เงินเดือนเท่านี้ ขอคืนภาษีได้เท่าไหร่?
ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…
Facebook | Line | Youtube | Instagram
เคยรู้ไหมว่าเงินเดือนแต่ละคน ถูก HR หักภาษีไปกันเท่าไร แล้วแต่ละคนสามารถใช้สิทธิลดหย่อนเพื่อขอคืนภาษีได้แค่ไหน
“ภาษีเงินได้” ที่ต้องจ่ายในแต่ละปี มีวิธีลดหรือขอคืนได้ อยู่ที่ว่าแต่ละคนเลือกใช้วิธีไหนและสามารถใช้สิทธิได้มากเพียงใด
เงินเดือนที่ได้ ต้องจ่ายภาษีเท่าไร
พนักงานเอกชนที่รายได้เฉลี่ยประมาณเดือนละ 26,000 บาทขึ้นไป จะอยู่ในเกณฑ์ต้องเริ่มเสียภาษี และยิ่งรายได้สูงขึ้น ภาษีที่ต้องเสียก็ยิ่งสูงตาม เช่น
โดยภาษีที่ HR หักจากรายได้แต่ละเดือน มักคำนวณจากเงินที่พนักงานได้รับจากบริษัท ค่าใช้จ่ายตามกฎหมาย ซึ่งสูงสุดอยู่ที่ 100,000 บาท ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท และค่าลดหย่อนประกันสังคมซึ่งปี 65 จ่ายสูงสุด 6,300 บาท หากพนักงานไม่มีเงินโบนัสและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ภาษีที่ถูก HR หักไว้แต่ละเดือน จะเป็นไปตามตารางข้างต้น ส่วนผู้ที่ทำอาชีพอื่นหรือมีรายได้รูปแบบอื่น ภาษีที่คำนวณได้จะต่างออกไป
ตัวช่วยขอคืนภาษี มีอะไรบ้าง
คนทั่วไปอาจมีค่าลดหย่อนที่เกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจ แต่สามารถใช้ลดหย่อนเพื่อขอคืนภาษีบางส่วนที่ถูกหักไปได้ เช่น
- ดอกเบี้ยบ้าน ตามที่จ่ายจริงทั้งปี (ไม่ใช่ยอดผ่อนรวม) ใช้สิทธิได้สูงสุด 100,000 บาท
- บุตร โดยมีเงื่อนไขดังนี้
- อายุไม่เกิน 20 ปี/ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
- อายุ 20-25 ปี เรียนอยู่ระดับอนุปริญญา หรือปริญญาตรีขึ้นไป
- อายุเท่าไหร่ก็ได้ แต่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้หรือเสมือนไร้ความความสามารถ
- โดยบุตรที่มีรายได้ไม่ถึง 30,000 บาทต่อปี ลดหย่อนได้ 30,000 บาท ต่อบุตร 1 คน
- บิดา และ/หรือ มารดา ที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และรายได้ไม่ถึง 30,000 บาทต่อปี ลดหย่อนได้ 30,000 บาท ต่อบิดาหรือมารดา 1 คน ในกรณีมีพี่น้องไม่สามารถใช้สิทธิซ้ำซ้อนได้
เช่น ผู้ที่มีบิดา มารดา และบุตร 1 คน ที่อยู่ในเกณฑ์ใช้สิทธิได้ (รวมค่าลดหย่อน 90,000 บาท) คนเงินเดือน 40,000 บาท ขอคืนภาษีได้ 5,185 บาท ส่วนคนเงินเดือน 60,000 บาท ขอคืนภาษีได้ 11,685 บาท เป็นต้น
ทางเลือกเก็บออม แถมมีภาษีคืน
กองทุน SSF/RMF ประกันชีวิต และประกันบำนาญ ซึ่งเป็นแหล่งเงินออมทางเลือกที่สามารถใช้ขอคืนภาษีได้ โดยแต่ละทางเลือกมีเงื่อนไขที่ต้องรู้ และเหมาะกับคนที่ต่างกัน ได้แก่
