×

Wealth Me Up ให้เงินทำงาน

8 คำถามที่ต้องตอบ ก่อนเกษียณ

8,131

 

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

ในอดีต การวางแผนเกษียณเป็นเรื่องง่าย ๆ คือ เมื่อถึงวันเกษียณก็หยุดทำงานและใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ด้วยเงินเก็บ เงินบำเหน็จบำนาญ แต่ทุกวันนี้การวางแผนการเงินเพื่อวัยเกษียณ มีความซับซ้อนเพื่อตอบโจทย์ความหลากหลายด้านไลฟ์สไตล์ของแต่ละคนที่ไม่เหมือนกัน และนี่คือคำตอบที่จะทำให้การใช้ชีวิตในวัยเกษียณมีความสุข

 

เกษียณเมื่อไหร่?

 

ปฏิเสธไม่ได้ว่าหากเริ่มต้นวางแผนการเงินเพื่อวัยเกษียณตั้งแต่อายุน้อยๆ ย่อมมีเงินสะสมจำนวนเพียงพอเพื่อใช้ชีวิตหลังเกษียณได้อย่างสบาย แต่ปัจจุบันมีหลายคนที่ต้องการเกษียณให้เร็วที่สุด เช่น อายุ 45 ปี 50 ปี ดังนั้น ต้องวางแผนเก็บเงินให้สอดคล้องกับแผนการและเป้าหมายที่วางเอาไว้อย่างรอบคอบ

 

เลือกรับเงินสะสมอย่างไร?

 

สำหรับผู้ที่สะสมเงินผ่านกองทุนประกันสังคม กองทุนบำเหน็จบำนาญ หรือกองทุนสำรองเพื่อการเลี้ยงชีพ เมื่อถึงวัยเกษียณก็ย่อมมีทางเลือกที่จะรับเงินนั้นในหลากหลายรูปแบบ จะรับเงินก้อนทั้งหมดทันทีแบบบำเหน็จ ทยอยรับแบบบำนาญ หรือยังไม่รับแต่นำเงินไปลงทุนต่อ ซึ่งทั้งหมดก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป ดังนั้น จึงพิจารณาให้เหมาะสมกับตัวเอง

 

อาศัยอยู่ที่ไหน?

 

ผู้ที่เกษียณหลายคนอาจจะเลือกอยู่ที่เดิม แต่บางคนวางแผนไปหาที่อยู่ใหม่ โดยเฉพาะเมืองที่มีค่าครองชีพอยู่ในระดับไม่สูงจนเกินไป ราคาบ้านถูก ภูมิอากาศ ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ต้องพิจารณาให้ละเอียด

 

ต้องการทำงานต่อไปหรือไม่?

 

ไม่ใช่ทุกคนที่เกษียณแล้วก็ต้องการหยุดทำงานแบบถาวร คนวัยเกษียณไม่น้อยยังคงต้องการทำงานต่อทั้งแบบเต็มเวลาหรือไม่เต็มเวลา ซึ่งก็ต้องตอบคำถามด้วยว่าเป็นงานตัวเองต้องการทำด้วยใจรัก กระทบกับการใช้ชีวิตหลังวัยเกษียณหรือไม่ แต่ที่แน่ๆ เมื่อมีงาน แปลว่ายังคงมีรายได้ต่อไป

 

ปรับที่อยู่อาศัยดีหรือไม่?

 

ในช่วงวัยทำงาน อาจมีบ้านหลังโต หรือคอนโดมิเนียมขนาดพื้นที่กว้างขวาง แต่พอถึงวัยเกษียณอาจพิจารณาขายเพื่อไปซื้อที่อยู่ใหม่ที่มีขนาดพอเหมาะกว่าก็ได้ นอกเหนือจากจะทำให้มีเงินเก็บที่เพิ่มขึ้นแล้ว ที่อยู่อาศัยขนาดเล็กก็ยังสะดวกสบาย เวลาซ่อมแซมหรือปรับปรุงก็ใช้เงินไม่เยอะ ที่สำคัญก็เสียภาษีในอัตราต่ำด้วย

 

เลือกจังหวะรับผลประโยชน์อย่างไร?

 

หากมีเงินลงทุนเอาไว้ในสินทรัพย์เพื่อการลงทุน เช่น กองทุนรวม ก็อย่าลืมนึกถึงจังหวะเวลาที่จะถอนออกมาใช้ แต่ควรพิจารณาถึงความเหมาะสมด้วย เช่น ควรขายบางส่วนเพื่อทำกำไร ขายก็ต่อเมื่อระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้เปลี่ยนแปลง หรือไม่ควรขายเพราะยังไม่มีความจำเป็นต้องใช้เงิน เป็นต้น โดยก่อนตัดสินใจขายหรือไม่ขาย ควรปรึกษาที่ปรึกษาทางการเงินก่อน

 

จัดการทรัพย์สินอย่างไร?

 

เรื่องนี้ซับซ้อนพอสมควร เช่น ลงทุนอย่างต่อเนื่องมาหลายสิบปี เมื่อเกษียณไปแล้วยังคงลงทุนในรูปแบบเดิม ซึ่งบางครั้งต้องคิดว่าระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้เปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ ถ้าเปลี่ยนไปก็ควรปรับพอร์ตการลงทุนให้เหมาะกับระดับความเสี่ยงของตัวเอง

 

ใช้ชีวิตอย่างไร?

 

ผู้ที่เกษียณแล้วจำนวนไม่น้อย สุดท้ายจำต้องกลับไปทำงาน เนื่องจากแผนการใช้จ่ายล้มเหลว เงินสะสมหมดลงก่อนเวลาอันควร ดังนั้น ถ้าไม่ต้องการเป็นแบบนี้ สิ่งสำคัญอันดับแรก คือ การเริ่มลงมือเก็บเงินเพื่อวัยเกษียณต้องแต่อายุน้อยๆ และเมื่อถึงวัยเกษียณก็ต้องบริหารเงินที่มีอยู่ให้เหมาะสมเพื่อให้เพียงพอกับการใช้ชีวิต รวมถึงการนำเงินไปลงทุนให้เหมาะสม ที่สำคัญอย่าลืมจดบันทึกบัญชีรายรับ รายจ่ายอย่างละเอียด

 

อย่าลืมว่า การบริหารเงินหลังเกษียณ มีความสำคัญไม่น้อยกว่าการวางแผนการเงินก่อนวัยเกษียณ

 

 

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats