×

Wealth Me Up ข่าวสั้น ทันเศรษฐกิจ

สรุปครบจบในโพสต์เดียว “กองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง”

384

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย

Youtube | Facebook | TikTokInstagramLine 

 

“2546 = จุดเริ่มต้น”

 

กองทุนฯ เกิดตั้งแต่ปี 2546 โดยมีมูลค่าสินทรัพย์ทั้งหมด (AUM) 100,000 ล้านบาท

 

ผู้ถือหน่วยกลุ่ม ก. = ประชาชน = ลงทุน 70,000 ล้านบาท

ผู้ถือหน่วยกลุ่ม ข. = กระทรวงการคลัง = ลงทุน 30,000 ล้านบาท

 

วัตถุประสงค์ (อดีต)

 

1. นำหุ้นที่รัฐถือครองมาบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์สูงสุด

2. หุ้นที่นำเงินไปลงทุน ต้องมีประโยชน์กับประเทศในเชิงเศรษฐกิจ

3. กิจการต้องมีความยั่งยืน

 

“2556 = 10 ปีผ่านไป”

 

กองทุนฯ คืนเงินให้ผู้ถือหน่วยกลุ่ม ก. (ประชาชน)

เหลือเฉพาะผู้ถือหน่วยกลุ่ม ข. (ก.คลัง) และยังบริหารต่อเนื่อง

 

“2557-2567 = เหลือเฉพาะผู้ถือหน่วยกลุ่ม ข.”

 

ล่าสุด AUM ณ 6 ก.ย. 67 = 353,000 ล้านบาท

10 ปีที่ผ่านมาจ่ายเงินปันผล 3.75% ต่อปี

 

“2567 = เพิ่มทุน 150,000 ล้านบาท”

 

กองทุนฯ กำลังจะเพิ่มทุนอีก 100,000-150,000 (รวมของเดิม 350,000 ล้านบาท = AUM หลังเพิ่มทุน 500,000 ล้านบาท) ซึ่งส่วนที่เพิ่มทุนคือผู้ถือหน่วยลงทุนกลุ่ม ก. แบ่งเป็น

 

1. ประชาชน (รายย่อย) 30,000-50,000 ล้านบาท

2. นิติบุคคล 100,000-120,000 ล้านบาท

 

“นโยบายการลงทุน”

 

– ลงทุนระยะยาว 10 ปี

– ลงทุนในตลาดไทย (หุ้น-ตราสารหนี้) ในทรัพย์สินมีสภาพคล่อง

– บริหารแบบ Active + Passive ตามช่วงเวลา

– หุ้นที่ลงทุน = หุ้นยั่งยืน + มีธรรมาภิบาล (SET100 ใช้ ESG Rating ระดับ A ขึ้นไป แต่ถ้านอกเหนือจาก SET100 จะเป็น Rating ระดับ AA ขึ้นไป)

– ผู้จัดการกองทุนคือ KTAM, MFC ร่วมกันบริหาร

 

“ผลตอบแทน”

 

หลักการคือคำนวณจากราคาพาร์ (หน่วยละ 10 บาท)

ผลตอบแทนขั้นต่ำ 3% ต่อปี (มากสุดไม่เกิน 9% ต่อปี)

 

– เงินปันผลแบ่งจ่ายปีละ 2 ครั้ง (กลางปี + ปลายปี)

– ปีแรก (2567) คำนวณแค่ 92 วัน

– ผู้ถือหน่วยกลุ่ม ก. (ที่เพิ่มทุน 150,000 ล้านบาท) จะได้รับก่อนเสมอ

– กรณีตลาดไม่สดใส AUM ลดลงจาก 500,000 ล้านบาทจะมีกลไกคุ้มครองดังนี้

 

1. AUM เหลือ 300,000 ล้านบาท

ต้องกันสินทรัพย์สภาพคล่องให้พอจ่ายปันผล (3% ต่อปี) อย่างน้อย 2 ปี

2. AUM เหลือ 225,000 ล้านบาท

ต้องกันสินทรัพย์สภาพคล่องให้เท่ากับเงินต้นของผู้ถือหน่วยกลุ่ม ก. (150,000 ล้านบาท) และอาจพิจารณาคืนเงินให้กับผู้ถือหน่วยลงทุน

 

ทั้งนี้ “ไม่มีการค้ำประกัน” แต่อย่างใด

 

โดยกลไกดังกล่าวเป็นกลไกที่ให้ผู้ลงทุนกลุ่ม ข. (กระทรวงการคลังที่มีสัดส่วนลงทุน 350,000 ล้านบาท) มาคุ้มครองผู้ลงทุนกลุ่ม ก. (150,000 ล้านบาท)

 

“วิธีลงทุน”

 

16-20 ก.ย. 67 เปิดขายหน่วยลงทุน ให้ประชาชนทั่วไป (รายย่อย) ขั้นต่ำ 10,000 บาท (1,000 หน่วย) และเพิ่มทีละ 1,000 บาท (100 หน่วย) โดยจองซื้อผ่านผู้จัดจำหน่าย 8 ที่ (เท่านั้น) คือ

 

– บลจ. = KTAM, MFC

– แบงก์ = KBANK, BBL, BAY, KTB, SCB, GSB

 

18-20 ก.ย. 67 เปิดขายหน่วยลงทุน ให้นักลงทุนสถาบัน

 

25 ก.ย. 67 ทราบผลการจัดสรรหน่วยลงทุนแบบ Small Lot First (นับราย ID) เช็คได้ที่ www.settrade.com

 

1 ต.ค. 67 กองทุนเริ่มจัดสรรเงินลงทุน (ทยอยลงทุนตามความเหมาะสม)

 

7 ต.ค. 67 หน่วยลงทุน VAYU1 เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ (ตลาดรอง)

 

โดยหลังจากซื้อขายในกระดานตลาดหุ้นไทย ราคาขึ้นอาจมากกว่า-น้อยกว่า ราคาพาร์ (10 บาท) แต่…

 

– กองทุนฯ จะปรับ NAV ให้เป็น 10 บาทในทุกต้นปี (ตลอด 10 ปี) ถ้า NAV เกิน ส่วนเกินจะไปอยู่ที่ผู้ที่หน่วย กลุ่ม ข. ในทางตรงกันข้ามถ้า NAV ต่ำกว่า กลุ่ม ข. ก็จะแบกรับไป

– จ่ายเงินปันผล 3% จากราคาพาร์ (10 บาท)

– เมื่อครบ 10 ปีก็จะจ่ายคืนเงินต้นที่ราคาพาร์ (10 บาท)

โดยไม่สนว่าราคาในตลาดรองจะเป็นอย่างไร

 

“เกิดอะไรขึ้นหลังจากปีที่ 10 (2577)”

 

เมื่อใกล้ครบปีที่ 10 คณะกรรมการกองทุนฯ จะประชุมว่าจะบริหารกองทุนต่อหรือไม่, ปรับเงื่อนไขผลตอบแทนหรือไม่ (เดิมปันผล 3-9% ต่อปี), เพิ่มทุนหรือไม่

 

หมายเหตุ: เงินปันผล (3-9%) มีการหัก ณ ที่จ่าย 10% ตามปกติ

 

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats