5 เคล็ดลับ วิเคราะห์ ‘หุ้นอาหาร’
ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…
Facebook | Line | Youtube | Instagram
‘อุตสาหกรรมอาหาร’ หนึ่งในธุรกิจไทยที่เติบโตด้วยการส่งออกไปยังระดับโลกเป็นจำนวนมาก
ชวนมาดูเคล็ดลับการวิเคราะห์ ‘หุ้นอาหาร’ + ตัวอย่างหุ้นอาหารไทย ที่โตระดับโลก
เข้าใจวัฎจักรราคา
สิ่งที่นักลงทุนต้องให้ความสำคัญคือ หุ้นสินค้าโภคภัณฑ์นั้น โดยธรรมชาติมักจะเป็นหุ้นแนว “วัฎจักร” ที่ผลประกอบการมักจะขึ้นลงตามราคาขายของสินค้าในท้องตลาด และราคาผลผลิตจะแปรผันไปตามราคาตลาดโลก ซึ่งความผันผวนตรงนี้ส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจ หากจะลงทุนต้องเข้าใจในภาพรวม และวัฎจักรของธุรกิจให้ดีเสียก่อน เพื่อที่จะคาดการณ์ความสามารถในการทำกำไร และนำมาประเมินมูลค่าหุ้นต่อได้
ดูอัตราแลกเปลี่ยน
สำหรับหุ้นที่มีการส่งออกอาหารไปในประเทศต่างๆ นอกจากที่เราจะดูปริมาณการส่งออกและประเทศที่ส่งออกแล้ว แน่นอนว่าเราควรดูทิศทางของอัตราแลกเปลี่ยน เพราะมีความสัมพันธ์กับรายได้ อย่างเช่น ถ้าเงินบาทอ่อนค่าลง จาก 30 บาท เป็น 35 บาทก็จะทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น 5 บาทจากอัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น
วิเคราะห์ Business Model
แม้ว่าหุ้นกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มอาหารเหมือนกัน แต่รูปแบบของการทำธุรกิจอาจแตกต่างกันไป ซึ่งเราสามารถดูได้จากแหล่งที่มาของรายได้ และรูปแบบของธุรกิจ โดยสามารถแบ่งประเภทธุรกิจออกได้ ดังนี้
- ผู้ผลิต ทั้งอาหารสัตว์ และเพาะพันธุ์สัตว์
- ผู้ผลิตและแปรรูปเนื้อสัตว์
- ผู้จัดจำหน่าย
ซึ่งหลายบริษัททำเพียงอย่างเดียว เช่น เป็นเพียงผู้ผลิตอาหารสัตว์ และเพาะพันธุ์สัตว์ หรือเป็นเพียงผู้ผลิตและแปรรูปเนื้อสัตว์ พร้อมจัดจำหน่าย แต่บางบริษัททำธุรกิจแบบครบวงจร
ติดตามปัจจัยภายนอก
นอกจากปัจจัยภายในของตัวโมเดลธุรกิจแล้ว ยังมีปัจจัยภายนอกที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นโรคระบาด การเกิดสงคราม สภาพอากาศ หรือราคาวัตถุดิบ ที่อาจส่งผลกระทบหรือส่งผลดีต่อทิศทางต้นทุนการผลิตและขนส่งของภาคอุตสาหกรรมอาหาร
เทรนด์ และนวัตกรรมใหม่ๆ
อีกปัจจัยสำคัญที่ควรนำมาวิเคราะห์หุ้นกลุ่มนี้คือ เราต้องคอยติดตามว่า มีนวัตกรรมหรือเทรนด์อะไรที่ธุรกิจนั้นกำลังให้ความสนใจอยู่บ้างหรือไม่ เพราะนั่นอาจเป็นจุดเปลี่ยนให้ธุรกิจสามารถลดต้นทุน หรือเป็นรายได้ทางใหม่ได้
ทั้งหมดนี้เป็นการสรุปแนวทางวิเคราะห์หุ้นอาหารส่งออกในเบื้องต้นเท่านั้น นักลงทุนจำเป็นต้องศึกษารายละเอียดเชิงลึกของหุ้นแต่ละตัว และดูอัตราส่วนทางการเงินอื่นๆ ประกอบการตัดสินใจด้วย เพื่อให้การลงทุนประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่คาดหวังไว้