ต่าง Gen | ต่างเป้าหมาย | ต่างความต้องการเรื่อง “เงิน”
ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…
Facebook | Line | Youtube | Instagram
วัยสร้างเนื้อสร้างตัว (Gen Y: อายุ 24-41 ปี)
- ลักษณะของคน Gen Y
เป็นช่วงที่รายได้กำลังเติบโตตามอายุงาน – ทักษะที่มี และอยากมีทรัพย์สินอย่างบ้าน คอนโด – รถยนต์ หรือเริ่มต้นทำธุรกิจเพื่อวางแผนต่อยอดมีเงินหลังเกษียณ จึงไม่แปลกที่ภาระหนี้สินของคน Gen Y มักสูงกว่า Gen อื่น ดูได้จากจำนวนบัญชีขอกู้ใหม่ของสินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถยนต์ และสินเชื่อบุคคล ไตรมาส 1 ปี 2563 ซึ่งคน Gen Y มีสัดส่วนถึง 64%
- เก็บออมเงินมากขึ้น แต่ยังน้อย
จากข้อมูลกองทุนรวม ปี 2556-2562 แม้แนวโน้มจำนวนคน Gen Y ที่มีกองทุนรวมจะมากขึ้น แต่หากนับเป็นมูลค่าเงินลงทุนแล้ว ยังถือว่าน้อยอยู่ โดยในปี 2562มูลค่าเงินลงทุนในกองทุนรวมของคน Gen Y มีสัดส่วนเพียง 10.79% ทั้งที่เป็น Gen ที่มีจำนวนประชากรมากที่สุด
- คำแนะนำสำหรับคน Gen Y
ควรให้ความสำคัญกับการเก็บเงินและลงทุนต่อเนื่องด้วยวิธี DCA (Dollar Cost Averaging) เนื่องจากเป็นช่วงสร้างเนื้อสร้างตัว โดยอาจเลือกลงทุนในกองทุนรวมที่จัดสัดส่วนการลงทุนให้ภายใต้ระดับความเสี่ยงที่ตนเองรับได้ และระยะเวลาการลงทุน
- นิยามของคน Gen Y
จุดเด่น
- รายได้อยู่ในช่วงเติบโต
- รับความเสี่ยงการลงทุนได้สูง
จุดด้อย
- เก็บเงินไม่ค่อยอยู่
- เสี่ยงต่อการมีหนี้เกินตัว
Related Product
- กองทุนกลุ่ม เคเคพี แอสเซ็ท อโลเคชั่น (KKP Asset Allocation) กองทุนผสมที่กระจายการลงทุนไปยังตราสารหนี้ ตราสารทุน และตราสารทางเลือกทั้งในและต่างประเทศ ด้วยกลยุทธ์การจัดพอร์ตแบบ Asset Allocation โดยมี 4 ทางเลือกกระจายการลงทุนในหลากหลายทรัพย์สินในสัดส่วนที่แตกต่างกัน ไล่เรียงตามระดับความเสี่ยง (KKP SG-AA ULTRA LIGHT, KKP SG-AA ULIGHT, KKP SG-AA และ KKP SG-AA Extra) เริ่มต้นลงทุนเพียง 1,000 บาทเท่านั้น (ข้อมูลเพิ่มเติม: https://bank.kkpfg.com/th/design-your-opportunities-kkp-asset-allocation )
วัยเงินทองมั่นคง (Gen X: อายุ 42-56 ปี)
- ลักษณะของคน Gen X
คนวัยนี้เริ่มมีความมั่นคงในหลายด้าน ทั้งหน้าที่การงานและรายได้ แม้ยังมีภาระหนี้สินอยู่บ้างแต่ก็มักไม่ค่อยสร้างเพิ่ม อาจมีบ้างที่กู้ซื้อบ้านหรือคอนโดหลังที่สองเพื่อความสะดวกในการเดินทาง หรือกู้เงินเพื่อขยายธุรกิจส่วนตัว
- เน้นลงทุนสร้างผลตอบแทนระยะยาว
จากข้อมูลจำนวนคนลงทุนกองทุนรวมในปี 2556-2562 คน Gen X มีสัดส่วนค่อนข้างคงที่ประมาณ 35-40% ของคนมีกองทุนทั้งหมด ซึ่งแสดงถึงการให้ความสำคัญกับการลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนระยะยาวของคน Gen X
- *เริ่มสนใจทำธุรกิจส่วนตัว
นอกจากการลงทุนในตลาดเงิน – ตลาดทุนแล้ว Gen X ยังให้ความสนใจกับการทำธุรกิจส่วนตัว เนื่องจากเมื่อหน้าที่การงานเริ่มอิ่มตัว ก็มักเริ่มมองหาลู่ทางหารายได้เสริม หรือเป็นรายได้ให้ตัวเองหลังเกษียณจากงานประจำ ประกอบกับรายได้ อายุ และประสบการณ์ทำงานก็เอื้อต่อการขอสินเชื่อธุรกิจได้ง่ายมากขึ้น (หมายเหตุ บางทีคนกลุ่มนี้จะไม่กล้าเสี่ยงเนื่องจากกลัวล้มเหลว ก็มักจะเป็นพนักงานประจำต่อ แต่ก็มีบางส่วนที่เริ่มลงหุ้นกับเพื่อนเปิดธุรกิจ แต่ก็ยังไม่ลงเงินเต็มตัว เพราะถ้าล้มก็อาจเสียเงินเก็บที่กันไว้ใช้ตอนเกษียณ)
- คำแนะนำสำหรับคน Gen X
ควรลงทุนในสินทรัพย์ที่ตอบโจทย์การลงทุนระยะยาว เพื่อเตรียมวางแผนเกษียณ และอาจเริ่มมองหาโอกาสในการสร้างแหล่งรายได้ที่ 2 ผ่านการทำธุรกิจ หรือต่อยอดธุรกิจที่ตนเองมีความถนัด – สนใจ
- นิยามของคน Gen X
จุดเด่น
- รายได้สูงและมั่นคง
- มีเงินเย็นพร้อมลงทุน
จุดด้อย
- มีภาระอุปการะคนในครอบครัว
- แรงบันดาลใจการทำงานเริ่มลดลง
Related Product
- กองทุนกลุ่ม เคเคพี แอสเซ็ท อโลเคชั่น (KKP Asset Allocation) กองทุนผสมที่กระจายการลงทุนไปยังตราสารหนี้ ตราสารทุน และตราสารทางเลือกทั้งในและต่างประเทศ ด้วยกลยุทธ์การจัดพอร์ตแบบ Asset Allocation โดยมี 3 4 ทางเลือกกระจายการลงทุนในหลากหลายทรัพย์สินในสัดส่วนที่แตกต่างกัน ไล่เรียงตามระดับความเสี่ยง (KKP SG-AA ULTRA LIGHT, KKP SG-AA ULIGHT, KKP SG-AA และ KKP SG-AA Extra) เริ่มต้นลงทุนเพียง 1,000 บาทเท่านั้น (ข้อมูลเพิ่มเติม: https://bank.kkpfg.com/th/design-your-opportunities-kkp-asset-allocation)
- สินเชื่อธุรกิจ KKP SME: เงินทุนสนับสนุนเจ้าของธุรกิจ ไม่ว่าจะมี – ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน, ค้าขายรับเงินสด ไม่มีทะเบียนการค้า…ไม่ว่าใคร KKP ก็พร้อมอยู่เคียงข้าง ให้ธุรกิจได้ไปต่อและเติบโตอย่างต่อเนื่อง ด้วยสินเชื่อธุรกิจ KKP SME (ข้อมูลเพิ่มเติม: เงื่อนไข คุณสมบัติ และอัตราดอกเบี้ย https://bank.kkpfg.com/th/design-your-opportunities-kkpsme)
วัยวางมือ (Baby Boomer: อายุ 57-75 ปี)
- ลักษณะของคน Baby Boomer
เป็นกลุ่มที่มีความพร้อมด้านความมั่นคงมากที่สุด ทั้งด้านการงาน (อาชีพ – ธุรกิจ) และการเงิน (รายได้ – ความมั่งคั่ง – ปลอดภาระ) โดยมักให้ความสำคัญกับการบริหารเงินก้อนที่มีอยู่ให้เติบโตภายใต้ความเสี่ยงที่รับได้ เพื่อให้เพียงพอกับชีวิตหลังวัยเกษียณ พร้อมเริ่มวางแผนส่งต่อความมั่งคั่งให้กับลูกหลาน
- ไม่กล้ารับความเสี่ยง กังวลการส่งต่อ
อุปสรรคสำคัญของกลุ่ม Baby Boomer คือสามารถรับความเสี่ยงได้น้อยลง (ทั้งในด้านการลงทุน – ธุรกิจ) อีกทั้งยังกังวลเรื่องการส่งต่อมรดกให้กับคนรุ่นหลัง ในการต่อยอดความมั่งคั่ง และกิจการให้เดินหน้าต่อไปได้ ควบคู่ไปกับการรักษาระดับความสัมพันธ์ และคุณค่าของคนในครอบครัว
- คำแนะนำสำหรับ Baby Boomer
ควรจัดสรรเงินก้อนออกเป็น 3 ส่วน ตามระยะเวลาและความต้องการในการใช้เงิน (ภายใน 1 ปี, ภายใน 5 ปี, 10 ปีขึ้นไป) เพื่อให้สามารถบริหารเงินได้ตรงตามวัตถุประสงค์ พร้อมให้มืออาชีพวางแผนส่งต่อความมั่งคั่ง (ทั้งด้านทรัพย์สิน และธุรกิจ)
- นิยามของ Baby Boomer
จุดเด่น
- มีเงินเย็นพร้อมลงทุน
- มีเวลาติดตามและศึกษาข้อมูลต่างๆ
จุดด้อย
- รับความเสี่ยงการลงทุนได้ต่ำ
- วิตกกังวลกับสิ่งต่างๆ รอบตัว
Related Product
- กองทุนกลุ่ม เคเคพี แอสเซ็ท อโลเคชั่น (KKP Asset Allocation) กองทุนผสมที่กระจายการลงทุนไปยังตราสารหนี้ ตราสารทุน และตราสารทางเลือกทั้งในและต่างประเทศ ด้วยกลยุทธ์การจัดพอร์ตแบบ Asset Allocation โดยมี 4 ทางเลือกกระจายการลงทุนในหลากหลายทรัพย์สินในสัดส่วนที่แตกต่างกัน ไล่เรียงตามระดับความเสี่ยง (KKP SG-AA ULTRA LIGHT, KKP SG-AA ULIGHT, KKP SG-AA และ KKP SG-AA Extra) เริ่มต้นลงทุนเพียง 1,000 บาทเท่านั้น (ข้อมูลเพิ่มเติม: https://bank.kkpfg.com/th/design-your-opportunities-kkp-asset-allocation)
- Family Wealth Advisory: บริการช่วยวางแผนการส่งต่อความมั่งคั่ง ทั้งด้านทรัพย์สิน การจัดโครงสร้างธุรกิจ รวมถึงธรรมนูญครอบครัว เพื่อให้สมาชิกครอบครัวรุ่นต่างๆ ดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่น ทำให้ธุรกิจที่สร้างมาเดินต่อไปได้อย่างไม่สะดุด ความสัมพันธ์ในครอบครัวใหญ่ที่สร้างมาก็ไม่สั่นคลอนเช่นกัน (ข้อมูลเพิ่มเติม:https://bank.kkpfg.com/th/design-your-opportunities-family-wealth-advisory)
คำเตือน: การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน
———-
ข้อมูลอ้างอิง
- บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด : https://bit.ly/3fF0Ike
- ฝ่ายวิจัย สำนัก ก.ล.ต. : https://www.sec.or.th/TH/Documents/Seminars/SECSymposium2020-01.pdf