×

Wealth Me Up ข่าวสั้น ทันเศรษฐกิจ

บทเรียนจากสงครามการค้าโลกจัดพอร์ตลงทุนแบบไหนให้รอด

167

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย

Youtube | Facebook | TikTokInstagramLine 

 

ตามคาด! เมื่อ Donald Trump ก้าวขึ้นเป็นประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาอีก 1 สมัย มาตรการกำแพงภาษีนำเข้าที่ถูกนำมาปัดฝุ่น จึงเป็นชนวนให้เกิดสงครามการค้าโลก หรือ Trade War อีกครั้ง

 

ปมความขัดแย้งรอบใหม่นี้ ไม่ได้มีแค่ระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีน เหมือนที่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แต่มันได้ทวีความรุนแรงกว่าเดิมจากการที่ Trump ประกาศ Reciprocal Tariff Act เพื่อกำหนดภาษีนำเข้า มีผลเมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2025 ที่ผ่านมา โดยมีภาษีพื้นฐาน 10% กับทุกประเทศ และภาษีเพิ่มเติมรายประเทศที่สหรัฐอเมริกานำเข้าจากประเทศนั้นๆ สูง

 

แน่นอนว่า จีนโดนรวมๆ 145% (ณ วันที่ 11 เม.ย. 2025) แล้ว และประเทศอื่นๆ ที่เป็นผู้ส่งออกสินค้ารายใหญ่ก็โดนกันถ้วนหน้า ไม่ว่าจะเป็นเวียดนาม ไทย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสหภาพยุโรป

 

เมื่อผู้นำโลกประกาศสงครามการค้าอย่างเป็นทางการ มันจึงสั่นสะเทือนต่อเศรษฐกิจในภาพใหญ่และตลาดการเงินการลงทุนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดัชนีตลาดหุ้นร่วงแรงทั่วโลก รวมไปถึงราคา Bitcoin ทองคำ และน้ำมัน ขณะที่ตลาดพันธบัตร ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะบอนด์ระยะยาว นำมาซึ่งราคาซื้อขายลดลงในตลาด 

 

บทเรียนจากอดีต ทั้งสงครามการค้าและ COVID-19

เมื่อย้อนกลับไปในช่วงสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน ช่วงปี 2018-2020 ตลาดหุ้นสหรัฐฯ เผชิญกับความผันผวนอย่างมาก ดัชนี S&P 500 ลดลง 6% ในปี 2561 แต่ฟื้นตัวขึ้น 31.5% ในปี 2519 หลังจากมีการเจรจาและบรรลุข้อตกลงบางส่วน ​

 

ช่วงการระบาดของ COVID-19 ในปี 2020 ตลาดหุ้นทั่วโลกร่วงลงอย่างรวดเร็ว ดัชนี S&P 500 ลดลงจาก 3,386.1 จุด ในวันที่ 19 ก.พ. 2020 เหลือ 2,237.4 จุด ในวันที่ 23 มี.ค. 2020 ลดลงกว่า 33.9% อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วภายในระยะเวลา 5 เดือน หลังจากมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากธนาคารกลางสหรัฐฯ​ (Fed)

 

มองข้ามช็อต สงครามการค้ารอบนี้ สั่นคลอนการลงทุนแค่ไหน?

 

ลองคิดว่า เมื่อ 7 ปีก่อนสหรัฐอเมริกาเดินเกมกับจีนแบบไหน ก็พอจะคาดเดาได้ว่า ความขัดแย้งนี้ Trump วางเดิมพันไว้สูงกว่าเติม แต่พร้อมเจรจา ขึ้นอยู่กับว่า แต่ละประเทศจะยอมคุยต่อรองหรือจะขึ้นภาษีนำเข้าสู้กลับ  

 

ไม่ว่าจะออกหัวหรือก้อย การค้า เศรษฐกิจ และการลงทุนทั่วโลก กำลังอยู่ในภาวะขาลงหรือผันผวน ในช่วงเวลานี้อย่างหลีกเลียงไม่ได้ นักเศรษฐศาสตร์มองไว้ 2 Scenario ในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้ คือ 

 

1. เศรษฐกิจทั่วโลกได้รับผลกระทบ GDP ขยายตัวลง จากการค้าโลกที่ชะลอตัว ความเสี่ยงภาวะเศรษฐกิจถดถอยเต็มรูปแบบ (Full Recession) ยังไม่ชัดเจนมากนัก 

 

2. แต่มีประเมินไปไกลกว่านั้นว่า ภาวะเศรษฐกิจถดถอยยังมีโอกาสเกิดได้สูง เพราะในภาพรวมตลาดยังประเมินผลกระทบสงครามการค้ารอบนี้ต่ำเกินไป การถดถอยจะเริ่มจากประเทศเศรษฐกิจใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และประเทศอื่นๆ ตามมา

 

Goldman Sachs และ Moody’s Analytics มองไปในทางเดียวกันว่า โอกาสเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยเพิ่มขึ้นเป็น 45% (จากเดิม 35%) ส่วน JPMorgan เพิ่มเยอะกว่าเป็น 60% (จากเดิม 40%)

 

ส่วนภาวะ Great Depression ที่โลกของเราประสบพบเจอมาแล้วเมื่อ 96 ปีก่อน หรือในปี 1929 ซึ่งเกิดจากการขึ้นภาษีนำเขาจากสหรัฐอเมริกาเหมือนกัน และเป็นชนวนให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 มันจะเกิดขึ้นอีกไหม คงต้องรอดูต่อไป

 

กลยุทธ์ไหนรอด สินทรัพย์ไหนปลอดภัย?

 

1. กระจายลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลาย ในช่วงที่ตลาดส่วนใหญ่ผันผวน อาจจะให้น้ำหนักการลงทุนในพันธบัตรและทองคำมากกว่า ส่วนสัดส่วนของหุ้นและคริปโทเคอร์เรนซีลดลงมา บาลานซ์ความเสี่ยงจากการลงทุนในสินทรัพย์ใดสินทรัพย์หนึ่งมากเกินไป​ เช่น

 

  • เดิมลงทุนในหุ้น (รวมทั้งคริปโทเคอร์เรนซี) ประมาณ 60-80% ลดสัดส่วนลงมาเหลือ 50% ในระยะแรกของความไม่แน่นอน หรือชะลอลงทุนไปสักระยะก็ได้

 

  • เพิ่มสัดส่วนพันธบัตรและทองคำให้ถึง 50% หรือมากกว่านั้น หากทิศทางดอกเบี้ยมีแนวโน้มขาลงตามเศรษฐกิจที่ชะลอตัวไปจนถึงถดถอย สามารถเพิ่มสัดส่วนพันธบัตรระยะยาว (3 ปีขึ้นไป) มากกว่าระยะสั้น (1-3 ปี) 

 

2. ลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำ เพราะเป็นสินทรัพย์ที่มักจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นในช่วงที่ตลาดมีความไม่แน่นอน 

 

3. ​ลงทุนในหุ้นกลุ่ม Defensive ธุรกิจที่มีความมั่นคงและได้รับผลกระทบน้อยจากภาวะเศรษฐกิจขาลง เช่น สาธารณูปโภค (Utilities) สินค้าอุปโภคบริโภคพื้นฐาน (Consumer Staples)​ สาธารณสุข (Healthcare) ค้าปลีก (Retail) บริการสื่อสาร (Communication Services) และเทคโนโลยี (Technology)

 

4. สกุลเงินดิจิทัลอย่าง Bitcoin แม้ว่าจะมีราคาผันผวนสูงมาก แต่ก็ได้รับความสนใจในฐานะสินทรัพย์ทางเลือก หรืออาจจะกระจายในคริปโทเคอร์เรนซีมาร์เก็ตแคปใหญ่ๆ อย่าง Ethereum, Tether, Solana และ Ripple ได้เช่นกัน  

 

5. ETF (Exchange traded fund) เป็นอีกทางเลือกในการปรับพอร์ต เพราะเป็นกองที่กระจายลงทุนในหลายสินทรัพย์ หลายอุตสาหกรรม และหลายความเสี่ยง บริหารต้นทุนแทนการลงทุนในหุ้นรายบริษัท หรือถือครองพันธบัตร ก็ทำได้ไม่เยอะเท่า ETF

 

6. กลยุทธ์ DCA (Dollar-cost averaging) ลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน ด้วยจำนวนเงินที่เท่ากันในช่วงเวลาที่กำหนด จะช่วยลดความเสี่ยงจากความผันผวนของตลาด​

 

เราปฏิเสธไม่ได้ว่า สงครามการค้ารอบนี้มีผลกระทบทั่วโลกอย่างแน่นอน พอร์ตลงทุนที่มีอยู่ยอมขาดทุนและผันผวนไปตามราคาขึ้นๆ ลงๆ สิ่งที่นักลงทุนสามารถทำได้ คือ การเรียนรู้จากอดีต ดูทิศทางราคาสินทรัพย์ในสถานการณ์คล้ายๆ กัน เพื่อวางแผนการลงทุนอย่างรอบคอบในช่วงเวลานี้ 

 

เพราะความไม่แน่นอนเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ศึกษาพื้นฐานแต่ละสินทรัพย์ให้ดี แล้วจะไม่ตระหนกตกใจ รับมือได้ แม้วิกฤตมาเยือน อย่าลืมนึกถึงความเสี่ยงและผลขาดทุนที่ยอมรับได้

 

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats