×

Wealth Me Up ให้เงินทำงาน

4 เคล็ดลับ จัดการความเสี่ยงการลงทุนกองทุนต่างประเทศ

2,453

 

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

คำถามแรกที่นักลงทุนต้องตอบตัวเองให้ชัดเจนเมื่อคิดที่จะไปลงทุนในต่างประเทศ ก็คือ มีความต้องการหรือคาดหมายอย่างไร และต้องเผชิญกับความเสี่ยงอะไรบ้าง

 

ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัวอย่างชัดเจน แต่ด้วยปัจจัยการแพร่ระบาดเชื้อไวรัส COVID-19 ยังไม่มีความแน่นอน ที่สำคัญมีโอกาสแพร่ระบาดเพิ่มขึ้นด้วยสายพันธุ์ใหม่ซึ่งอาจจะกลายเป็นปัญหาในระยะยาว ย่อมกดดันด้านการลงทุนไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะมั่นใจว่ามีวัคซีนกำจัดเชื้อไวรัสได้

 

เมื่อเป็นเช่นนี้ ถ้าชอบตลาดลงทุนในต่างประเทศ ให้เลือกลงทุนในประเทศที่มีหนี้สาธารณะน้อยที่สุด เศรษฐกิจที่จะมีบทบาทต่อเศรษฐกิจโลก หรือลงทุนในบริษัทที่ไม่มีหนี้และมีโอกาสเติบโตท่ามกลางวิกฤติได้

 

สำหรับสินทรัพย์ (Asset Class) ที่เหมาะกับการลงทุนในช่วงสั้น ๆ ที่ตลาดมีความผันผวนสูง อาจมองกองทุนรวมทองคำ เพราะทองคำถือเป็นค่าเงินและเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยสูง และเป็นการป้องกันเงินเฟ้อได้ ส่วนตลาดหุ้น ให้เน้นตลาดหุ้นประเทศที่มีเศรษฐกิจฟื้นตัวชัดเจน มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่งแต่ราคายังไม่ปรับขึ้นสูงมากนัก ที่สำคัญเลือกกลุ่มอุตสาหกรรมที่เป็นกระแสหลัก

 

ในแต่ละสินทรัพย์นั้น การลงทุนในต่างประเทศมีข้อดีมากกว่าข้อเสีย ในแง่การกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุน เมื่อเทียบกับการลงทุนแค่ในประเทศ ทำให้ในระยะยาวการลงทุนต่างประเทศยังน่าสนใจ

 

สำหรับการเลือกลงทุนในสินทรัพย์อะไรนั้นก็ขึ้นอยู่กับระดับความเสี่ยงของนักลงทุน ขึ้นอยู่กับความเข้าใจ เพราะการที่จะออกไปลงทุนต่างประเทศที่มีความเสี่ยงสูงขึ้นอาจจะใช้เวลาตัดสินใจนานพอสมควร ดังนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้ที่จะลงทุนต่างประเทศจะต้องคำนึงถึงความเสี่ยงเบื้องต้น สำหรับมือใหม่ที่กำลังตัดสินใจสามารถเริ่มต้นลงทุนต่างประเทศด้วยกองทุนรวมต่างประเทศ

 

ประเมินความต้องการ

 

ประเมินความต้องการของตัวเองก่อนว่ามีระยะเวลาในการลงทุนเท่าไร (Investment Horizon) คาดหวังผลตอบแทนในระดับไหน และยอมรับความเสี่ยงได้เท่าไร ซึ่งตามปกติแล้วระดับความเสี่ยงมักจะแปรผันตามผลตอบแทนที่คาดหวัง (High Risk, High Return) เช่น ต้องการออมเงินเพื่อใช้หลังเกษียณอายุ โดยต้องการผลตอบแทนในระดับที่สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ ในขณะที่สามารถยอมรับความผันผวนในระยะสั้นได้ ก็ควรเลือกลงทุนในตราสารทุนเพราะสามารถตอบสนองความต้องการได้เหมาะสมที่สุด

 

ศึกษาสินทรัพย์

 

ศึกษาให้ถ่องแท้ว่าสินทรัพย์ไหนที่เหมาะสมกับความต้องการของตัวเอง เช่น หากลงทุนผ่านกองทุนรวมต่างประเทศก็เลือกประเภทกองทุน (หุ้น ตราสารหนี้ ทองคำ เป็นต้น) จากนั้นพิจารณาว่าผู้จัดการกองทุนในต่างประเทศของกองทุนแต่ละรายเป็นใคร มีประสบการณ์ในการลงทุนประเภทดังกล่าวมากน้อยเพียงไร โดยอาจพิจารณาผลการดำเนินงานและผลการดำเนินงานหลังปรับค่าความเสี่ยงในอดีตเป็นองค์ประกอบ อาจเป็นช่วง 3 – 5 ปี ย้อนหลัง ประกอบกับปรัชญาการลงทุนและคุณสมบัติของทีมงานผู้จัดการกองทุน

 

ตรวจสอบการลงทุน

 

ตรวจสอบให้ชัดเจนว่ากองทุนที่สนใจนั้นลงทุนในหน่วยลงทุนในต่างประเทศที่ลงทุนในหลักทรัพย์แต่ละประเภทโดยตรงหรือลงทุนในตราสารอนุพันธ์ที่จ่ายผลตอบแทนอ้างอิงกับดัชนีราคาของหลักทรัพย์ (Structured Notes) เนื่องจากการลงทุนทั้งสองแบบมีความเสี่ยงที่ไม่เท่ากัน โดยการลงทุนประเภทหลังจะมีความเสี่ยง อีกประเภทหนึ่งเพิ่มขึ้นมา คือ ความเสี่ยงด้านการผิดนัดชำระหนี้ของผู้ออกตราสาร (Credit Risk) ซึ่งควรประเมินต่อไปว่า ผู้ออกตราสารเป็นใคร น่าเชื่อถือมากแค่ไหน

 

ตรวจสอบการบริหารความเสี่ยงอัตราการแลกเปลี่ยน

 

ตรวจสอบให้ชัดเจนว่า กองทุนรวมต่างประเทศมีการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนหรือไม่ อย่างไร เนื่องจากระดับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนมีค่อนข้างสูง จึงมีโอกาสทำให้อัตราผลตอบแทนติดลบได้ หากไม่มีการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนที่ดี เช่น กองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลต่างประเทศที่มีอัตราผลตอบแทนติดลบในระดับสูง เนื่องจากไม่ได้ทำการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน แม้ว่าพันธบัตรรัฐบาลที่ลงทุนนั้นจะให้ผลตอบแทนที่สูงมากในรูปสกุลเงินท้องถิ่นก็ตาม

 

การออกไปลงทุนต่างประเทศก็ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของนักลงทุนและความสามารถ อย่างไรก็ตาม การลงทุนต่างประเทศเป็นการกระจายความเสี่ยงจึงไม่ใช่ปัจจัยหลักของการลงทุน ดังนั้น ควรแบ่งเงินลงทุนสัดส่วนน้อยไปลงทุน เช่น 10% ของเงินลงทุนโดยรวม

 

 

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats