ตลาดหุ้นไทย เข้าสู่ภาวะหมีหรือยัง?
ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…
Facebook | Line | Youtube | Instagram
ปกติตลาดหุ้นมี 3 ลักษณะ คือ ตลาดเป็นขาขึ้น หรือมักเรียกว่า ตลาดกระทิง (Bull Market) ตลาดช่วงขาลง หรือตลาดหมี (Bear Market) และตลาดไม่มีทิศทางการปรับตัวที่ชัดเจน (Sideway Market) ขึ้นก็ไม่มาก ลงก็ไม่มาก
คำถามตามมา คือ ตั้งแต่เชื้อไวรัส COVID 19 ระบาด ตลาดหุ้นไทยเป็นลักษณะไหน?
28 กุมภาพันธ์ 2563 ดัชนีหุ้นไทยปรับลดลง 54.56 จุด จากวันก่อนหน้า และปิดที่ 1,340.52 จุด ถือเป็นจุดต่ำสุดในรอบ 3 ปี ด้วยเหตุผลเดียว คือ นักลงทุนกังวลต่อการระบาดของไวรัส COVID 19
หุ้นเหมือนกับมีชีวิต ที่มีขึ้นย่อมมีลงและเกิดแรงเหวี่ยง จนอาจทำให้นักลงทุนที่ไม่ทันระวังตัวได้รับบาดเจ็บ ดังนั้น ก่อนตัดสินใจลงทุนต้องเข้าใจแนวโน้มตลาดหุ้นว่าเป็นขาขึ้นหรือขาลง เช่น หลังการระบาดของไวรัส COVID 19 ทิศทางตลาดเป็นขาลง ดังนั้น กลยุทธ์ที่เหมาะสมคือ ลดหุ้นในพอร์ตลง แล้วโยกเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ที่ปลอดภัย เช่น ทองคำ หรือถือเงินสด
ถัดจากนั้นนักลงทุนต้องศึกษาข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจว่ามีปัจจัยอะไรที่ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้น แล้วทำการประเมินว่ามีผลกระทบเชิงบวกหรือเชิงลบ กระทบหนักหรือเบาแค่ไหน เพราะผลกระทบหรือความเสี่ยงในเรื่องเดียวกัน จะมีความรุนแรงต่างกันหากเวลาเปลี่ยนไป เช่น ผลกระทบของของไวรัส COVID 19 ในเดือนมกราคมกับกุมภาพันธ์ มีผลกระทบต่อหุ้นไทยไม่เท่ากัน
อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่เกิดการระบาดของไวรัส COVID 19 ตลาดหุ้นไทยมีแรงเทขายออกมาอย่างต่อเนื่อง และมีความชัดเจนว่านักลงทุนหันไปถือครองสินทรัพย์การลงทุนอื่นๆ ที่มีความปลอดภัยมากกว่าการลงทุนในตลาดหุ้น
คำถามที่ตามมา คือ ตลาดหุ้นไทย เข้าสู่ภาวะขาลงหรือตลาดหมีหรือไม่
คำตอบคือ อาจเร็วเกินไปที่จะมองว่าตลาดหุ้นไทยเข้าสู่ภาวะหมีแล้ว เพราะการที่จะเป็นตลาดหมี ตลาดหุ้นจะต้องตกลงไปถึง 20% แต่การที่ตลาดหุ้นไทยปรับลงไปเพียง 5% จึงไม่ใช่ตลาดหมี เป็นเพียงการปรับฐาน หรือ Correction Market
ดังนั้น หากตลาดเป็นเพียงการปรับฐาน หมายความว่าตลาดจะมีความผันผวน ขึ้นๆ ลงๆ ซึ่งในเชิงกลยุทธ์แล้วหากมีแรงเทขายและกดดันดัชนีถือเป็นจังหวะซื้อ ในลักษณะทยอยซื้อ และเมื่อราคาหุ้นที่ซื้อปรับขึ้น ก็ทยอยขายเพื่อทำกำไร
ที่สำคัญ ไม่ว่าสภาวะตลาดหุ้นจะอยู่ในลักษณะไหน หากนักลงทุนศึกษาหาความรู้ตลอดเวลา รู้จักสินทรัพย์ที่ตัวเองลงทุน มีวินัย และใช้เหตุผลในการตัดสินใจลงทุน จะประสบความสำเร็จมากกว่าล้มเหลว