×

Wealth Me Up ให้เงินทำงาน

สิทธิต้องรู้ ของคนตกงาน

8,182

 

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

ปลดคน ลดคน ปรับโครงสร้างองค์กร…คำเหล่านี้ได้ยินทีไร ใจคอไม่ค่อยสู้ดีทุกที แต่หากเกิดขึ้นจริงกับเรา มีสิทธิประโยชน์อะไรบ้างที่คนตกงานต้องรู้ เพื่อช่วยบรรเทาฝันร้ายนั้นลงได้บ้าง

 

เงินทดแทนการว่างงานจากประกันสังคม

สำหรับคนที่มีอายุงานและจ่ายประกันสังคม 6 เดือนขึ้นไป มีสิทธิขอรับเงินทดแทนได้ 50%ของเงินเดือน แต่ไม่เกินเดือนละ 7,500 บาท เป็นเวลา 6 เดือน โดยต้องติดต่อสำนักงานจัดหางานของรัฐทาง https://empui.doe.go.th เพื่อ (1) ขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานภายใน 30 วันนับตั้งแต่ตกงาน (2) รายงานตัวตามกำหนดผ่านอินเทอร์เน็ตไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง และ (3) ฝึกงานตามกำหนด

 

สิทธิรักษาพยาบาลจากประกันสังคม

สำหรับคนที่เคยจ่ายประกันสังคม 3 เดือนขึ้นไป แม้ตกงานและไม่ได้จ่ายประกันสังคมแล้วยังคงได้รับสิทธิในสถานพยาบาลต่างๆ เหมือนเดิม เป็นเวลา 12 เดือนนับตั้งแต่เดือนที่ตกงาน

 

เงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน

สำหรับคนที่มีอายุงาน 4 เดือนขึ้นไป หากถูกเลิกจ้างโดยไม่สมัครใจ มีสิทธิได้เงินชดเชยขั้นต่ำตามกฎหมายเท่ากับเงินเดือน 1 เดือน และจะได้รับเงินชดเชยเพิ่มขึ้นเมื่ออายุงานมากขึ้น โดยจะได้รับเงินชดเชยสูงสุดเท่ากับเงินเดือน 10 เดือนสุดท้ายก่อนตกงาน หากมีอายุงาน 10 ปีขึ้นไป

 

โดยเงินชดเชยนี้ รวมถึงเงินก้อนพิเศษอื่นๆ ที่ได้จากนายจ้าง ต้องนำไปยื่นภาษีในช่วง ม.ค.มี.ค. ของปีถัดไป โดยภาษีที่เกิดขึ้นมักไม่สูงนัก เพราะได้รับสิทธิการคำนวณแบบพิเศษ เช่น กรณีถูกเลิกจ้างโดยไม่สมัครใจ จะได้รับการยกเว้นเงินชดเชยในส่วนที่ไม่เกินเงินเดือน 10 เดือนสุดท้าย แต่สูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท สำหรับเงินส่วนที่เหลือหากมีอายุงาน 5 ปีขึ้นไป สามารถเลือกคำนวณภาษีแบบ ใบแนบฯ ภ.ง.ด.91/90” เป็นต้น

 

เงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

ซึ่งเป็นเงินที่ตนเองและนายจ้างร่วมกันสะสมไว้ทุกเดือนตลอดการทำงานที่ผ่านมา พร้อมกับผลตอบแทนที่เกิดขึ้นด้วย โดยเงินจากกองทุนนี้หากนำออกมาใช้จ่ายต้องนำเงินที่ได้ไปคำนวณภาษีด้วย (เงินสะสมส่วนของตนเองได้รับยกเว้น และกรณีอายุงาน 5 ปีขึ้นไป เลือกใช้ใบแนบฯ ได้)

 

ดังนั้นหากยังไม่จำเป็นต้องนำเงินกองทุนฯออกมา หรือไม่ต้องการเสียภาษีส่วนนี้ สามารถ (1) โอนย้ายเงินลงทุนไปยังกองทุน RMF ที่นโยบายการลงทุนเหมาะสมกับตนเอง เพื่อโอกาสสร้างผลตอบแทนในระยะยาว หรือ (2) หากหางานใหม่ได้และที่ทำงานใหม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สามารถเลือกโอนย้ายเงินลงทุนไปกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแห่งใหม่ได้ หลังผ่านการทดลองงาน

 

“ตกงาน” แม้เป็นสิ่งที่ไม่อยากให้เกิดแต่เมื่อเกิดแล้วสิ่งสำคัญที่สุดคือ การตั้งสติ แล้วเช็คสถานะตนเองว่าต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายใดบ้าง เงินในกระเป๋ามีเท่าไร รวมถึงสิทธิต่างๆ ที่ได้รับ เพื่อประเมินว่าต้องปรับตัวอย่างไร เงินและสิทธิที่ได้รับเพียงพอกับการดำรงชีวิตได้นานแค่ไหน และวางแผนการเริ่มต้นงานใหม่ให้เร็วที่สุดไม่ว่าจะเป็นงานประจำหรืองานอิสระก็ตาม เพราะอย่าลืมว่ายังมีสมาชิกในครอบครัวอีกหลายคนเฝ้ารอการเริ่มต้นใหม่ของเราอยู่

 

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats