×

Wealth Me Up ข่าวสั้น ทันเศรษฐกิจ

กว่าจะได้เป็น ‘ศาสตราจารย์’ ไม่ใช่เรื่องง่าย!

158

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย

Youtube | Facebook | TikTokInstagramLine 

 

การเป็นศาสตราจารย์ในประเทศไทยนั้น ไม่ได้เป็นเรื่องง่าย เพราะต้องอาศัยความทุ่มเท อดทน และมีผลงานที่โดดเด่น

 

โดยหลักการแต่งตั้งตำแหน่งศาสตราจารย์ ตามราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) ระบุไว้ว่า 

 

1. คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ผู้ขอต้องดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ และปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี

 

2. ผลการสอน ผู้ขอต้องมีชั่วโมงสอนประจำวิชาใดวิชาหนึ่งที่กำหนดไว้ ในหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษา

 

3. ผลงานทางวิชาการ ผู้ขออาจเสนอผลงานทางวิชาการได้ 3 วิธี ดังนี้

 

วิธีที่ 1: ผลงานทางวิชาการต้องประกอบด้วยผลงานที่มีคุณภาพระดับ A และมีปริมาณดังนี้

(1) งานวิจัย อย่างน้อย 5 เรื่อง ต้องได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูลระดับนานาชาติตามที่ ก.พ.อ. กำหนด

หรือ (2) งานวิจัย อย่างน้อย  1 ต้องได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูลระดับนานาชาติตามที่ ก.พ.อ. กำหนด และผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่นที่ต้องได้รับการเผยแพร่ในระดับนานาชาติ ตามที่ ก.พ.อ. กำหนด รวมกันทั้งหมด อย่างน้อย 5 เรื่อง 

และ (3) ตำรา หรือ หนังสือ อย่างน้อย 1 เล่ม  

 

วิธีที่ 2: ผลงานทางวิชาการต้องประกอบด้วยผลงานที่มีคุณภาพ และมีปริมาณดังนี้

(1) งานวิจัย อย่างน้อย 5 เรื่อง ต้องได้รับการเผยแพร่ ในวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูลระดับนานาชาติตามที่ ก.พ.อ. กำหนด ที่มีคุณภาพระดับ A + อย่างน้อย 2 เรื่อง และมีคุณภาพระดับ A อย่างน้อย 3 เรื่อง 

หรือ (2) งานวิจัย อย่างน้อย 1 เรื่อง ต้องได้รับการเผยแพร่ ในวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูลระดับนานาชาติตามที่ ก.พ.อ. กำหนด และผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ที่ต้องได้รับการเผยแพร่ในระดับนานาชาติตามที่ ก.พ.อ. กำหนด รวมกันทั้งหมด อย่างน้อย 5 เรื่อง โดยที่ผลงานทางวิชาการ อย่างน้อย 2 เรื่อง ต้องมี คุณภาพระดับ A + และอีกอย่างน้อย 3 เรื่อง มีคุณภาพระดับ A 

หรือ (3) งานวิจัย อย่างน้อย 10 เรื่อง ต้องได้รับการเผยแพร่ ในวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูลระดับนานาชาติตามที่ ก.พ.อ. กำหนด ที่มีคุณภาพระดับ A

 

วิธีที่ 3: สำหรับการเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ แพทยศาสตร์ และสาขาวิชาอื่นๆ ตามที่ ก.พ.อ. กำหนด ผู้ขอต้องเสนอเอกสารหลักฐานประกอบการพิจารณาดังนี้

(1) งานวิจัยอย่างน้อย 10 เรื่อง ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสาร ที่อยู่ในฐานข้อมูล Quartile 1 และ Quartile 2 ของ Scopus หลังจากที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ 

และ (2) มีงานวิจัยที่ได้รับการอ้างอิงจาก Scopus โดยรวม (Life-time citation) อย่างน้อย 1,000 รายการ โดยไม่นับงานวิจัยที่อ้างอิงตนเอง 

และ (3) มีค่า Life-time h-index (Scopus) ไม่น้อยกว่า 18

และ (4) เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย (Principal Investigator) ที่ได้รับทุน จากแหล่งทุนภายนอกสถาบัน ตามจำนวนเงินที่สภาสถาบันกำหนด อย่างน้อย 10 โครงการ

 

สำหรับการเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการสาขาวิชาทางบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ และสาขาวิชาอื่นๆ ตามที่ ก.พ.อ. กำหนด ผู้ขอต้องเสนอเอกสารหลักฐานประกอบการพิจารณา ดังนี้ 

(1) งานวิจัยอย่างน้อย 10 เรื่อง ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสาร ที่อยู่ในฐานข้อมูล Scopus หลังจากที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นรองศาสตราจารย์

(2) มีงานวิจัยที่ได้รับการอ้างอิงจาก Scopus โดยรวม (Life-time citation) ซึ่งไม่นับงานวิจัยที่อ้างอิงตนเองตามที่ ก.พ.อ. กำหนด

(3) มีค่า Life-time h-index (Scopus) ไม่น้อยกว่า 8

และ (4) เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย (Principal Investigator) ที่ได้รับทุน จากแหล่งทุนภายนอกสถาบัน ตามจำนวนเงินที่สภาสถาบันกำหนด อย่างน้อย 10 โครงการ

 

4. มีจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการตามที่กำหนด

 

สำหรับระยะเวลาที่กว่าจะได้มาดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลและหลายปัจจัย เช่น สาขาวิชา ผลงานวิชาการ ประสบการณ์การสอน และนโยบายของมหาวิทยาลัย โดยทั่วไปแล้วใช้เวลาประมาณ 15-20 ปี  นับตั้งแต่จบปริญญาเอก แต่ที่สำคัญคือ ตำแหน่งนี้ล้วนต้องอาศัย ความมุ่งมั่น ทุ่มเท ระยะเวลา รวมถึงผลงานและประสบการณ์

 

ที่มา: https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/E/004/T_0022.PDF

 

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats