×

Wealth Me Up ให้เงินทำงาน

1O อันดับค่าตอบแทนผู้บริหารสำคัญ บลจ.

16,449

 

หากพูดถึงสายอาชีพวงการตลาดเงิน ตลาดทุน ดูเหมือนว่าวงการบริษัทจัดการลงทุน (บลจ.) ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดหรือออกสื่อไม่ค่อยเยอะมากนักเมื่อเทียบกับวงการแบงก์ โบรกเกอร์ หรือแม้แต่บริษัทจดทะเบียน

โดย 3 วงการหลังจะได้ยินได้ฟังเรื่องราวทุกวัน และวันละหลายๆ รอบ อันเนื่องมาจากธุรกรรมมีความใกล้ชิด สนิทสนมกับคนในวงกว้าง เช่น คนไทยแทบทุกคนต้องมีบัญชีธนาคาร ไม่แบงก์ใดก็แบงก์หนึ่ง หรือบางคนมีบัญชีมากกว่า 1 บัญชี หรือถ้าพูดถึงเรื่องการลงทุน ปฏิเสธไม่ได้ว่าคนไทยรู้จัก “หุ้น” มากกว่า “กองทุนรวม”

เก่ง | มืออาชีพ | ซื่อสัตย์ | ทำงานหนัก

หากพูดถึงความรับผิดชอบของสายงานอาชีพ บลจ. ถือได้ว่าอยู่ในระดับสูง เพราะต้องดูแลเงินลงทุนของลูกค้า (ผู้ลงทุน) (อ่านเพิ่มเติม: ใครคือ ผู้จัดการกองทุน?) ที่มอบความไว้วางใจให้บริหารงานว่าจะได้รับผลตอบในระดับน่าประทับใจ และไม่ต้องการเห็นเงินของตัวเองขาดทุน ดังนั้น ภาพของคนสายอาชีพ บลจ. ในสายตาคนข้างนอก หนีไม่พ้น “เก่ง” “มืออาชีพ” “ซื่อสัตย์” และ “ทำงานหนัก”

เมื่อคนสายอาชีพวงการ บลจ. ต้องรับผิดชอบสูงและงานอันหนักอึ้ง มีคำถามตามมาว่ารายได้ เช่น “เงินเดือน” “โบนัส” สูงมากน้อยแค่ไหน เพราะที่ผ่านมาจะเห็นแต่รายได้ของผู้บริหารฝั่งโบรกเกอร์และบริษัทจดทะเบียนที่ถูกรายงานออกมาให้ได้เห็น

ค่าตอบแทนผู้บริหารสำคัญของกิจการ

สำหรับข้อมูลรายได้ของผู้บริหาร บลจ. เปิดเผยในรายงานประจำปีในส่วน “ค่าตอบแทนผู้บริหารสำคัญของกิจการ” ซึ่งค่าตอบแทน หมายถึง ผลตอบแทนทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงินที่จ่ายให้กับกรรมการผู้จัดการและผู้บริหารสำคัญ ได้แก่ เงินเดือน โบนัส เงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และผลประโยชน์อื่น (โดยแต่ละบลจ. และ/หรือ ผู้สอบบัญชี อาจให้คำนิยามตำแหน่งผู้บริหารไม่ตรงกัน รวมทั้งบางแห่งอาจมีการใช้ผู้บริหารหรือกรรมการจากบริษัทแม่ซึ่งไม่ได้รวมเงินเดือนหรือผลประโยชน์อย่างอื่นจากที่บริษัทแม่เป็นผู้จ่ายแทน หรือเรียกเก็บจากวิธีการอื่น)

แต่จากข้อมูลที่มีอยู่พบว่าในปี 2559 บลจ.ยูโอบี (ประเทศไทย) จ่ายค่าตอบแทนให้ผู้บริหารสำคัญสำคัญสูงสุด รองลงมา ได้แก่ บลจ.บัวหลวง และ บลจ.เอ็มเอฟซี ตามลำดับ (พิจารณาตาราง)

 

#WealthMeUp

 

กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

Related Stories

amazon anti fatigue mats