×

Wealth Me Up ให้เงินทำงาน

ปัดฝุ่น ‘การเงิน’ รับต้นปี

501

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย

Facebook | Line Youtube | Instagram

 

ถือเป็นฤกษ์ดีที่ต้องจัดระเบียบการเงินให้เข้าที่เข้าทาง หลังจากปีที่ผ่านมาอาจมีหลายอย่างลืมหรือละเลยไปบ้าง ได้แก่

 

‘หนี้สิน’ ที่ต้องลด

 

  • ดอกเบี้ย แบบลดต้นลดดอก อย่างสินเชื่อบ้าน ลดได้ด้วยการ Refinance ไปธนาคารใหม่ หรือขอ Retention กับธนาคารเดิม แต่อาจมีค่าใช้จ่ายหรือค่าปรับ ขึ้นกับสัญญาและเงื่อนไขของสัญญา
  • ยอดผ่อนต่อเดือน ลดได้ด้วยการ Refinance ไปธนาคารใหม่ที่ดอกเบี้ยน้อยลง หรือระยะเวลาผ่อนนานขึ้น โดยยอดผ่อนที่เหมาะสม ไม่ควรเกิน 40% ของรายได้ต่อเดือน
  • ยอดหนี้คงค้าง หากเป็นแบบลดต้นลดดอก การโปะด้วยโบนัส หรือจ่ายมากกว่าขั้นต่ำทุกเดือน จะช่วยให้หนี้ลดเร็วขึ้นและดอกเบี้ยรวมที่จ่ายก็น้อยลง

 

‘ภาษี’ ที่ต้องจ่าย

 

  • ลงทุนกองทุน ThaiESG/SSF ก้อนเดียวตั้งแต่ต้นปี เพื่อขายคืนได้หลังถือครบเงื่อนไขตั้งแต่ต้นปีที่ 8/ปีที่ 10 ถัดจากปีที่ลงทุน โดยไม่ต้องรอถึงสิ้นปี
  • ลงทุน SSF ที่เป็นกองทุนตราสารหนี้ด้วยเงินก้อนเดียว และทยอยสับเปลี่ยนไป SSF อื่นที่เป็นกองทุนหุ้น/ผสม เดือนละ 1 ครั้ง ก็เป็นการลงทุนแบบ DCA แบบหนึ่ง เช่นเดียวกับตัดเงินลงทุนรายเดือน แต่มีข้อดีที่ขายคืนเงินก้อนที่ครบกำหนด 10 ปีเต็ม ได้ทั้งหมดในครั้งเดียว
  • .. 01 ที่นายจ้างบางแห่ง เปิดให้ลูกจ้างหรือมนุษย์เงินเดือน แจ้งค่าลดหย่อนต่างๆ รวมถึง ประกัน/SSF/RMF/ThaiESG ที่จ่ายหรือลงทุนไประหว่างปี เพื่อให้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายน้อยลงตอนเงินเดือนออก

 

‘ประกัน’ ที่ควรเติม

 

  • ประกันชีวิต ควรมีทุนประกันชีวิตและทุพพลภาพให้ครอบคลุม (1) หนี้สินทั้งหมดที่มี (2) ค่าใช้จ่ายของครอบครัว 5 ปี และ (3) อนาคตที่มั่นคง เช่น ทุนการศึกษาลูกจนจบปริญญาตรี เป็นต้น
  • ประกันสุขภาพ ควรมีความคุ้มครองค่าห้อง 5,000-8,000 บาทต่อวัน และวงเงินค่ารักษา 500,000 บาทต่อครั้งหรือต่อปี เพื่อให้สามารถเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเอกชนขนาดกลางทั่วไป ได้อย่างสบายใจ
  • ประกันโรคร้ายแรง ที่โอกาสเกิดอาจน้อย แต่เมื่อเป็นแล้วมีค่าใช้จ่ายสูงถึงหลักล้าน และสูญเสียโอกาสในการใช้ชีวิตหรือหารายได้ โดยควรมีให้ครอบคลุมทั้ง (1) วงเงิน (2) โรคหลากหลายกลุ่ม และ (3) ระยะหรือความรุนแรงของโรคที่คุ้มครอง

 

‘เงินเก็บ’ ที่ควรจัดสรร

 

  • เงินใช้จ่ายทั่วไป 1-2 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน ควรเน้นในเงินฝาก e-Savings ที่ปัจจุบันดอกเบี้ยสูงกว่าออมทรัพย์ทั่วไป 4-6 เท่า
  • เงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน 6-12 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน ควรไว้ที่เงินฝาก e-Savings เงินฝากประจำ สลากออมทรัพย์ หรือกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น ที่ผลตอบแทนสูงกว่าออมทรัพย์ แต่ยังมีความคล่องตัวในการนำเงินออกมาใช้
  • เงินลงทุน ที่เป็นเงินเก็บส่วนเกินจากเงินเก็บส่วนอื่น ควรนำไปลงทุนต่อยอดให้งอกเงย ไม่ทิ้งไว้ในออมทรัพย์ที่ดอกเบี้ยต่ำ เช่น
    • คนที่กังวลความเสี่ยงการลงทุน แนะนำเริ่มจากกองทุน Term Fund ที่มีประมาณการผลตอบแทนให้ทราบล่วงหน้า พันธบัตรรัฐบาลหรือหุ้นกู้เอกชนขนาดใหญ่ ที่มีความน่าเชื่อถือสูงระดับ AAA, AA, A
    • เสียภาษีสูง โดยมีเงินเก็บจำนวนมาก แนะนำลงทุน ThaiESG/SSF/RMF ที่เป็นกองทุนหุ้นหรือกองทุนผสม เพื่อผลตอบแทนระยะยาว และมีเงินคืนภาษี
    • อยากลองแต่ยังไม่อยากเจ็บ แนะนำเริ่มต้นแบ่งเงินเก็บส่วนที่ลงทุนได้ ประมาณ 10%-20% ไปกระจายลงทุนในกองทุนผสมและกองทุนหุ้น อย่างน้อย 2-3 กองทุนที่ลงทุนในสินทรัพย์ที่ต่างกัน เพื่อเรียนรู้การลงทุน จนสามารถจัดสัดส่วนการลงทุนให้เหมาะสมกับตนเองได้ในอนาคต

 

เงินอาจไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุดในชีวิต แต่ยังคงเป็นสิ่งสำคัญลำดับต้นๆ ของใครหลายคน ที่เราต้องให้ความสำคัญและหมั่นจัดการให้เหมาะสม โดยอย่างน้อยควรหันมาดูปีละ 1 ครั้ง เหมือนกับการตรวจสุขภาพประจำปี

 

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats