องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือ OECD ปรับลดคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจโลกเหลือ 3% (ลดลง 1.5% จากเดือนธ.ค. 2021) โดยปัจจัยหลักมาจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่นอกจากจะทำให้เศรษฐกิจทั้งในรัสเซียและยูเครนย่ำแย่ เศรษฐกิจของยุโรปก็ได้รับผลกระทบจากการที่สหภาพยุโรปสั่งระงับการนำเข้าน้ำมันและถ่านหินจากรัสเซียอีกด้วย ส่วนอีกปัจจัยสำคัญ คือ การปิดเมืองและท่าเรือหลายแห่งในจีนตามนโยบาย Zero-COVID ส่งผลกระทบอย่างมากต่อระบบซัพพลายและการบริโภคในระดับโลก
หลังจากตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจจีนเดือนเม.ย. ออกมาไม่ดีนัก เนื่องจากมาตรการคุมเข้ม COVID-19 Goldman Sachs จึงปรับคาดการณ์การเติบโตของ GDP จีน (GDP Growth) ปีนี้เหลือ 4% จาก 4.5% ซึ่งต่ำกว่าการคาดการณ์ของรัฐบาลจีนที่เคยตั้งเป้าไว้ที่ประมาณ 5.5% เมื่อเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา
อังกฤษรายงานตัวเลขเงินเฟ้อเดือนเมษายน พุ่งแตะ 9%YoY สูงที่สุดนับตั้งแต่เริ่มเก็บข้อมูลในปี 1982 (40 ปี) และสูงกว่าเงินเฟ้อเดือนมีนาคม ที่ระดับ 7%YoY จากราคาอาหารและพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก สร้างความเสี่ยงต่อค่าครองชีพของประชากรในเมืองผู้ดี
ด้วยขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่กว่า 18% ของ GDP โลก หลายคนคงคาดหวังว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งนี้จีนจะทำให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัว เหมือนตอนวิกฤตเศรษฐกิจปี 2008 ที่รัฐบาลจีนออกมาตรการช่วยเหลือทางการคลัง 4 ล้านล้านหยวน ($586,000 ล้านดอลลาร์) พร้อมทั้งมาตรการปล่อยกู้เพื่อกระตุ้นการใช้จ่าย ซึ่งคู่ค้าสำคัญอย่าง ออสเตรเลียและบราซิลได้รับอานิสงส์ไปด้วย รวมถึงปี 2016 ที่รัฐบาลจีนก็ใช้นโยบายการคลังในการฟื้นฟูตลาดอสังหาริมทัพย์ในประเทศ
Bill Gates มหาเศรษฐีอันดับ 4 ของโลก (ด้วยมูลค่าทรัพย์สิน $1.23 แสนล้าน) ยอมรับกังวลดอกเบี้ยขาขึ้นจะส่งผลให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ในขณะที่สงครามรัสเซีย-ยูเครน และการระบาด COVID-19 ยังไม่จบง่ายๆ
ภาวะตลาดลงทุนที่ผันผวนและเศรษฐกิจโลกที่ยังเผชิญความท้าทายหลายอย่าง บลจ.กสิกรไทย มีกลยุทธ์อะไรที่จะรับมือกับสิ่งเหล่านี้ เพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีให้ลูกค้า