่ว่าจะเป็นแฟชั่นเครื่องแต่งกาย หรือของกินอร่อยๆ จนทำให้เราใช้จ่ายคล่องเกินไป รู้ตัวอีกทีเงินก็ไม่พอใช้ซะแล้ว ฉะนั้นต้องรู้จักยับยั้งชั่งใจ และต้องรู้จักปฏิเสธ ไม่ใช่เพื่อนชวนไปปาร์ตี้ไหน หรือชวนไปหาของกินอร่อยๆ ทานที่ห้างหลังเลิกเรียนทุกวันก็ไม่ไหว ถ้าเป็นแบบนี้รับรองเงินเกลี้ยงกระเป๋า ใช้เท่าไหร่ก็ไม่พอแน่นอน
ใช้ก่อน ออมทีหลัง
แบบนี้โอกาสที่จะมีเงินเหลือเก็บ บอกเลยว่าน้อยมาก ๆ ฉะนั้นทันทีที่ได้เงินมาแนะนำว่าต้องแบ่งออมก่อนเลย เพราะนี่คือกฎเหล็กสำคัญที่จะทำให้การออมเงินมีประสิทธิภาพที่สุด คุณพ่อคุณแม่ให้เงินมาปุ๊ปไม่ว่าจะเป็นรายวัน รายสัปดาห์ หรือ รายเดือน แบ่งเก็บก่อนเลยค่ะ จะแบ่งเก็บ 10 % หรือ 20 % ของเงินที่ได้ รับรองโตไปไม่จนแน่นอน
อายุยังน้อย เดี๋ยวค่อยออม
วัยรุ่นส่วนใหญ่ก็มักจะคิดแบบนี้ ยังมีเวลาอีกเยอะ ก็เพราะวัยนี้เป็นวัยที่มีเพื่อนเยอะ ทั้งเพื่อนเที่ยว เพื่อนกิน เพื่อนช้อป เป็นช่วงเวลาที่ยังสนุกสนาน จึงยังไม่ได้คิดถึงวันข้างหน้า หรือคิดถึงเหตุฉุกเฉินที่อาจจะเกิดขึ้นสักเท่าไหร่ แต่เรื่องนี้สำคัญมาก ๆ ถ้าเรารู้จักคิดวางแผนเก็บออมเงินไว้เผื่อฉุกเฉิน หรือเพื่ออนาคตในระยะยาวไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ เมื่ออายุเยอะขึ้นเราจะได้สบาย ไม่ต้องทำงานหนักเพื่อหาเงิน ยกตัวอย่าง
ถ้าเราเริ่มเก็บเงินตั้งแต่ตอนอายุ 15 ปี โดยออมเดือนละ 1,000 บาท 1 ปีจะมีเงินเก็บ 12,000 บาท เก็บไปเรื่อย ๆ เท่ากันทุกปี จนอายุ 30 ปี เราก็จะมีเงินเก็บ 180,000 บาท
แต่ถ้าเราเริ่มออมเงินตอนอายุ 25 ปี โดยออมเท่ากันเดือนละ 1,000 บาท หรือ 1 ปีจะมีเงินเก็บ 12,000 บาท พออายุ 30 ปี เราจะมีเงินเก็บแค่ 60,000 บาท
เห็นหรือยังว่า ถ้าออมเงินในจำนวนที่เท่ากัน และออมเป็นเวลาที่เท่า ๆ กัน คนที่เริ่มออมเร็วก็จะมีเงินเก็บเยอะกว่าคนที่เริ่มออมช้า หรือพูดให้เข้าใจง่าย ๆ ออมก่อนก็จะรวยกว่านั่นเอง