×

Wealth Me Up ให้เงินทำงาน

เคล็ด (ไม่) ลับบริหารที่ดินรับภาษีใหม่

4,975

 

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

ลุ้นกันมานานว่าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะได้คลอดหรือไม่ เพราะอยู่ในช่วงของการเลือกตั้ง แต่ในที่สุด พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 ก็เริ่มมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 13 มี.ค. ที่ผ่านมา แต่การจัดเก็บภาษีสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามพระราชบัญญัตินี้ จะเริ่มเก็บจริงๆตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 เป็นต้นไป

 

โดยกฎหมายดังกล่าวมีเนื้อหาทั้งสิ้น 98 มาตรา 11 หมวดและบทเฉพาะกาล ซึ่งเนื้อหาที่น่าสนใจคือในมาตรา 37 ในหมวด 5 ว่าด้วยฐานภาษี อัตราภาษี และการคำนวณภาษี ซึ่งเนื้อหาระบุว่า มาตรา 37 ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง ให้จัดเก็บภาษีตามลักษณะการใช้ประโยชน์ในที่ดิน โดยอัตราภาษีที่ดินฯ จะเป็นรูปแบบของขั้นบันไดที่เพิ่มขึ้นตามมูลค่า ของฐานภาษีที่ดินฯ ในอัตราดังต่อไปนี้

 

  1. ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม ให้มีอัตราภาษีไม่เกิน 0.15% ของฐานภาษี
  2. ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัย ให้มีอัตราภาษีไม่เกิน 0.3% ของฐานภาษี
  3. ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์อื่นนอกจาก (1) หรือ (2) ให้มีอัตราภาษีไม่เกิน 1.2% ของฐานภาษี
  4. ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพ ให้มีอัตราภาษีไม่เกิน 1.2% ของฐานภาษี

 

จากฐานภาษีดังกล่าว

  • ที่ดินที่เสียภาษีน้อย คือ ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (1) และที่อยู่อาศัย (2)
  • ที่ดินที่เสียภาษีมาก คือ ที่รกร้างว่างเปล่า และ อื่นๆ ที่ไม่เข้า (1) และ (2)

 

ผู้เก็บภาษี คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ดังนั้น การจัดเก็บภาษีจะเก็บตามพื้นที่ที่อยู่ในแต่ละ อปท. ไม่เกี่ยวกัน

 

ผู้เสียภาษี คือ บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลที่เป็น เจ้าของที่ดิน/สิ่งปลูกสร้าง หรือ เจ้าของห้องชุด หรือผู้ครอบครองหรือผู้ทำประโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง

 

  • ถ้าเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นคนละคนกันเจ้าของที่ดินจะเป็นผู้เสียภาษีที่ดิน ส่วนเจ้าของสิ่งปลูกสร้าง เสียภาษีสิ่งปลูกสร้าง
  • ถ้าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นของเจ้าของร่วม เจ้าของร่วมทุกคนมีหน้าที่เสียภาษี หรือ เจ้าของร่วมคนใดคนหนึ่งเสียภาษีแทนได้
  • ถ้าที่ดินติดภาระจำนอง ผู้มีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินในโฉนดเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษี

 

การวางแผนภาษีที่ดินจึงเป็นเรื่องของการบริหารจัดการที่ดิน

  • การกระจายที่ดินอยู่คนละ อปท. จะมีประโยชน์ในการบรรเทาภาระภาษีมากกว่า

 

  • บริหารจัดการที่ดินให้อยู่ในกลุ่มที่ฐานภาษีต่ำ เช่น ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม ฯลฯ  

 

อย่างไรก็ตาม ผู้เป็นเจ้าของที่ดินยังไม่ควรรีบร้อนในการบริหารจัดการที่ดิน เนื่องจากรายละเอียดของการกำหนดลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินในแต่ละฐานภาษี ยังไม่กำหนดแน่ชัด ต้องรอประกาศที่จะตามมาอีกครั้ง

 

  • การจัดให้เจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นนิติบุคคลจะได้ประโยชน์ทางภาษีมากกว่า เนื่องจากนิติบุคคลสามารถนำภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่จ่ายมาบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายของนิติบุคคลได้ ทำให้รายได้สุทธิลดน้อยลง เสียภาษีเงินได้น้อยลง

 

ส่วนหากเจ้าของที่ดินเป็นบุคคลธรรมดาไม่สามารถนำภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่จ่ายไปแล้วมาทำประโยชน์ใดๆได้เลย

 

ข้อควรระวัง

  • ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นภาษีที่เก็บบนทรัพย์สินคือ ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง บนราคาประเมินทุนทรัพย์ทิ่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งโดยปกติราคาประเมินจะแพงขึ้นทุกๆปี ทำให้เราต้องเสียภาษีแพงขึ้นทุกๆปี จึงควรใส่ใจในการบริหารจัดการที่ดิน

 

  • เมื่อเราหารายได้ได้จากที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เช่น ปล่อยเช่า ฯลฯ ภาระภาษีเงินได้ของเรายังมีอยู่เช่นเดิม ไม่ใช่ว่าเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแล้ว ภาษีเงินได้ที่ได้จากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไม่ต้องเสีย

 

  • การบริหารภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นเพียงหนึ่งปัจจัยในการพิจารณาบริหารจัดการที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเท่านั้น เจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างยังต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆประกอบอีกมากมาย เช่น ทำเล, ผลตอบแทนจากการลงทุน ฯลฯ

 

นี่เป็นสิ่งที่ควรรู้เพื่อจะได้บริหารจัดการที่ดินได้อย่างเหมาะสม เพื่อเตรียมพร้อมรับกับภาษีใหม่

 

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats