หากนับตั้งแต่เริ่มเกิดการระบาดของ COVID-19 ในปี 2020 จนถึงปัจจุบัน วงเงินที่รัฐบาลจีนใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจตลอด 3 ปีผ่านนโยบายการเงิน และนโยบายการคลัง คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 100 ล้านหยวน หรือราว $15 ล้านล้าน เทียบเท่ากับขนาดเศรษฐกิจจีน ($14.72 ล้านล้าน) และคิดเป็น 30 เท่าของขนาดเศรษฐกิจไทย ($5 แสนล้าน)
หลังจากตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจจีนเดือนเม.ย. ออกมาไม่ดีนัก เนื่องจากมาตรการคุมเข้ม COVID-19 Goldman Sachs จึงปรับคาดการณ์การเติบโตของ GDP จีน (GDP Growth) ปีนี้เหลือ 4% จาก 4.5% ซึ่งต่ำกว่าการคาดการณ์ของรัฐบาลจีนที่เคยตั้งเป้าไว้ที่ประมาณ 5.5% เมื่อเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา
หลังจากหุ้นเทคโนโลยีจีนถูกลดระดับความน่าสนใจไปอยู่ที่ “ไม่ควรลงทุน” หรือ “Uninvestable” เมื่อเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา ล่าสุดนักวิเคราะห์ JPMorgan Chase & Co. ได้ปรับอันดับความน่าลงทุนหุ้นเทคจีนขึ้นมาอย่างน้อย 15 บริษัทAlex Yao นักวิเคราะห์ JPMorgan Chase & Co. และทีมระบุในรายงานว่า ทั้ง Tencent Holdings, Alibaba Group Holding, Meituan, NetEase และ Pinduoduo ได้ถูกปรับอันดับขึ้นจาก “Underweight” เมื่อเดือนมี.ค. เป็น “Overweight” เนื่องจากการลดน้ำหนักลงทุนเมื่อเดือนมี.ค. ที่เคยประเมินว่าวัฎจักรขาลง 3 รอบของหุ้นจีนได้ผ่านรอบที่ 1 (ตลาดก้าวเข้าสู่ภาวะตลาดหมี) และมาถึงรอบที่ 2 (หุ้นถูกเทขาย และราคาเริ่มมีเสถียรภาพ) เร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ ระดับความเสี่ยงจึงลดลง
ด้วยนโยบาย Zero-Covid ของทางรัฐบาลจีน ส่งผลให้ชาวจีน 1 ใน 3 หรือกว่า 373 ล้านคน ใน 45 เมือง (นับเป็น 3 ใน 4 ของประชากรในยุโรป (448 ล้านคน) และมากกว่าประชากรทั้งหมดในสหรัฐ (330 ล้านคน)) ถูกล็อกดาวน์ ห้ามเข้า-ออกมานับเดือนแล้ว โดยเฉพาะเซี่ยงไฮ้ เมืองท่าสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจีน
ด้วยขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่กว่า 18% ของ GDP โลก หลายคนคงคาดหวังว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งนี้จีนจะทำให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัว เหมือนตอนวิกฤตเศรษฐกิจปี 2008 ที่รัฐบาลจีนออกมาตรการช่วยเหลือทางการคลัง 4 ล้านล้านหยวน ($586,000 ล้านดอลลาร์) พร้อมทั้งมาตรการปล่อยกู้เพื่อกระตุ้นการใช้จ่าย ซึ่งคู่ค้าสำคัญอย่าง ออสเตรเลียและบราซิลได้รับอานิสงส์ไปด้วย รวมถึงปี 2016 ที่รัฐบาลจีนก็ใช้นโยบายการคลังในการฟื้นฟูตลาดอสังหาริมทัพย์ในประเทศ
ทางการจีนส่งสัญญาณเตรียมคลายล็อกดาวน์ 2 เมืองสำคัญ (เซียงไฮ้, ปักกิ่ง) หลังตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่รายวันลดลง โดยเซี่ยงไฮ้รายงานตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่ลดลง 4 วันต่อเนื่อง ล่าสุดแตะ 13,562 คน ถือเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 3 สัปดาห์ ขณะที่กรุงปักกิ่งพบผู้ติดเชื้อลดลงต่ำกว่า 50 คนต่อวัน