- กองทุน SSF
-
- ลงทุนได้ไม่เกิน 30% ของเงินพึงประเมินทั้งปีที่เสียภาษี สูงสุดปีละ 200,000 บาท
- ไม่มีขั้นต่ำในการลงทุนแต่ละครั้ง และไม่ต้องลงทุนต่อเนื่องก็ได้
- หน่วยลงทุนที่ลงทุนแต่ละครั้ง ต้องถืออย่างน้อย 10 ปีเต็ม (วันชนวัน)
- อาจมีนโยบายจ่ายเงินปันผล ขึ้นกับแต่ละกองทุน
- เหมาะกับผู้ที่รับความเสี่ยงจากลงทุนได้บ้าง อายุน้อยกว่า 45 ปี
- กองทุน RMF
- ลงทุนได้ไม่เกิน 30% ของเงินพึงประเมินทั้งปีที่เสียภาษี สูงสุดปีละ 500,000 บาท
- ไม่มีขั้นต่ำในการลงทุนแต่ละครั้ง แต่ต้องลงทุนต่อเนื่องอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งทุกปี ถึงอายุ 55 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และต้องไม่น้อยกว่า 5 ปีเต็มด้วย
- ทุกกองทุน ไม่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล
- เหมาะกับผู้ที่รับความเสี่ยงจากลงทุนได้บ้าง อายุมากกว่า 45 ปี หรือต้องการเก็บเงินเพื่อยามเกษียณ
- ประกันชีวิต
-
- ใช้สิทธิได้ตามเบี้ยที่จ่ายจริงทั้งปี แต่ไม่เกิน 100,000 บาท (รวมกับสิทธิเบี้ยประกันสุขภาพ 25,000 บาท)
- ต้องเป็นแบบประกันที่มีระยะเวลาคุ้มครองหรือครบสัญญา 10 ปีขึ้นไป
- เงื่อนไขการจ่ายเบี้ยและเงินคืน ขึ้นอยู่กับแบบประกัน
- เหมาะกับผู้ที่ต้องการเงินคืนที่แน่นอนตามสัญญา หรือต้องการทุนประกันชีวิตให้กับคนในครอบครัว
- ประกันบำนาญ
-
- ใช้สิทธิได้ตามเบี้ยที่จ่ายจริงทั้งปี แต่ไม่เกิน 15% ของเงินพึงประเมินทั้งปีที่เสียภาษี สูงสุดปีละ 200,000 บาท
- เหมาะกับผู้ที่ต้องการเงินคืนที่แน่นอนตามสัญญา หรือต้องการรายได้สม่ำเสมอหลังเกษียณ
ในแต่ละปีใช้สิทธิลดหย่อนภาษีใน “SSF + RMF + ประกันบำนาญ + PVD + กบข. + กอช. + กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน” รวมกันได้ไม่เกิน 500,000 บาท
คนรายได้ที่ต่างกัน สามารถใช้สิทธิสูงสุดในแต่ละทางเลือกและได้เงินคืนภาษีต่างกัน เช่น
แต่ละคนอาจไม่จำเป็นต้องใช้สิทธิสูงสุดครบทุกทางเลือกก็สามารถขอคืนภาษีทั้งหมดที่ถูกหักไปได้ เช่น คนเงินเดือน 30,000 บาท มีเงินได้สุทธิก่อนวางแผน 193,700 บาท หากเลือกลงทุนกองทุน SSF 43,700 บาท เงินได้สุทธิหลังวางแผนจะอยู่ที่ 150,000 บาท (193,700 บาท – 43,700 บาท) ซึ่งไม่อยู่ในเกณฑ์เสียภาษีแล้ว
ภาษี สิ่งที่ผู้มีเงินได้ทุกคนมีหน้าที่ต้องจ่าย แต่ก็สามารถวางแผนเพื่อลดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ได้ ด้วยการวางแผนเก็บออมในทางเลือกที่เหมาะสมกับตนเอง