×

Wealth Me Up ข่าวสั้น ทันเศรษฐกิจ

“หนี้เรื้อรัง” ต้องมีวันปิดจบ!

379

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย

Youtube | Facebook | TikTokInstagramLine 

 

จ่ายแค่ดอก ต้นแทบไม่ลด และจ่ายหนี้เป็นระยะเวลายาวนาน จนไม่รู้ว่าจะปิดจบหนี้ได้เมื่อไหร่รู้หรือไม่นี่คืออาการของหนี้เรื้อรังและบางคนก็มีอาการแบบนี้ไปจนถึงวัยเกษียณเลยก็มี แต่อีกไม่นานหนี้เรื้อรังก้อนนี้จะมีวันปิดจบได้!  

 

1 เม.. 2567 นี้ จะเป็นวันคิกออฟ มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรังซึ่งเป็นหนึ่งในแผนแก้ปัญหาหนี้อย่างยั่งยืน โดยธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. ที่จะช่วยให้ลูกหนี้สามารถปิดจบหนี้ได้ภายใน 5 ปี ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ถูกลงไม่เกิน 15% ต่อปี 

 

โดยเป้าหมายหลักของ ธปท. ในการแก้ปัญหาหนี้เรื้อรังก็เพื่อให้ลูกหนี้กลุ่มนี้สามารถปิดหนี้ได้เร็วขึ้น มีเงินเหลือพอที่จะใช้ดำรงชีพได้ และจากการเก็บข้อมูลจากสถาบันการเงินภายใต้การกำกับของ ธปท. เมื่อปี 2566 พบว่ามีลูกหนี้ที่เข้าข่ายมีปัญหาหนี้เรื้อรังราว 6 แสนบัญชี 

 

แบบไหนบ้างที่เข้าข่ายหนี้เรื้อรัง (Persistent Debt: PD)?   

 

  • ลูกหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับดูแลของ ธปท. ที่เป็นวงเงินหมุนเวียน ไม่กําหนดเวลาปิดจบหนี้ เช่น บัตรกดเงินสด (ไม่รวมบัตรเครดิต สินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกันและสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล)
  • ยังไม่เป็นหนี้เสีย (NPL) แต่ปัญหาคือหาทางปิดจบหนี้ไม่ได้ 
  • จ่ายดอกเบี้ยรวมเกินเงินต้นรวม เป็นระยะเวลานาน   

 

โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก

  1. ลูกหนี้ที่เริ่มมีปัญหาเรื้อรัง (General PD) คือจ่ายดอกเบี้ยรวมมากกว่าเงินต้นรวมมาแล้ว 3 ปีแต่ไม่ถึง 5 ปี 
  2. ลูกหนี้ที่เป็นหนี้เรื้อรัง (Severe PD) คือจ่ายดอกเบี้ยรวมมากกว่าเงินต้นรวมมาแล้ว 5 ปี และมีรายได้ต่อเดือนไม่ถึง 20,000 บาท กรณีเป็นลูกหนี้กลุ่มแบงก์ หรือมีรายได้ต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท กรณีเป็นลูกหนี้กลุ่มนอนแบงก์ 

 

มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง ช่วยลูกหนี้ได้อย่างไร

 

  • ลูกหนี้กลุ่มที่เริ่มเรื้อรัง : จะได้รับการแจ้งเตือนเพื่อให้รีบติดต่อเจ้าหนี้ หากต้องการแก้หนี้ เจ้าหนี้จะมีแนวทางให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสมเป็นรายกรณี
  • ลูกหนี้กลุ่มเรื้อรังจะได้รับการแจ้งเตือนให้เข้าร่วมมาตรการแก้หนี้เรื้อรัง (Opt-in) เพื่อเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขสัญญาเป็นสินเชื่อที่ผ่อนชำระเป็นงวด (Installment Loan) ให้ปิดจบหนี้ภายใน 5 ปี ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงไม่เกิน 15% ต่อปี (จากปกติไม่เกิน 25% ต่อปี

 

เรื่องที่ลูกหนี้ควรรู้! ก่อนเข้าร่วมมาตรการแก้หนี้เรื้อรัง

 

  • ลูกหนี้จะได้รับสิทธิ 1 ครั้ง ต่อ 1 บัญชี (หากมีมากกว่า 1 บัญชี สามารถเลือกเข้ามาตรการบางบัญชีได้)
  • ลูกหนี้จะต้องปิดวงเงินสินเชื่อเดิมที่เข้าร่วมมาตรการ เพื่อให้สามารถปิดจบหนี้ได้จริง แต่เมื่อเข้าร่วมมาตรการแล้วอาจได้รับวงเงินเฉพาะกรณีฉุกเฉิน
  • ลูกหนี้ที่เข้าร่วมมาตรการจะต้องรายงานประวัติข้อมูลเครดิต เช่น วันที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้

 

หนี้เรื้อรังถือเป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญของหนี้ครัวเรือนที่ต้องเร่งแก้ ซึ่งมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรังของ ธปท. ที่จะเริ่มในวันที่ 1 เม..67 นี้ ทำให้ลูกหนี้ในกลุ่มนี้มีทางออก อย่างไรก็ตามต้องรอติดตามว่ามาตรการดังกล่าวจะเห็นผลจริงมากน้อยขนาดไหน?  

 

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats