×

Wealth Me Up ให้เงินทำงาน

วิธีจัดการ "PVD" เมื่อว่างงาน

5,289

 

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

คงเอาไว้กับนายจ้างเก่า

 

แนะนำว่าถึงแม้ว่าจะถูกเลิกจ้าง แต่ก็สามารถคงเงินเอาไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกับนายจ้างเก่าต่อไปได้ โดยเงินที่คงไว้จะได้รับผลประโยชน์จากการลงทุนต่อไป เพียงแต่จะไม่ได้เงินสมทบจากนายจ้างเก่านับจากวันที่พ้นสภาพการเป็นพนักงาน และเสียค่าธรรมเนียมการคงเงินไว้ที่ 500 บาทต่อปี

 

โอนไปที่ใหม่เมื่อได้งาน

 

เมื่อถูกเลิกจ้างและตัดสินใจคงเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไว้กับนายจ้างเก่า แต่เมื่อได้งานใหม่และนายจ้างใหม่ก็มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ก็ควรโอนไปอยู่กับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของนายจ้างใหม่

 

วิธีการนี้จะทำให้คงสิทธิประโยชน์ทางภาษีของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต่อไป และไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการคงเงิน ที่สำคัญยังนับอายุการเป็นสมาชิกกองทุนนี้ต่อเนื่องไปได้

 

โอนไปกองทุนรวมRMF

 

หากนายจ้างเลิกกิจการ หรือถูกเลิกจ้างและตัดสินใจทำงานเป็นฟรีแลนซ์ ทางเลือกที่ดีที่สุด คือ โอนย้ายเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) นอกจากจะยังคงสิทธิประโยชน์ทางภาษีของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้ว ยังช่วยให้เงินยังคงลงทุนต่อไป และทำให้บรรลุเป้าหมายการวางแผนเพื่อเกษียณได้ด้วย

 

ขอรับเป็นงวดๆ กรณีใกล้เกษียณ

 

ผู้ที่จะเกษียณในปีนี้ หากไม่มีความจำเป็นต้องใช้เงินหรือยังไม่มีแผนการจะนำเงินไปลงทุนในช่อง ทางอื่นๆ ควรคงเงินไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต่อไป เพื่อให้เงินลงทุนและสร้างผลตอบแทนอย่างต่อเนื่อง และหากต้องการใช้เงิน ก็ควรขอรับเงินเป็นงวดออกไปใช้เท่าที่จำเป็น เพราะการรับเงินเป็นงวด ก็ยังคงสถานะสมาชิกกองทุนอยู่เช่นเดิม (สามารถขอคำแนะนำและรายละเอียดเพิ่มเติมจากคณะกรรมการกองทุน)

 

ผู้ที่เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะได้รับสิทธิประโยชน์มากมาย ดังนั้น หากไม่จำเป็นก็ไม่ควรลาออกและถอนเงินออกไปใช้ ที่สำคัญกองทุนนี้ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้มนุษย์เงินเดือน สามารถบรรลุเป้าหมายการวางแผนการเงินเพื่อเกษียณได้ง่ายขึ้น

 

 

#WealthMeUp

 

ที่มาข้อมูล : https://www.set.or.th/set/education/knowledgedetail.do?contentId=7077&type=article

Related Stories

amazon anti fatigue mats