×

Wealth Me Up ข่าวสั้น ทันเศรษฐกิจ

#เราต้องรอด : Sell in May and go away จริงมั้ย?

3,133

 

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

 

#เราต้องรอด Special “Sell in May and go away…จริงมั้ย?”

 

กับ เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ฝ่ายวิจัย บล.เอเซียพลัส

 

…หุ้นไทย 10 ปี Sell in May กี่ปี?

…เดือน 5 ติดลบเฉลี่ยแค่ไหน?

…หุ้นปันผลดี ‘ผู้รอด’ จาก COVID-19 และ Sell in May

 

นาทีที่ 0:52 : ที่มาของคำว่า “Sell in May”

นาทีที่ 2:46 : SET เดือนพ.ค. เฉลี่ย -1.99% และติดลบ 8 ใน 10 ปี

นาทีที่ 3:58 : COVID-19 ทำให้ “Sell in May ชัดขึ้น”

นาทีที่ 6:48 : คาดเดือนพ.ค. SET ไม่หลุด 1,100 จุด

นาทีที่ 8:49 : แย่สุด Q2 แต่ตลาดหุ้น Price in แล้ว

นาทีที่ 10:56 : COVID-19 หนักกว่าทุกวิกฤต

นาทีที่ 14:30 : ลุ้นหุ้น V Shape และหุ้นผู้รอด

นาทีที่ 17:29 : “วิกฤต” สร้างเศรษฐีหน้าใหม่ขึ้นมาเสมอ

 

Sell in May” คืออะไร ?

 

เป็นการดูแนวโน้มหุ้นในอดีตที่ผลตอบแทนในช่วงเดือนพฤษภาคม(May) มักจะติดลบ สาเหตุอาจจะมาจากในช่วงต้นปีนักลงทุนต่างมองว่าตัวเลขเศรษฐกิจจะดี เมื่อเวลาผ่านไตรมาส 1 ของปีไปก็เริ่มเปลี่ยนมุมมองเป็น Negative มากขึ้น รวมทั้งในช่วงเดือนพฤษภาคมก็จะมีการประกาศผลประกอบการของไตรมาสที่ 1 และมีการปรับตัวเลขการประมาณการณ์ต่างๆ ในช่วงนี้เยอะ ทำให้นักลงทุนเกิดการ “Sell” ในช่วงของเดือน “May” นั่นเอง

 

Sell in May” จากสถิติเป็นยังไง ?

 

จากสถิติย้อนหลัง 10 ปี อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยในเดือนพฤษภาคมอยู่ที่ -1.99% และใน 10 ปี มีปีที่ผลตอบแทนในเดือนพฤษภาคมติดลบถึง 8 ปี

 

COVID-19 ทำให้ “Sell in May” ปีนี้เป็นอย่างไร?

 

จากวิกฤต COVID-19 อาจทำให้ภาพของ “Sell in May” ชัดขึ้น โดยต้นปีนี้มีการมองเศรษฐกิจในภาพบวก จนมาถึงตอนนี้ก็ถูกเปลี่ยนเป็นภาพลบที่รุนแรงขึ้น ซึ่งมีสถานการณ์ COVID-19 มาเพิ่มแรงกดดันนั่นเอง โดยจากสถิติแล้วดัชนีจะติดลบในช่วงเดือนพฤษภาคมแต่จะกลับขึ้นมาได้ในช่วงเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม ซึ่งในปีนี้ก็มองว่ารูปแบบการปรับตัวก็คาดว่าจะเป็นแบบนี้เช่นเดียวกัน และคาดว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยในเดือนพฤษภาคมนี้ไม่น่าจะลงไปต่ำกว่า 1,100 จุด

 

วิกฤตรอบนี้หนักแค่ไหน?

 

วิกฤตรอบนี้หนักกว่าทุกรอบที่เคยเจอ เพราะถ้าสังเกตเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจเกือบทุกตัวแทบจะดับหมดและไม่มีการเคลื่อนไหวเลย หากย้อยไปดูช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง แม้การบริโภคภายในประเทศลด การลงทุนภาคเอกชนและการใช้จ่ายของรัฐบาลลด แต่ภาคการค้าระหว่างประเทศยังดำเนินไปได้ เพราะเงินบาทอ่อนค่าในช่วงนั้น แต่ว่าในรอบนี้การบริโภคภายในประเทศก็ชะลอ อีกทั้งปริมาณการค้าระหว่างประเทศอาจะติดลบประมาณ 12.5% ซึ่งก็หมายความว่าวิกฤตรอบนี้ไม่สารถพึ่งพาการส่งออกได้ และแน่นอนว่าการลงทุนภาคเอกชนก็ต้องชะลอตัวลงตามไปด้วย ซึ่งตัวที่จะทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้นมาได้คงต้องพึ่งการอัดฉีดของภาครัฐไปสู่ภาคการบริโภคของประชาชน

 

หากมองตัวเลขการคาดการเติบโตทางเศรษฐกิจพบว่า ในวิกฤตครั้งนี้คาดการณ์ตัวเลขติดลบมากว่าทุกครั้งที่ผ่านมา อย่างเช่นช่วงวิกฤตซับไพรม์ IMF คาดการณ์ GDP โลก ติดลบแค่ 1%  ช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง GDP ก็ไม่ติดลบ แต่ในวิกฤตรอบบนี้ IMF คาดการณ์ GDP โลก ติดลบถึง 3%

 

หุ้นที่เป็น “ผู้รอด” ในวิกฤตครั้งนี้

 

ต้องยอมรับว่าวิกฤตรอบนี้กระทบทุกอุตสาหกรรม แต่จะมากหรือน้อยแตกต่างกันไป ดังนั้นจึงให้น้ำหนักกับหุ้นที่จ่ายปัยผลสม่ำเสมอ อย่างเช่น RATCH, DCC และ LH  ต่อมาต้องดูว่าหากมีการผ่อนคลายมาตรการลงหุ้นกลุ่มไหนที่จะได้ประโยชน์มากขึ้น อย่างเช่น ร้านอาหาร หรือ รถไฟฟ้า เป็นต้น

 

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats