×

Wealth Me Up ข่าวสั้น ทันเศรษฐกิจ

เปิดผลสำรวจ คนไทยพร้อมเกษียณแค่ไหน?

320

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย

Youtube | Facebook | TikTokInstagramLine 

 

ในขณะที่ประเทศไทยกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของโครงสร้างประชากรที่กำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยคาดการณ์ว่าในปี 2568 ไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ซึ่งหมายถึงการมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 20% ของประชากรทั้งหมด คำถามสำคัญคือ คนไทยมีการเตรียมตัวอย่างไรกับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้?

 

Wealth Me Up ร่วมกับ Crowdabout จัดทำผลสำรวจความพร้อมในการเกษียณของคนไทย โดยคุณพิชชาภา สุขวณิช CEO และ Co-Founder ของ Crowdabout ได้มาร่วมให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลสำรวจในครั้งนี้ในรายการลงทุนนิยม เกษียณสุข The Series

 

สำรวจพฤติกรรมการเกษียณของคนไทย

 

การศึกษาล่าสุดโดย Crowdabout ได้เปิดเผยข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับทัศนคติและการวางแผนเกษียณของคนไทย ผ่านการสำรวจกลุ่มตัวอย่างที่ครอบคลุมทั้งในเชิงภูมิศาสตร์และประชากรศาสตร์ โดยกลุ่มตัวอย่างจำนวน  2,200 คน ประกอบด้วย

 

  • กลุ่ม First Jobber (อายุ 22–25 ปี) จำนวน 390 คน
  • กลุ่ม Early Working (อายุ 26–35 ปี) จำนวน 982 คน
  • กลุ่ม Mid Working (อายุ 36–45 ปี) จำนวน 552 คน
  • กลุ่ม Late Working (อายุ 46 ปีขึ้นไป) จำนวน 309 คน

 

“การกระจายกลุ่มตัวอย่างให้ครอบคลุมทั้งกรุงเทพฯ ปริมณฑล และต่างจังหวัด รวมถึงความหลากหลายด้านการศึกษา ช่วยให้เห็นภาพรวมของทัศนคติต่อการเกษียณได้ชัดเจนขึ้น” คุณพิชชาภา กล่าว

 

ผลการสำรวจครั้งนี้ พบว่า 80% ของกลุ่มตัวอย่างจะสามารถระบุอายุเกษียณที่ต้องการได้ ส่วนอีก 20% ตอบว่าจะทำงานไปเรื่อยๆ จนกว่าจะทำงานไม่ไหว ซึ่งผู้ตอบส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่ม First Jobber และ Early Working  

 

คำตอบที่ได้ สะท้อนว่าทัศนคติต่อการเกษียณมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างช่วงวัย โดยคนรุ่นใหม่มีมุมมองต่อการทำงานและการเกษียณที่แตกต่างจากคนรุ่นก่อนอย่างชัดเจนเนื่องจากมีรูปแบบการใช้ชีวิตและความเชื่อที่แตกต่างกัน

 

นอกจากนี้ ยังสะท้อนให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของแนวคิดเรื่องการเกษียณในสังคมไทย โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มองว่าการทำงานเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิต มากกว่าจะเป็นเพียงช่วงเวลาที่ต้องจบลงด้วยการเกษียณอายุ ซึ่งอาจนำไปสู่ความท้าทายทางการเงินในระยะยาว เมื่อพิจารณาถึงค่าครองชีพที่สูงขึ้นและอายุขัยเฉลี่ยของคนไทยที่ยาวนานขึ้น

 

พฤติกรรมการออม “อายุมากขึ้น สัดส่วนการออมสูงขึ้น”

 

ผลสำรวจพบว่าแนวโน้มการออมจะเพิ่มขึ้นตามอายุ โดย 72% ของผู้ตอบแบบสอบถามทุกช่วงวัย ระบุว่าพวกเขามีสัดส่วนเงินออมและลงทุนเพื่อเกษียณเพิ่มสูงขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น

 

เมื่อวิเคราะห์รายละเอียดเกี่ยวกับพฤติกรรมการออม พบว่า 

57% เลือกออมผ่านบัญชีเงินฝากและสลากออมสิน 

8% เลือกออมผ่านการซื้อประกัน 

6% ลงทุนในกองทุนรวม 

 

ขณะเดียวที่ กลุ่มที่ไม่ออมเงินให้เหตุผลว่า

47.62% ต้องนำเงินไปชำระหนี้

27.62% มีค่าใช้จ่ายที่จำเป็นมากกว่าการออมเงิน

12.38% ไม่มีเป้าหมายในการออม

12.38% ต้องส่งเงินให้ครอบครัว

 

แนวโน้มดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าความสามารถในการออมเงินของแต่ละบุคคล ถูกกำหนดโดยภาระทางการเงินมากกว่าความตั้งใจในการออม อีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการออมคือ โครงสร้างค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันตามช่วงวัย ผลสำรวจระบุว่า

 

  • ค่าใช้จ่ายด้านการผ่อนบ้านเพิ่มสูงขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น
  • การใช้จ่ายเพื่อความบันเทิงลดลงตามอายุ
  • ค่าใช้จ่ายด้านการท่องเที่ยวมีแนวโน้มคงที่ในทุกช่วงวัย

 

บทสรุป แนวโน้มนี้สะท้อนให้เห็นว่า ผู้ที่มีอายุมากขึ้นเริ่มให้ความสำคัญกับความมั่นคงทางการเงินมากขึ้น ขณะที่วัยเริ่มทำงานเน้นใช้จ่ายเพื่อประสบการณ์และไลฟ์สไตล์มากกว่า

 

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats