ไต้หวัน...เรียนให้เป็นเรื่อง(เรียน)
ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…
Facebook | Line | Youtube | Instagram
ปฏิรูปการเรียนคณิตศาสตร์อย่างจริงจัง
ความเก่งด้านคณิตศาสตร์ของเด็กไต้หวันเกิดจากการปฏิรูปการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ปี 2539 ทำให้เกิดหลักสูตร The New Elementary Mathematics Curriculum ที่มีเป้าหมายว่า นักเรียนจะต้องใช้คณิตศาสตร์มาแก้ปัญหาในชีวิตจริงได้ เปิดกว้างให้นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ในการหาวิธีแก้โจทย์ปัญหา เพราะโจทย์เดียวกันอาจมีวิธีแก้ได้หลายวิธี
เรียนรู้ผ่านการเล่น
เด็กไต้หวันจะได้เรียนรู้ผ่านการเล่น เพราะเชื่อว่าเมื่อเด็กรู้สึกสนุก็อยากจะเกิดความอยากรู้อยากเห็น และอยากเรียนรู้ในสิ่งที่ตัวเองสนใจมากขึ้น ในช่วงอนุบาลจะไม่เน้นด้านวิชาการ แต่จะให้เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่น จากนั้นในช่วงประถม 1-2 เด็กจะเรียนหนังสือครึ่งวัน ส่วนอีกครึ่งวันจะไปทำกิจกรรมเสริมทักษะด้านอื่นๆ และจะเริ่มจริงจังกับด้านวิชาการตั้งแต่ชั้นประถมปีที่ 3 เป็นต้นไป
ห้องเรียนแบบ Active Learning
ไต้หวันได้นำการเรียนการสอนสไตล์ตะวันตกมาปรับใช้ ครูจะเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับเพื่อนในห้อง โดยการเรียนระดับปริญญาตรี-เอก จะเน้นให้นักศึกษาทำงานเป็นกลุ่มและแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง
ปรับหลักสูตรการศึกษาให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
นอกจากนโยบายการศึกษาจากส่วนกลางแล้ว รัฐบาลท้องถิ่นของไต้หวันยังสามารถกำหนดแผนการศึกษาของโรงเรียนในพื้นที่ได้เอง โดยเพิ่มวิชาที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่น เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับรากเหง้าความเป็นมาของชุมชน และนำความรู้ดังกล่าวไปผสมผสานกับความรู้ใหม่เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป นอกจากนี้ ในระดับปริญญาตรีจะส่งเสริมให้นักศึกษาลงพื้นที่เพื่อนำองค์ความรู้จากชุมชนมาต่อยอดเพื่อร่วมกันพัฒนาชุมชนด้วย ส่วนมหาวิทยาลัยก็มีการปรับหลักสูตรอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างคนให้เหมาะสมกับการทำงานในอนาคต
อาชีพในฝันเป็น “นายตัวเอง”
น่าจะคล้ายกับคนรุ่นใหม่ยุคนี้ ที่ต้องการเป็นนายตัวเอง ไม่อยากทำงานกินเงินเดือนอีกต่อไป ซึ่งหนุ่มสาวชาวไต้หวันก็เหมือนกัน เพราะตอนนี้ อาชีพในฝันอันดับแรกของคนที่นั่นก็คือ การเป็นเจ้าของธุรกิจ และรองลงมาคือ การทำเกษตรสมัยใหม่ ซึ่งการเรียนการสอนของไต้หวันก็มีส่วนในการหล่อหลอมและเตรียมความพร้อมให้คนรุ่นใหม่ก้าวไปเป็นผู้ประกอบการนักธุรกิจได้ดีมากขึ้น