×

Wealth Me Up ให้เงินทำงาน

บริจาคอย่างไร อิ่มบุญและลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า

12,676

 

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

ผ่านปี2562 ไปครึ่งปีแล้ว คนที่มีเงินได้มาตรา 40(5) – (8) นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม จนถึง 30 มิถุนายนของปีนั้น ๆ มากกว่า 60,000 บาท ในกรณีโสด หรือกรณีมีคู่สมรสที่มีรายได้รวมกันเกิน 120,000 บาท ก็อย่าลืมไปยื่นภาษีเงินได้กลางปี (ภ.ง.ด.94) แต่ไม่ต้องตกใจนะ การยื่นภาษีเงินได้กลางปีไม่ได้หมายความว่าเราจะเสียภาษีเงินได้เพิ่มขึ้น เพราะยังไงภาษีที่เราต้องเสียทั้งหมดจะคำนวณจากเงินได้ทั้งปีตอนยื่นภาษีภายในเดือนมีนาคมปีหน้าอยู่ดี แต่ข้อดีอย่างหนึ่งของการยื่นภาษีกลางปี ก็คือ เหมือนจดหมายเตือนเราว่า ปีนี้จะต้องเสียภาษีเงินได้เยอะหรือเปล่า ถ้าเยอะก็รีบวางแผน ดีกว่าไปรู้เอาตอนยื่นภาษีจริงๆปีหน้า รู้ตอนนั้นก็สายไปแล้ว

 

ถ้าไม่อยากเสียภาษีเงินได้เยอะ ลองมาดูการบริจาคเงิน เพราะนอกจากได้บุญแล้ว เรายังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้อีก โดยเงินบริจาคที่ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี มี 2 แบบ คือ

 

1. แบบได้สิทธิประโยชน์ภาษีสำหรับเงินบริจาคแบบ จ่าย 1 ได้ 2 หรือ พูดง่ายๆ คือ ลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าของเงินบริจาค เช่น บริจาค 100 บาท สามารถลดหย่อนภาษีได้ 200 บาท เงินบริจาคแบบนี้ได้แก่

 

–  เงินสนับสนุนเพื่อการศึกษา ได้ 2 เท่าของจำนวนเงินที่ได้จ่ายไปจริง แต่ไม่เกิน 10 %ของเงินคงเหลือหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ๆ แล้ว โดยการบริจาคให้แก่สถานศึกษา ต้องเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับรายการ ดังต่อไปนี้  คือ จัดหาหรือจัดสร้างอาคาร จัดหาวัสดุอุปกรณ์เพื่อการศึกษา

เช่น แบบเรียน ตำรา ฯลฯ จัดหาครู อาจารย์ หรือผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษา ฯลฯ โดยต้องมีหลักฐานจากสถานศึกษา เป็นใบเสร็จรับเงินของสถานศึกษาเท่านั้น โดย “ สถานศึกษาต้องระบุ คำว่า “เงินบริจาคเพื่อ…. (วัตถุประสงค์ข้างต้น) เพื่อ สนับสนุนการศึกษา ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 420) พ.ศ. 2547 ”

 

– เงินบริจาคให้สถานพยาบาลของทางราชการ ซึ่งหมายถึง สถานพยาบาล ซึ่งเป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และรวมถึงสถานพยาบาลขององค์กรที่เป็นของรัฐ เช่น สถานพยาบาลของสถาบันการศึกษาของรัฐ, สถานพยาบาลของรัฐวิสาหกิจที่เป็นองค์การของรัฐบาล, สถานพยาบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, สถานพยาบาลของสภากาชาดไทย เป็นต้น

 

 

2. แบบได้สิทธิประโยชน์ภาษีสำหรับเงินบริจาคแบบ จ่าย 1 ได้ 1 หรือพูดง่ายๆ คือ บริจาคเท่าไหร่ ลดหย่อนภาษีได้เท่านั้น เช่น บริจาคให้กับวัด มูลนิธิ หรือ สถานศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์ที่นอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้น คือจะมีสิทธิหักลดหย่อนบริจาคได้เท่าจำนวนที่บริจาคเท่านั้น และได้ไม่เกินอัตรา 10 % ของเงินได้พึงประเมินที่เหลือจากหักค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อนอื่นๆ และค่าลดหย่อนเงินบริจาคแบบจ่าย 1 ได้ 2 แล้ว

 

ดังนั้น หากต้องการได้บุญ และได้ภาษีเยอะๆแล้ว ควรบริจาคแบบจ่าย 1 ได้ 2 มากๆ และไม่ต้องกลัวว่าจะบริจาคมากไป ตัวอย่างเช่น หากเงินได้พึงประเมินที่เหลือจากหักค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อนอื่นๆ ของเราเท่ากับ 1 ล้านบาท เราสามารถบริจาคโรงเรียนเพื่อจ่าย 1 ได้ 2 เต็มที่ 50,000 บาท เพราะตามกฎหมายคือ เมื่อคูณสองแล้วต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้พึงประเมินที่เหลือจากหักค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อนอื่นๆ (10%*1 ล้านบาท = 1 แสนบาท)

 

แต่หากเราบริจาคมากไป เช่น แทนที่จะบริจาค 50,000 บาท กลับบริจาค 120,000 บาท ก็ไม่ต้องเสียใจนะ ใบเสร็จบริจาคยังมีค่าอยู่ สิทธิในการลดหย่อน 70,000 บาทที่เหลืออยู่ สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีแบบจ่าย 1 ได้ 1 อยู่นะ เท่ากับใบเสร็จเงินบริจาคโรงเรียน 120,000 บาทของเรา สามารถหักลดหย่อนภาษีได้ 100,000 + 70,000 = 170,000 บาท

 

สถานศึกษาที่เราสามารถบริจาคแบบจ่าย 1 ได้ 2 เราสามารถตรวจสอบรายชื่อได้ที่ เว็บไซต์กรมสรรพากร  www.rd.go.th => เมนูบริการข้อมูล => รายชื่อสถานศึกษาที่สามารถหักลดหย่อนเงินบริจาคให้ 1 ได้ 2 (http://www.rd.go.th/publish/28654.0.html) รู้อย่างนี้แล้ว ไม่อยากเสียภาษีเยอะ ก็สะสมบุญด้วยการบริจาคกันนะ ได้ทั้งบุญ ได้ทั้งประหยัดภาษี

 

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats