“ต้องกดเงินเฟ้อให้ลงไป 2%”Jerome Powell ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ระบุว่า เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา (ล่าสุดเงินเฟ้อสหรัฐฯ เดือนพฤษภาคม พุ่งแตะ 8.6% สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 1981 หรือในรอบ 41 ปี) พร้อมกับปัจจัยอื่นๆ ที่อาจเข้ามาเซอร์ไพรส์ในอนาคต จึงจำเป็นที่ต้องตอบสนองต่อสถานการณ์ต่างๆ อย่างรวดเร็ว เพราะหากไม่สามารถควบคุมเงินเฟ้อให้กลับไปอยู่ในระดับ 2% ได้ เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเผชิญกับความเสี่ยง
ค่าเงินเยน ของญี่ปุ่นอ่อนค่าราว 1% เมื่อคืนที่ผ่านมา แตะ 136.50 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถือเป็นระดับที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 1998 (24 ปี) หลังจากธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ยังคงยืนยันเดินหน้าผ่อนคลายนโยบายการเงิน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ สวนทางกับธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ที่ใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัวเพื่อสกัดเงินเฟ้อที่สูงที่สุดในรอบ 40 ปี
Jane Fraser CEO ของ Citigroup มองว่าเศรษฐกิจยุโรปอยู่ท่ามกลางพายุ และกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย จากหลายปัจจัยรุมเร้าทั้งปัญหาสงครามรัสเซีย-ยูเครน วิกฤตพลังงาน รวมทั้งปัญหาเงินเฟ้อสูงที่เพิ่มความเสี่ยงต่อวิกฤตค่าครองชีพ
ค่าเงินยูโรต่อดอลลาร์สหรัฐ (EUR-USD) ล่าสุดแตะ $1.05 ต่อยูโร นับเป็นครั้งแรกที่ค่าเงิน 2 สกุลหลักเคลื่อนไหวใกล้เคียงกันที่สุดในรอบ 20 ปี โดยค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีที่ผ่านมา หลังจากเดือนมิ.ย. 64 ค่าเงินยูโรต่อดอลลาร์สหรัฐยังอยู่ที่ $1.22 ต่อยูโร
Jerome Powell ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เตือนภาวะเงินเฟ้อในปัจจุบันที่ยังไม่สามารถควบคุมได้ และอยู่ในระดับสูงที่สุดในรอบ 40 ปี อาจส่งผลเสียหายต่อเศรษฐกิจสหรัฐ และตนไม่สามารถให้คำมั่นสัญญาได้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะชะลอตัวลงแบบ Soft Landing (เศรษฐกิจชะลอตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป) เนื่องจากในความหมายของ Soft Landing คือการทำให้เงินเฟ้อกลับไปอยู่ที่ระดับ 2% พร้อมกับตลาดแรงงานยังคงแข็งแกร่ง แต่มีหลายความท้าทายที่ทำให้การบรรลุเป้าหมายดังกล่าวไม่ง่ายนักในช่วงเวลาเช่นนี้
หลายคนคงได้ยินข่าวกันมาบ้างในช่วงที่ผ่านมาว่า FED จะทำ QE Tapering แล้วแบบนี้เราจะปรับพอร์ตการลงทุนอย่างไรดี มาดูกันเลย…