×

Wealth Me Up ให้เงินทำงาน

วางแผนภาษี YouTuber

3,750

 

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

Youtuber จัดได้ว่าเป็นอาชีพที่คนรุ่นใหม่ให้ความสนใจกันมาก เพราะเป็นอาชีพที่ไม่ต้องลงทุนสูง อาศัยความรู้ความสามารถของตนเองเป็นสำคัญ แต่เนื่องจากอาชีพ youtuber เป็นอาชีพใหม่ที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับโลก online ทำให้หลายๆคนสงสัยว่าอาชีพนี้ต้องเสียภาษีหรือไม่ วันนี้จะมาเคลียร์ข้อสงสัยเหล่านี้กัน

 

แล้วใครบ้างมีหน้าที่เสียภาษี สรรพากรกำหนดให้บุคคลธรรมดาดังต่อไปนี้มีหน้าที่ต้องเสียภาษี ได้แก่ บุคคลทุกคนเมื่อมีเงินได้ตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด, ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี, กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง, ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล และ วิสาหกิจชุมชน ดังนั้น youtuber จึงต้องเสียภาษีแน่นอน ส่วนจะเสียภาษีแบบไหนก็ขึ้นอยู่กับว่ารายได้ของ youtuber เป็นแบบไหน

 

เนื่องจาก Youtuber ทำงานเป็นอิสระ ลักษณะเงินได้จึงเข้าข่ายอยู่ 2 มาตรา คือ 40(2) และ 40(8) ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน ดังนี้

 

  • เงินได้พึงประเมิน มาตรา 40(2)

 

ลักษณะงานที่ทำมีค่าใช้จ่ายจำนวนเงินน้อย

 

ไม่การจัดตั้งเป็นสำนักงานในการประกอบกิจการ

 

การลงทุนต้องอาศัยแรงงานเป็นปัจจัยสำคัญในอันที่จะก่อให้เกิดเงินได้

 

ไม่มีการจ้างลูกจ้างหรือพนักงาน

 

  • เงินได้พึงประเมิน มาตรา 40(8)

 

ลักษณะงานมีค่าใช้จ่ายจำนวนเงินสูง

 

มีการจัดตั้งเป็นสำนักงานในการประกอบกิจการ

 

การลงทุนมีการจัดหาเครื่องมือเครื่องใช้ และมีค่าใช้จ่ายสำนักงาน

 

มีการจ้างลูกจ้างหรือพนักงาน

 

ข้อเสียของ 40(2) คือ หักค่าใช้จ่ายได้ 50% ไม่เกิน 100,000 บาท ทำให้ส่วน 40(8) หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60% ของรายได้ หรือหักจ่ายตามจริงก็ได้

 

จากการคิดภาษีของไทยจะคิดจากเงินได้สุทธิ ซึ่งมาจาก เงินได้พึงประเมิน – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน ดังนั้น หากรายได้ youtuber เข้าลักษณะ 40(2) ก็จะมีโอกาสเสียภาษีมากกว่า รายได้ที่เข้าลักษณะ 40(8) เหตุผลเพราะสามารถหักค่าใช้จ่ายได้มากกว่านั้นเอง

 

จากลักษณะที่แตกต่างดังกล่าว เราก็สามารถวิเคราะห์รายได้ของ youtuber ซึ่งสามารถแบ่งได้คร่าวๆเป็น 4 อย่าง ดังนี้

 

  • รายได้จากส่วนแบ่งค่าโฆษณาที่ YouTube นำมาแปะบน Clip ของ Youtuber

 

โดย YouTube จ่ายเข้าบัญชี Google AdSense ของ Youtuber โดยตรง รายได้นี้ถือเป็นเงินได้มาตรา 40 (8)  หักค่าใช้จ่ายได้ตามจริงเท่านั้น (หักอัตราเหมาไม่ได้) และเนื่องจากไม่เข้าลักษณะเป็นรายได้จากการสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพ จึงไม่อยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

 

  • รายได้จากการรับจ้างรีวิวสินค้า (Sponsor Review) เป็นรายได้ทำนองรับจ้างทำงานให้

 

ถ้าทำคนเดียว อาศัยแรงงานเป็นปัจจัยสำคัญ ถือเป็น 40(2) หักค่าใช้จ่ายได้ 50% ไม่เกิน 100,000 บาท

 

ถ้าทำเป็นรูปธุรกิจ มีสำนักงาน มีค่าใช้จ่ายสำนักงาน มีการจ้างพนักงาน มีการลงทุน เป็น 40(8) หักค่าใช้จ่ายตามจริง

 

  • รายได้จากการถูกจ้างให้ออก Event

 

ถ้าทำคนเดียว อาศัยแรงงานเป็นปัจจัยสำคัญ ถือเป็น 40(2) หักค่าใช้จ่ายได้ 50% ไม่เกิน 100,000 บาท

 

ถ้าทำเป็นรูปธุรกิจ มีสำนักงาน มีค่าใช้จ่ายสำนักงาน มีการจ้างพนักงาน มีการลงทุน เป็น 40(8) หักค่าใช้จ่ายตามจริง

 

ถ้าออก event ในลักษณะ นักร้อง นักแสดง ถือเป็น 40(8) หักค่าใช้จ่ายตามจริง หรือ แบบเหมา 40-60% ไม่เกิน 600,000 บาท

 

  • ได้จากการขายสินค้าและบริการ

 

เป็น 40(8) หักค่าใช้จ่ายตามจริง หรือ แบบเหมา 60% ส่วนรายได้ข้อ 2-4 เป็นรายได้จากการขายสินค้าและบริการ หากเกิน 1.8 ล้านบาท/ปีภาษี ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

 

นอกจากการวางแผนภาษีด้วยการปรับปรุงรายได้ให้เข้ามาตรา 40(8) เพื่อประโยชน์ในการหักค่าใช้จ่ายได้มากขึ้นแล้ว จากสมการเงินได้สุทธิ  = เงินได้พึงประเมิน – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน ดังนั้นเพื่อให้เงินได้สุทธิต่ำให้มากที่สุด เพื่อจะได้เสียภาษีน้อยที่สุดยังมีอีกวิธี คือ การใช้สิทธิค่าลดหย่อน ซึ่งมีค่าลดหย่อนหลายตัวที่ควรใช้อย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็น ค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต ค่าลดหย่อนค่าซื้อ RMF, SSF, ประกันบำนาญ ฯลฯ เพราะนอกจากจะช่วยประหยัดภาษีแล้ว เรายังได้ผลตอบแทนหรือผลประโยชน์จากเงินออมของเราด้วย และหากทำตามเงื่อนไขของสรรพากรผลประโยชน์หรือผลตอบแทนเหล่านั้นจะได้รับยกเว้นภาษีอีกต่างหาก

 

 

#WealthMeUp

 

Related Stories

amazon anti fatigue mats