×

Wealth Me Up ให้เงินทำงาน

6 เรื่องต้องรู้ก่อนลงทุนหุ้น IPO

3,747

 

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจและกำลังจะเริ่มลงทุนในหุ้น IPO ลองสอบถามตัวเองดู ว่ารู้และเข้าใจ ในหุ้นตัวที่จะลงทุนมากพอหรือยัง การศึกษารายละเอียดข้อมูลก่อนลงทุนเป็นเรื่องสำคัญ ก่อนอื่นต้องตรวจสอบข้อมูลหุ้นว่าได้รับการอนุมัติขายให้กับประชาชนแล้วหรือยัง ซึ่งผู้ลงทุนสามารถตรวจสอบรายชื่อบริษัทที่อยู่ระหว่างคำขอเข้าจดทะเบียน (Upcoming IPO) และดาวน์โหลดหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ คลิก หรือที่เว็บไซต์ ก.ล.ต. ( www.sec.or.th )

 

หลังจากเช็กสถานะของหุ้นแล้วก็ต้องศึกษาข้อมูลสำคัญที่ใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุน จะลงทุน หุ้น IPO ต้องดูอะไร วันนี้เราได้รวบรวมประเด็นที่สำคัญที่มือใหม่ต้องรู้ มาใว้ให้แบบง่ายเป็น 6 ประเด็นหลักๆ ดังนี้

 

เข้าใจธุรกิจ เพื่อพิชิตโอกาส

 

“ลักษณะธุรกิจ” เป็นพื้นฐานที่ผู้ลงทุนต้องเข้าใจเป็นอันดับแรก เนื่องจากจะเป็นข้อมูลสำคัญในการวิเคราะห์โอกาสการเติบโตของธุรกิจนั้นๆไปทิศทางใด เช่น ยอดขายของบริษัท สัดส่วนรายได้มาจากการขายสินค้าใดบ้าง  ผลการดำเนินงานเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมโดยรวม เพื่อให้ภาพเห็นภาพรวมของการแข่งขันชัดเจนขึ้น ปัจจุบันบริษัทที่เข้ามาจดทะเบียนจะมีด้วยกัน  2 ตลาด คือ

 

 

โอกาสการเติบโต อยู่ตรงไหน อะไรคือความเสี่ยง

 

เราต้องทำให้เข้าใจภาพรวมของการดำเนินธุรกิจ โดยตามทฤษฎีเราจะสามารถวิเคราะห์ธุรกิจง่ายๆ ด้วยตัวเองโดยใช้ ปัจจัยกดดันทั้ง 5 ด้าน หรือ 5 Force Model คือ ประเมินสภาวะการแข่งขันภายในอุตสาหกรรม การเข้ามาของคู่แข่งรายใหม่ มีสินค้าทดแทนหรือไม่ อำนาจต่อรองของผู้ซื้อ และอำนาจต่อรองกับผู้ขายวัตถุดิบ ซึ่งหากธุรกิจนั้นอยู่ในสภาวะแข่งขันกับธุรกิจอื่นได้ดี ก็มีโอกาสเติบโตได้สูงขึ้น และความเสี่ยงของแต่ละบริษัทจะมีความแตกต่างกันถึงแม้จะอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน ผู้ลงทุนสามารอ่านรายละเอียดความเสี่ยงของหุ้น IPO  ได้ที่หนังสือชี้ชวน คลิก

 

ระดมทุน แล้วเอาเงินไปทำอะไร

 

วัตถุประสงค์ของการระดมทุนเป็นเรื่องสำคัญ บริษัทที่เข้ามาระดมทุน ส่วนหนึ่งก็เพื่อนำเงินไปประกอบธุรกิจ ซึ่งวัตถุประสงค์ก็แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับเป้าหมายของแต่ละธุรกิจ เช่น ระดมทุนเพื่อขยายธุรกิจ ขยายหรือพัฒนาโครงการทั้งปัจจุบันและโครงการในอนาคต ระดมทุนเพื่อซื้อเครื่องจักร ระดมทุนเพื่อเพิ่มสภาพคล่อง หรือแม้กระทั่งระดมทุนเพื่อชำระหนี้ ซึ่งต้องทราบ และศึกษาส่วนนี้ให้ละเอียดเพราะสะท้อนถึงโอกาสในการสร้างผลตอบแทนกลับมายังผู้ถือหุ้นอย่างเราๆ ด้วย โดยสามารถอ่านข้อมูลในส่วนนี้ได้จากหนังสือชี้ชวน คลิก

 

ต้องเข้าใจ “อัตราส่วนทางการเงิน”

 

เราสามารถเปรียบเทียบข้อมูลหุ้นใหม่ IPO กับหุ้นที่มีการประกอบธุรกิจในลักษณะเดียวกันด้วย “อัตราส่วนทางการเงิน” แม้ว่าในรายละเอียดของแต่ละบริษัทฯ จะแตกต่างกัน เช่น ความได้เปรียบเสียเปรียบ ความชำนาญ การบริหารจัดการ และผู้บริหาร แต่อีกหนึ่งข้อมูลที่เป็น“จุดเริ่มต้น” ที่ดีของผู้ลงทุนมือใหม่อย่างเรา ได้ใช้เป็นแหล่งข้อมูลตั้งต้นในการศึกษาได้

 

อัตราส่วนทางการเงินที่นิยมใช้ในการเปรียบเทียบ  เช่น

 

  • ราคาหุ้นต่อกำไรต่อหุ้น (P/E) เป็นการประมาณการจุดคุ้มทุน ใช้เปรียบเทียบหุ้นในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน
  • ราคาหุ้นต่อมูลค่าทางบัญชี (P/BV) เป็นการประมาณมูลค่าทางทางบัญชี ไม่เหมาะกับธุรกิจบริการที่มีสินทรัพย์ถาวรน้อย
  • อัตราการจ่ายปันผล เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่คาดหวังเงินปันผล และควรวิเคราะห์ไปพร้อมกับการเติบโตในอานาคต

(ผู้ลงทุนศึกษา 7 อัตราส่วนทางการเงินที่นิยมใช้ได้ที่นี่ คลิก)

 

หาอ่านบทวิเคราะห์ดู  รู้มูลค่าที่เหมาะสม

 

เมื่อเข้าใจตัวบริษัทที่จะเข้ามาซื้อขายเบื้องต้น สรุปสาระสำคัญและมูลค่าที่เหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว อีกแหล่งข้อมูลสำคัญคือบทวิเคราะห์การลงทุนถือ ซึ่งเป็นเครื่องมือในการลงทุนอย่างหนึ่งที่มีประสิทธิภาพมาก โดยบทวิเคราะห์ที่น่าเชื่อถือควรถูกจัดทำโดยนักวิเคราะห์การลงทุนที่น่าเชื่อถือ ซึ่งมักมีข้อมูลที่หลากหลายประกอบกัน เช่น ข้อเท็จจริงของบริษัท  ซึ่งเป็นข้อมูลจริงที่เกิดขึ้นและเปิดเผยต่อสาธารณะแล้ว, ความคิดเห็นของบริษัท, ความคิดเห็นของนักวิเคราะห์การลงทุน จะได้นำผลการวิเคราะห์มาเปรียบเทียบจากหลายๆ แหล่ง เพื่อให้มีข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจได้มากที่สุด

 

ปัจจุบัน เราหาข้อมูลบทวิเคราะห์การลงทุนได้จากจากหลายแหล่ง โดยเฉพาะเว็บไซต์ ทั้งจากบริษัทหลักทรัพย์และผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ (Underwriter) แต่สิ่งสำคัญผู้ลงทุนต้องแยกระหว่างข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นออกจากกัน  (คลิกอ่านบทวิเคราะห์ได้ที่นี่)

 

ลงทุนที่ไหน ยังไง กับใครดี

 

เราสามารถซื้อ “ หุ้น IPO” ได้ใน 2 ลักษณะ คือ

 

  • จองซื้อ“หุ้น IPO”ก่อนเข้าตลาด ผู้ลงทุนที่จะซื้อหุ้น IPO ไม่สามารถซื้อขายกับตลาดหลักทรัพย์ หรือบริษัทจดทะเบียน แต่จะต้องทำการ “จองซื้อ” ผ่าน “ผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์” หรือที่เรียกกันว่า อันเดอร์ไรท์เตอร์ (Underwriter) ซึ่งคือ บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ ผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ทำหน้าที่เสนอขายหลักทรัพย์แก่ประชาชนทั่วไปแทนบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ ซึ่งการเสนอขายหุ้น IPO  แต่ละครั้งจะไม่มีกฎเกณฑ์แน่นอนตายตัวว่าจะจองด้วยวิธีใด ผ่านช่องทางไหน จ่ายเงินอย่างไร หรือจัดสรรอย่างไร ผู้ลงทุนจะต้องศึกษารายละเอียดต่างๆ จากหนังสือชี้ชวน (คลิกดาวน์โหลดหนังสือชี้ชวน)

 

  • ซื้อ“หุ้น IPO” ในตลาดเมื่อเข้ามาซื้อขายแล้ว โดยซื้อขายผ่านกระดานซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งผู้ลงทุนต้องมีบัญชีหลักทรัพย์ก่อน จึงจะเข้าซื้อขายได้ โดยสามารถเปิดบัญชีซื้อขายหุ้นแบบออนไลน์ง่ายๆ ตามลิงค์ต่อไปนี้ คลิกเลย ซึ่งปัจจุบันมีให้เลือกมากมาย และมีจุดเด่นต่างกันเพื่อให้เราได้เลือกสรรแบบที่ตอบโจทย์การลงทุน และสามารถผ่านโปรแกรมผ่านออนไลน์ได้อย่างสะดวกด้วยเช่นกัน ซึ่งโปรแกรมที่ผู้ลงทุนคุ้นเคยเช่น Settrade Streaming

 

 

#WealthMeUp

 

ที่มาข้อมูล : https://www.setinvestnow.com/th/knowledge/article/171-investhow-6step-ipo?utm_source=fb_set

Related Stories

amazon anti fatigue mats