×

Wealth Me Up ข่าวสั้น ทันเศรษฐกิจ

ห่วงนโยบาย Digital Wallet กระทบราคาของเงิน

672

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย

Facebook | Line Youtube | Instagram

 

นักเศรษฐศาสตร์ ห่วงนโยบายแจกเงิน Digital Wallet กระทบวินัยทางการคลัง และปัญหาอาจลามไปจนกระทบราคาของเงินบาท

 

ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ และหัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์เศรษฐกิจและการลงทุน กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร โพสต์ข้อความลงใน Facebook โดยระบุว่า 

 

ราคาของเงินรู้ไหมครับว่าเงินก็มีราคา และไม่ได้มีแค่ราคาเดียว แต่มีถึง 4 ด้าน คือ

 

1. ‘อัตราดอกเบี้ยคือราคาของเงินในปัจจุบัน เทียบกับมูลค่าของเงินในอนาคต ถ้าเราคิดว่าเงินในปัจจุบันมีค่ามากกว่าเงินในอนาคต เราก็ต้องการผลตอบแทนในรูปของอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น อันนี้ธนาคารกลางมีส่วนสำคัญในการกำหนด แต่ก็คุมได้ไม่หมด เพราะมีอัตราดอกเบี้ยหลายแบบ หลายระยะ และตลาดเป็นคนกำหนดดอกเบี้ยส่วนใหญ่

 

2. ‘อัตราแลกเปลี่ยนคือราคาของเงินสกุลที่ออกโดยธนาคารกลางประเทศหนึ่ง เทียบกับเงินอีกสกุลหนึ่ง ถ้ามีปัจจัยด้าน Demand Supply ความน่าเชื่อถือ ผลตอบแทนต่างกัน ราคาอัตราแลกเปลี่ยนก็เปลี่ยนไปได้

 

3. ‘เงินเฟ้อคือราคาของเงินเมื่อเทียบกับปริมาณสินค้าและบริการ ที่เงินสามารถซื้อได้ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยรวมถึงปริมาณเงิน ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ Demand Supply ของสินค้า

 

4. ‘Par หรือราคาของเงินสกุลเดียวกันในรูปแบบต่างกันเช่น เราอาจจะนับว่า ธนบัตร เหรียญ เงินฝากธนาคารที่ออกโดยแต่ละธนาคาร เงินใน Wallet ที่ออกโดย Provider แต่ละคนว่าเป็นเงินบาทเหมือนกัน แต่ถ้าสภาพ เงื่อนไข ข้อจำกัด และความน่าเชื่อถือต่างไป เงินที่เรียกว่าเงินบาทเหมือนกัน อาจจะมีราคาไม่เหมือนกันก็ได้

 

และราคาทั้งสี่ของเงินนี่แหละครับ (โดยเฉพาะราคาที่สี่ของเงิน) เป็นสาเหตุสำคัญที่แต่ละประเทศมีธนาคารกลางเป็น “Monopoly” ในการออกเงิน หรือเป็น Regulator ของคนที่ออกเงินได้ เพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ ไม่งั้นคนคงมานั่งถามว่า เงินที่ได้รับมาเป็นเงินของใคร และมีราคาต่างกันหรือไม่

 

และหนึ่งในปัจจัยประเด็นสำคัญที่กำหนด ราคาของเงิน คือความน่าเชื่อถือของคนที่ออกเงินและสินทรัพย์ที่หนุนหลังเงินนั้น

 

นึกภาพว่า ขนาดธนบัตรขาดคนยังกล้ารับที่เต็มมูลค่า เพราะเชื่อมั่นว่าแบงก์ชาติจะรับแลกคืนที่ราคาเต็ม

 

ประเด็นที่นโยบาย Digital Wallet ต้องคิดหนัก ๆ เลยคือ จะเอาเงินอีกประเภทหนึ่งโยนเข้ามาในระบบ ที่มีเงื่อนไขการใช้ไม่เหมือนเงินบาทอื่น ๆ แต่คาดหวังให้ราคาเท่ากับหนึ่งบาทตลอดเวลา โดยไม่มีกลไกในการแลกเปลี่ยน หรือมีภาระของรัฐค้ำประกัน 100% ตลอดเวลาได้อย่างไร (หรือจะใช้กฎหมายบังคับให้มันเท่ากัน ซึ่งทำไม่ได้แน่ ๆ)

 

เพราะเงื่อนไขการใช้เงินที่ต่างกัน คนจะตีมูลค่าของเงินไม่เท่ากัน และเมื่อนำมาใช้ ก็จะเกิดราคาของเงินที่รัฐอาจจะบังคับไม่ได้ และอาจจะ “Break the buck” ได้ และเมื่อเกิดขึ้น คนก็จะแห่ทิ้งเงินใหม่กันอย่างรวดเร็ว สร้างปัญหากับความน่าเชื่อถือของรัฐได้

 

เช่นคนอาจจะยอมรับเงินแต่รับในอัตราที่ไม่เท่ากับ 1 บาท เช่น ขายของ 100 บาท ในราคา 200 เหรียญที่ออกใหม่ หรือมีคนทำธุรกิจตั้งโต๊ะรับแลกเหรียญที่ออกใหม่ ในราคาต่ำกว่า 1 บาท

 

หรือคนรับปฏิเสธการรับเอาดื้อ ๆ

 

ลองนึกภาพถึง Stable Coin หลากหลายที่ดูเหมือนว่ารักษามูลค่าได้ แต่พอคนเริ่มถามว่า Stable Coin นั้นมีหลักทรัพย์ค้ำประกันครบไหม หรือกลไกที่ทำให้ราคา Stable Coin คงที่น่ะ ทำงานได้จริงไหม….

 

การอธิบายว่า เราสามารถออกสิ่งที่เหมือนเงินโดยไม่ต้องสร้างหนี้ ไม่ต้องขาดดุล ไม่เป็นภาระของรัฐ เป็นสิ่งที่ค่อนข้างน่ากลัว ทั้งจากมุมมองวินัยทางการคลัง และความน่าเชื่อถือของนโยบายทางการเงิน 

 

อาจจะน่ากลัวกว่าการยอมรับว่านี่คือการแจกเงิน โดยการขาดดุลและสร้างหนี้เสียอีก

 

และระวังว่าปัญหาจะลามไปจนกระทบราคาทั้งสี่ของเงินบาทเลยนะครับ

 

เพราะเราไม่อยู่ในสถานะที่สร้างเงินจากอากาศได้ครับ (แม้ว่าอาจจะมีบางประเทศทำได้ก็ตาม)

 

ที่มา :  Facebook Pipat Luengnaruemitchai  

 

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats