×

Wealth Me Up ให้เงินทำงาน

หุ้นถูก หุ้นแพง ดูง่ายเรื่องหมูๆ

26,138

 

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

คำพูดสุดฮิตของนักลงทุนรายย่อยที่ได้ยินกันทุกวัน หนีไม่พ้น “ขายหมู” กับ “ติดดอย” ซึ่งทุกคนล้วนผ่านประสบการณ์นี้ ส่วนจะเจอบ่อยมากน้อยแค่ไหน บอกได้ว่าไม่ได้มาจากโชค แต่มาจากฝีมือของแต่ละคนล้วนๆ พูดง่ายๆ ถ้าเจ็บแล้วจำแล้วนำไปเป็นบทเรียนก็จะกลายเป็นนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จ ตรงข้ามเจ็บแล้วไม่จำก็จะย่ำอยู่กับที่

 

เพื่อป้องกันไม่ให้พบเจอกับการขายหมูและติดดอยอีก มี 3 วิธีแสนง่าย ในการประเมินความ “ถูก” หรือ “แพง” ของหุ้น ที่นักลงทุนทุกคนนำไปใช้ได้ ไม่ว่าตลาดหุ้นจะอยู่ในสภาพไหน คือ การใช้อัตราส่วนทางการเงิน ซึ่งที่นิยมใช้กันได้แก่

 

1. P/E Ratio | ซื้อวันนี้ อีกกี่ปีคืนทุน

เป็นอัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างราคาตลาดของหุ้น ต่อกำไรสุทธิต่อหุ้นที่บริษัททำได้ในรอบปีล่าสุด เป็นค่าที่จะได้ยินบ่อยที่สุด เนื่องจากสามารถนำมาเปรียบเทียบได้ทั้งหุ้นรายตัวและสภาพตลาดโดยรวม

 

ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อธิบายว่า P/E Ratio สามารถประมาณการจุดคุ้มทุนให้กับนักลงทุนได้ เช่น หุ้น A ราคา 10 บาท มีกำไรต่อหุ้น 1 บาท ดังนั้น P/E Ratio เท่ากับ 10 บาท หรือนักลงทุนจะได้ทุน 10 บาทคืนเมื่อถือหุ้น A ครบ 10 ปี ซึ่งเป็นแนวคิดเบื้องต้นที่ทำให้คิดว่าควรซื้อหุ้น P/E Ratio ต่ำๆ และขายหุ้น P/E Ratio สูงออกไป

 

หุ้นที่มีแนวโน้มของกำไรเพิ่มขึ้น หรือเรียกว่าหุ้นเติบโต (Growth Stock) หุ้นเหล่านี้จะมี P/E Ratio สูง แต่ถ้าต้องการดูว่าสูงจนแพงเกินราคาหรือไม่ ต้องดูที่ P/E Ratio ไม่เกินการขยายตัวของกำไร เช่น ถ้าคาดว่าหุ้นจะมีกำไรโต 15% ต่อปีก็ไม่ควรมี P/E Ratio เกิน 15 เท่า หรือนำ P/E Ratio หารด้วยการขยายตัวของกำไร ถ้าได้ต่ำกว่า 1 มากเท่าไหร่ก็ยิ่งดี

 

2.P/BV Ratio | ยิ่งต่ำ ยิ่งดี

เป็นอัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างราคาตลาดของหุ้นต่อมูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น ซึ่งหุ้นที่มี P/BV Ratio ต่ำ ย่อมจะดีกว่าหุ้นที่มี P/BV Ratio สูง ค่านี้เป็นที่นิยมเนื่องจากหาได้ง่ายจากงบการเงิน แต่อาจเบี่ยงเบนจากมาตรฐานได้ถ้าใช้มาตรฐานบัญชีที่แตกต่างกัน และไม่เหมาะที่จะใช้กับธุรกิจบริการที่มีการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรน้อย

 

โดย P/BV Ratio จะบอกให้นักผู้ลงทุนทราบว่าราคาหุ้น ณ ขณะนั้น สูงเป็นกี่เท่าของมูลค่าทางบัญชีของหุ้นดังกล่าว ดังนั้น ยิ่งซื้อหุ้นได้ต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชีมากเท่าไหร่ (P/BV Ratio ต่ำ) หมายความว่าสามารถซื้อหุ้นได้ในราคาต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชีของบริษัท ซึ่งตามตำราทั่วๆ ไปก็จะบอกว่า P/BV Ratio ยิ่งต่ำยิ่งดี

 

อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติการใช้ P/BV Ratio ตัดสินลงทุน โดยเฉพาะการเลือกหุ้น P/BV Ratio ต่ำๆ อาจจะไม่ประสบความสำเร็จ หรือได้กำไรเสมอไป เพราะในความเป็นจริงคงไม่มีบริษัทไหนขายทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อมาจ่ายหนี้ แล้วนำเงินที่ได้นั้นมาจ่ายให้กับผู้ถือหุ้น

 

กระนั้นก็ดี หุ้น P/BV Ratio ต่ำ จะช่วยลดความเสี่ยงจากการขาดทุนได้ เพราะหากหุ้นมีราคาถูกกว่าทรัพย์สินมากๆ ก็มีโอกาสถูกซื้อกิจการ อาจจะทำให้ราคาปรับขึ้นได้

 

3.Dividend Yield | ยิ่งสูง ยิ่งดี

เป็นการวัดอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล เทียบกับราคาหุ้น เพื่อดูผลตอบแทนว่าหากลงทุนซื้อหุ้น ณ ระดับราคาตลาดปัจจุบัน จะมีโอกาสได้รับเงินปันผลคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นของราคาหุ้น หากหุ้นตัวใดมีค่านี้สูงแสดงว่าราคาตลาดไม่แพงหากเทียบกับเงินปันผลที่จะได้รับ ยกตัวอย่าง

 

หุ้น A – เงินปันผลต่อหุ้น คือ 6 บาท, ราคาปิดปัจจุบันอยู่ที่ 90 บาท ดังนั้น Dividend yield = 5.5 %

หุ้น B – เงินปันผลต่อหุ้น คือ 6 บาท, ราคาปิดปัจจุบันอยู่ที่ 130 บาท ดังนั้น Dividend yield = 4.61%

 

หุ้น A ให้เงินปันผลตอบแทน (Dividend Yield) ที่สูงกว่า เนื่องจากหุ้น  A  มีราคาที่ถูกกว่า ในขณะที่หุ้นทั้ง 2 จ่ายเงินปันผลเท่ากัน คือ 6 บาท

 

หรืออีกนัยหนึ่งคือ หากเราลงทุนในหุ้น A โดยซื้อที่ราคา 90 บาท และหุ้น A จ่ายเงินปันผลเท่าเดิม เราจะได้รับผลตอบแทนจากเงินปันผล 5.5 % ต่อปีนั่นเอง

 

อย่างไรก็ตาม Dividend Yield คำนวณจากการจ่ายเงินปันผลในอดีต ในรอบ 1 ปี ที่ผ่านมา ไม่สามารถรับรองได้ว่า การจ่ายเงินปันผลจะเหมือนเดิมในอนาคต นอกจากนี้เงินต้นจากการลงทุน จะเปลี่ยนแปลงไปตามราคาหุ้นที่เปลี่ยนไปเมื่อทำการขายหุ้น ดังนั้นตัวเลขเงินปันผลจึงเป็นเพียงตัวบ่งชี้ เพื่อการตัดสินใจของนักลงทุนเท่านั้น

 

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats