×

Wealth Me Up ให้เงินทำงาน

ภาษาบ้านๆ ที่ควรรู้

2,625

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

วันนี้ Wealth Me Up ชวนมาเปิดคลังคำศัพท์ 6 คำเรื่องบ้านที่ควรรู้ แล้วจะทำให้การซื้อบ้านกลายเป็นเรื่องเข้าใจง่ายขึ้นทันที

 

อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบคงที่ (Fixed Rate) 


หมายถึง อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่กำหนดเป็นตัวเลขคงที่ ตลอดอายุสัญญาเงินกู้ เช่น กำหนดให้ชำระดอกเบี้ย 4% ต่อปี เป็นเวลา 3 ปี เราก็จะเสียอัตราดอกเบี้ย 4% ตลอดระยะเวลา 3 ปี ไม่มีการเปลี่ยนแปลง 

 

ข้อดีของอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่คือ ดอกเบี้ยเงินกู้จะไม่ขึ้นหรือลงตามสภาวะเศรษฐกิจ ทำให้ไม่ต้องกังวลว่ายอดชำระเงินกู้จะสูงขึ้น และช่วยให้ผู้กู้สามารถวางแผนการเงินของตนเองได้อย่างแม่นยำ 

 

อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบลอยตัว (Floating Rate) 

 

หมายถึง อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่เปลี่ยนแปลงไปตามประกาศของสถาบันการเงิน ซึ่งเป็นการปรับขึ้นลงตามสภาวะเศรษฐกิจ ในปีที่อัตราดอกเบี้ยถูกลง เราก็จะจ่ายดอกเบี้ยได้ถูกลง แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าในปีนั้นอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น เราก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยการเปลี่ยนแปลงของดอกเบี้ยจะขึ้นอยู่กับนโยบายทางการเงินของแต่ละธนาคาร ซึ่งในแต่ละปีมีการปรับมากน้อยแตกต่างกัน

 

MLR (Minimum Lending Rate) หรือ (Minimum Loan Rate) 


หมายถึง อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารเรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา เช่น มีประวัติการเงินที่ดี มีหลักทรัพย์ค้ำประกันเพียงพอ ส่วนใหญ่อัตราดอกเบี้ยประเภทนี้จะใช้กับเงินกู้ระยะยาวที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอน เช่น สินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจ 

 

MRR (Minimum Retail Rate) 


หมายถึง อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ธนาคารเรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย 

 

LTV (Loan to Value) 


หมายถึง อัตราส่วนของเงินกู้ (ที่สามารถกู้ได้) ต่อมูลค่าของหลักประกัน เช่น บ้านคอนโด อย่างบ้านราคา 1 ล้านบาท สถาบันการเงินปล่อยกู้ LTV เพียง 90% แสดงว่าเราได้รับเงินกู้จำนวน 9 แสนบาท ส่วนที่เหลืออีก 1 แสนบาทเราต้องจ่ายเงินเพิ่ม (ไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ) เพื่อซื้อบ้านหรือคอนโดที่เราต้องการ ซึ่งอัตรา LTV แต่ละครั้งจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับการพิจารณาคุณสมบัติของลูกค้า ความน่าเชื่อถือของโครงการ มูลค่าของหลักประกัน และจำนวนครั้งที่ขอกู้ 

 

ดังนั้นหากสถาบันการเงินปล่อยเงินโดยมีอัตราส่วน LTV ต่ำ ก็มีโอกาสที่เราต้องจ่ายเงินเพื่อซื้อบ้านคอนโดเพิ่มในอัตราที่สูงขึ้นเช่นกัน 

 

DSCR (Debt Service Coverage Ratio) 


หมายถึง อัตราส่วนความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้า โดยเป็นการเปรียบเทียบระหว่างรายได้ต่อภาระหนี้สิน ซึ่งสถาบันการเงินจะใช้อัตราส่วนนี้ไปใช้ในการพิจารณาวงเงินกู้ให้กับลูกค้า ซึ่งการกำหนดอัตราส่วนว่าผู้กู้ควรมี DSCR อยู่ที่เท่าไหร่นั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละสถาบันการเงิน ซึ่งวิธีการคำนวน DSCR คือ เอารายได้ต่อเดือน ÷ ภาระหนี้ต่อเดือน

 

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats