นี่แหละ...ความสำคัญของ "เงินฉุกเฉิน"
ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…
Facebook | Line | Youtube | Instagram
ไหน…ใครบอก “เงินฉุกเฉิน” ไม่สำคัญ?
สถานการณ์การจ้างงานในวันนี้ (ไม่เฉพาะการท่องเที่ยว)
…บ้าง ปิดกิจการ (ชั่วคราวบ้าง ถาวรบ้าง)
…บ้าง งานถูกเลื่อน-ยกเลิก ไม่มีกำหนด
…บ้าง Leave without pay
…บ้าง ทำงานเต็มเดือน จ่ายครึ่งเดือน
…บ้าง ให้ทำงานที่บ้าน จ่ายไม่เต็มเดือน
รายได้หดหาย แต่รายจ่ายยังคงมากมายเหมือนเดิม และยิ่งทำให้เรารู้สึกเป็นคนมี “ค่า” มากมายเหลือเกิน
ค่ารถ ก็ต้องผ่อน | ค่าบ้าน ก็ต้องจ่าย | ค่าน้ำ-ไฟ ก็ตามรอบ | ค่าโทรศัพท์ก็เท่าเดิม | ค่าอาหาร 3 มื้อเหมือนเคย | ค่าน้ำมันรถเอย | ค่าบัตรเครดิตเอย สารพัดค่าที่ไม่สามารผัดผ่อน
หลักการวางแผนการเงิน บอกเสมอว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดคือต้องมี ‘เงินฉุกเฉิน’ อย่างน้อย 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน เอาไว้ใช้ยาม ‘ฉุกเฉิน’ จริงๆ ถ้าเรามีค่าบ้าน รถ โทรศัพท์ ผ่อนสารพัด น้ำ ไฟ อาหาร ยา ฯลฯ ที่ต้องจ่ายแน่ๆ เดือนละ 10,000
มนุษย์เงินเดือน ควรมี 3-6 เท่า (30,000-60,000)
Freelance ควรมี 6-13 เท่า (60,000-120,000)
มีเหตุการณ์ไม่คาดฝันอะไร จะได้ใช้ชีวิตต่อได้อีก 3,6 หรือ 12เดือน ตลอด 10 ปีที่ผ่านมาหลังวิกฤติปี 2009 สิ่งที่เรียกว่า ‘เงินฉุกเฉิน’ ถูกมองข้ามไป เพราะทุกอย่างดูดี มีแต่ขึ้นกับขึ้น ทำให้พฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนจำนวนไม่น้อยตกอยู่ในภาวะ “ประมาท” หาได้ ใช้ไป ช้อปบ้าง เที่ยวบ้าง สุรุ่ยสุร่ายบ้าง เพราะไม่ทันได้เตรียมตัว และคิดว่าทุกอย่างจะมีแต่ด้านบวกเพียงมิติเดียว
COVID-19 หาใช่เพียงโรคระบาด ที่ยังไม่รู้จะหยุดเมื่อไหร่…แต่ยังเป็นตัวกระตุ้นให้ใครหลายคน “เลิกประมาท” กับชีวิตที่มีแต่ความไม่แน่นอน
กลับมาดูในกระเป๋าตัวเองสักนิด…วันนี้เรามี “เงินฉุกเฉิน” เพื่อรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันกัน กี่เดือน?