×

Wealth Me Up ข่าวสั้น ทันเศรษฐกิจ

อยู่ถึง 12O ปี…ต้องมีเงินเท่าไหร่?

7,174

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

สรุปเนื้อหาจากงานสัมมนา Phatra Investment Day 2019 “Are you ready to RETIRE” เกษียณต่างสไตล์ วางแผนอย่างไรให้ถึงเป้าหมาย 

 

 

120 ปี ด้วย “สุข” กายใจ 

นพ.เฉก ธนะสิริ ผู้เขียนหนังสือ “อายุ 120 ปี ทำไมจะทำให้ไม่ได้” ที่ปัจจุบันอายุ 93 ปี แต่ยังทำ Head Stand (ยืนด้วยศรีษะ) ได้ และว่ายน้ำถึง 4 กิโลเมตร รวมทั้งไม่มีโรคภัยไข้เจ็บใดๆ สิ่งเดียวที่ต้องใช้คือยาหยอดตา (ไม่ทานวิตามิน ไม่มีโรคประจำตัว ไม่ต้องทานยา) เล่าถึงเคล็ดลับสุขภาพที่แข็งแรงว่าสิ่งสำคัญคือ สัดส่วน | อาหาร | ออกกำลังกาย | จิตใจ

“สัดส่วน” คือ น้ำหนักของผู้ชายไม่ควรเกิน ส่วนสูง – 100 (เช่น ส่วนสูง 170 ควรหนักไม่เกิน 70 กก.) ผู้หญิงไม่ควรเกิน ส่วนสูง – 110 (เช่น ส่วนสูง 160 ควรน้ำหนักไม่เกิน 50 กก.) “อาหาร” คือทานพืชผัก และสัตว์น้ำ เช่น กุ้ง ปลา เนื่องจากย่อยง่ายและไม่บาปหนัก “ออกกำลังกาย” ควรทำสม่ำเสมอทุกวัน ซึ่งคุณหมอออกกำลังกายด้วยการว่ายน้ำ “จิตใจ” ควรนั่งสมาธิ และทำวิปัสนา ซึ่งคุณหมอใช้วิธีว่ายน้ำจงกรม (ทำสมาธิขณะว่ายน้ำ) ทำได้เช่นนี้ สุขกาย สุขใจ อายุยืนแน่นอน

 

 

อายุเกษียณ ไม่สำคัญเท่า “คุณภาพชีวิต” 

คุณรวิศ หาญอุตสาหะ เจ้าของแบรนด์ศรีจันทร์ และเจ้าของเพจ Mission To The Moon อธิบายถึงมุมมองเรื่องเกษียณว่า ตนไม่เคยคิดว่าจะ “หยุดทำงาน” และมองว่าสิ่งที่สำคัญกว่าการกำหนดอายุเกษียณ คือ “คุณภาพชีวิต” ซึ่งแม้ตนจะมีงานที่ต้องทำหลายองค์กร แต่สิ่งที่ทำเสมอคือ ตื่นมาออกกำลังกาย 6 วันต่อสัปดาห์ | นั่งสมาธิตอนเช้าทุกวัน 15 นาที | ทานอาหารที่เตรียมเอง 70-80% | นอนเร็ว พอได้ฟังแบบนี้หลายคนทึ่งในวินัย และการจัดตารางที่สมบูรณ์ทั้งการงาน ชีวิต สุขภาพ และจิตใจของผู้บริหารหนุ่มคนนี้

 

 

เกษียณกับคนไทย ช้า เช็ค ช็อค 

ดร.อัจฉรา โยมสินธุ์ เจ้าของหนังสือ “40 ปียังไม่สาย เกษียณสบายเป็นจริงได้” พูดถึงการเกษียณกับคนไทยว่า

  1. ช้า: คนไทยเตรียมเกษียณตอนอายุ 42 ปี ขณะที่คนอเมริกันเตรียมเกษียณตั้งแต่อายุ 30 ปี
  2. เช็ค: คนไทยไม่เคยเช็คว่าตนต้องใช้เงินเท่าไหร่ในวัยเกษียณ ซึ่งในความเป็นจริงคนไทยทำงาน 456 เดือน แต่เกษียณ 300 เดือน (อายุ 60-85 ปี)
  3. ช็อค: พอทราบแบบนี้หลายคนจึงเกิดอาการ “ช็อค” เพราะเงินที่ยังไม่ได้เตรียม เกรงว่าจะไม่พอใช้ในวัยเกษียณ

 

 

120 ปี ต้องมีเงิน 45 ล้านบาท เพื่อใช้เดือนละ 30,000 บาท

จากการคำนวณของ Wealth Me Up หากเราอายุ 35 ปี ต้องการเกษียณตอนอายุ 60 ปี และมีชีวิตหลังเกษียณไปอีก 60 ปี (อายุขัย 120 ปี)

  • กรณีใช้เงินเดือนละ 10,000 บาท จะต้องมีเงิน 10 ล้านบาท
  • กรณีใช้เงินเดือนละ 20,000 บาท จะต้องมีเงิน 30 ล้านบาท
  • กรณีใช้เงินเดือนละ 30,000 บาท จะต้องมีเงิน 45 ล้านบาท
  • กรณีใช้เงินเดือนละ 40,000 บาท จะต้องมีเงิน 60 ล้านบาท
  • กรณีใช้เงินเดือนละ 50,000 บาท จะต้องมีเงิน 75 ล้านบาท

 

 

7 ข้อคิด วางแผนการเงินเพื่อวัยเกษียณ

ด้าน Phatra Edge แนะนำการวางแผนการเงินเพื่อวัยเกษียณโดยระบุว่าอายุขัยของคนไทยเพิ่มขึ้นทุกปี และมีความเป็นไปได้ที่เราจะอยู่ถึง 120 ปี ที่น่าสนใจคือค่าใช้จ่ายที่มากที่สุด (คนสหรัฐฯ) 1 ใน 3 คือค่าใช้จ่ายเรื่องบ้าน และที่น่ากังวลคือ “ค่ารักษาพยาบาล” มีอัตราเงินเฟ้อมากที่สุดเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายด้านอื่นคือ 6% ต่อปี (50,000 บาทวันนี้จะกลายเป็น 160,000 บาทในอีก 20 ปีข้างหน้า) ดังนั้นข้อคิดสำหรับวัยเกษียณคือ

  1. ต้องรู้ศักยภาพการ “ออม” ของตนเอง และควร “เก็บก่อนใช้”
  2. ต้องประเมิน “คุณภาพชีวิต” หลังเกษียณที่ต้องการ
  3. ควรทำประกันความเสี่ยง
  4. ควร “ลงทุน” สร้างความมั่งคั่ง
  5. ควรตั้งเป้าหมายเกษียณ
  6. ควรลงทุนต่อเนื่องแม้เกษียณแล้ว
  7. ควรวางแผนส่งต่อความมั่งคั่ง

โดยหลักการที่สามารถนำไปปรับใช้ได้คือ 4% Rule หรือกฎ 4% โดยใช้วิธีคิดคือนำค่าใช้จ่ายต่อปีที่ต้องการหลังเกษียณ คูณ 25 เท่า แล้วนำไปลงทุนให้ได้ผลตอบแทนเฉลี่ย 4% ต่อปีเพื่อทำให้สามารถทยอยนำเงินมาใช้เพื่อวัยเกษียณได้อย่างสบาย

 

วิทยากร: นพ.เฉก ธนะสิริ | รวิศ อุตสาหะ | ดร.อัจฉรา โยมสินธุ์ | ณฤทธิ์ โกสาลาทิพย์ | ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย | สิกขวัตร สื่อสัจจา
ผู้ดำเนินรายการ: เฟิร์น ศิรัถยา อิศรภักดี

Related Stories

amazon anti fatigue mats