×

Wealth Me Up ให้เงินทำงาน

3 เคล็ดลับ ‘อุดรูรั่วค่าใช้จ่าย’ เพื่อเงินหลักล้าน!

2,489

 

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

รายได้มากขึ้นทุกปี แต่ทำไม “เงินเก็บ” ไม่ได้งอกเงยตามไปด้วย บางเดือนก็ใช้แทบจะเดือนชนเดือนเลยทีเดียว

 

อยากปลดล็อกปัญหานี้ได้ตลอดชีวิต ไม่ใช่เรื่องยาก แค่แบ่งเวลาวันละนิด และเป็นคนใส่ใจรายละเอียดให้มากขึ้น ก็จะทำให้รู้แล้วว่า รายได้ที่หามาอย่างยากเย็นนั้น ไปอยู่ตรงไหนบ้าง

 

คนที่ประสบความสำเร็จทางการเงินส่วนใหญ่ คือ คนที่รู้ว่า ตัวเองใช้เงินแต่ละบาทแต่ละสตางค์ไปกับอะไรบ้างในแต่ละเดือน เมื่อรู้ว่า “เงินไปไหน” คราวนี้ก็จะตัดสินใจได้ว่า สิ่งที่เราจ่ายเงินซื้อมานั้น “คุ้ม” หรือไม่? และเราควรจะเสียเงินกับสิ่งๆ นั้นต่อไปดีหรือไม่ เช่น เป็นคนชอบดูซีรีส์มากๆ เลยสมัครสมาชิกแพลตฟอร์มสำหรับดูหนังดูซีรีส์ไว้ 3-4 ที่ แต่ละเดือนต้องจ่ายเงินไปเกือบพันบาท คุ้มหรือไม่? จำเป็นแค่ไหนที่ต้องมีหลายแพลตฟอร์ม? หรือบางคนซื้อเสื้อผ้าใหม่ทุกเดือน เห็น Collection ใหม่ๆ อดใจไม่ไหว ซื้อตลอด แต่จริงๆ แล้วก็ใส่แต่เสื้อผ้าตัวเดิมๆ ถ้าเป็นเช่นนี้พอจะลดได้หรือไม่?

 

ถ้าเป็นคนที่ไม่ได้ทำบัญชีค่าใช้จ่ายของตัวเองเป็นประจำ จะไม่รู้เลยว่า “เงิน” ที่หามาได้ ใช้จ่ายไปกับอะไรบ้าง รู้ตัวอีกที เงินเดือนเกือบหมดบัญชีแล้ว และถ้าไม่ใช่คนที่ทำบัญชีรายจ่ายเป็นประจำ ก็เป็นไปไม่ได้เลยที่จะรู้ว่า จะต้องทำอย่างไร และจะหาเงินเก็บจากตรงไหนได้บ้าง ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ยากเลย และนี่คือ 3 วิธีง่ายๆ เพื่ออุดรูรั่วค่าใช้จ่าย และทำให้เรามีเงินเก็บให้กับตัวเองได้

 

จดบันทึกค่าใช้จ่าย

 

ซึ่งบางคนอาจจะเลือกจดและบวกเลขเอง หรืออาจจดใส่โปรแกรม Excel เพื่อสามารถคำนวณรายจ่ายได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ก็ยังมีแอปพลิเคชันให้เลือกใช้ฟรีทั้งระบบปฏิบัติการ iOS  และ Android เช่น Money Lover, MeTang (มีตังค์), Lumpsum, Spendee, Oh My Cost ที่ช่วยให้เก็บข้อมูลรายจ่ายได้แสนสะดวก

 

เก็บข้อมูลค่าใช้จ่ายเป็นเวลา 3-6 เดือน

 

เมื่อเลือกวิธีและเครื่องมือที่ต้องการได้แล้ว ให้เก็บข้อมูลรายละเอียดการใช้จ่ายของตัวเองเป็นเวลา 3-6 เดือน เพื่อดูว่า เราใช้จ่ายเงินไปกับอะไรบ้าง ไม่ต้องรีบปรับเปลี่ยนอะไรทันที เพียงแค่เก็บข้อมูลไว้ก่อน

 

แจกแจงค่าใช้จ่าย เพื่อตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น

 

เมื่อเก็บข้อมูลรายจ่ายของตัวเองได้นานแล้ว ก็ถึงเวลาเอาข้อมูลมาแจกแจงว่า เรามีรายจ่ายกับอะไรสูงที่สุด และตัดสินใจดูว่า เป็นรายจ่ายที่จำเป็นและสอดคล้องกับเป้าหมายในชีวิตของเราหรือไม่ ถ้าไม่ใช่ก็ “ตัดเลย!”

 

จะเห็นได้ว่า แค่เปลี่ยนตัวเองทีละนิด ใส่ใจในรายละเอียดเรื่องรายจ่ายขึ้นอีกหน่อย รู้จักคิดวิเคราะห์ ก็จะรู้ “ที่ไป” ของเงิน และถ้ารู้ว่าไม่จะเป็นต้องใช้เงินไปกับสิ่งของเหล่านั้น เราก็เลือกเอาเงินก้อนนั้น มาเป็น “เงินเก็บ” ได้อย่างสบายๆ

 

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats