×

Wealth Me Up ให้เงินทำงาน

เข้าใจผิด เข้าใจใหม่…ก่อนซื้อ Unit Linked

14,460

 

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

รู้ไหมว่า…ตอนนี้เรื่องที่คนร้องเรียนเข้ามาที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) มากที่สุดคือเรื่องอะไร?
ถ้าเดาไม่ถูก ขอเฉลยว่า…กรณีประกันชีวิต Unit Linked

 

เหตุที่เป็นแบบนั้นเพราะ คนส่วนใหญ่เกิดความเข้าใจผิด และคาดหวังในสิ่งที่ตนเองไม่รู้หรือไม่เข้าใจ ซึ่งจริงๆ แล้ว หลายๆ อย่างเกี่ยวกับ Unit Linked ต่างจากที่เข้าใจอย่างสิ้นเชิง

 

วันนี้เลยขออธิบายความเข้าใจผิดบางอย่างให้กระจ่างขึ้น

 

กรมธรรม์ประกันชีวิต Unit Linked คือ สัญญา ไม่ใช่กองทุนแถมประกัน

หลายคนเข้าใจผิดว่า ประกันชีวิตรูปแบบนี้ คือ กองทุนรวมแถมประกัน เมื่อซื้อแล้วจะหยุดซื้อเมื่อไหร่ก็ได้

 

ความจริงคือ ถ้าเป็นประกันชีวิต Unit Linked แบบชำระเบี้ยประกันรายงวด อย่างเช่นทุกปีจนครบอายุกรมธรรม์ (โดยทั่วไปจนถึงผู้เอาประกันมีอายุ 99 ปี) ถ้าไม่อยากให้กรมธรรม์ขาด เราต้องชำระเบี้ยไปเรื่อยๆ อย่างน้อยก็ต้องจ่ายให้มากกว่าค่าการประกันภัย ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่บริษัทประกันคิด ไม่ว่าจะจ่ายโดยตรงหรือจ่ายจากกองทุนรวมที่เราลงทุนในประกันชีวิต Unit Linked

 

ที่แน่นอน คือ ค่าการประกันภัยที่ต้องจ่าย ที่ไม่แน่นอน คือ ผลตอบแทนของกองทุน

สำหรับ Unit Linked บริษัทประกันชีวิตจะหักค่าการประกันภัยจากเบี้ยที่เราจ่ายหรือจากเงินในกองทุนของเราทุกเดือน โดยค่าการประกันภัย คือ ค่าธรรมเนียมที่เราในฐานะผู้เอาประกันภัยจ่ายเพื่อเป็นค่าความคุ้มครองชีวิต

 

ค่าการประกันภัยจะเพิ่มขึ้นเมื่อความเสี่ยงเราเพิ่มขึ้น เช่น อายุมากขึ้น  ฯลฯ ค่าการประกันภัยจึงเปรียบเหมือนภาระค่าใช้จ่ายที่จำเป็นของเราที่เพิ่มขึ้นทุกๆ ปี

 

แต่รายได้ของประกันชีวิต Unit Linked  คือ ผลตอบแทนจากกองทุนรวมมีขึ้นมีลง มีกำไร มีขาดทุน ขึ้นอยู่กับกองทุนที่เราเลือกลงทุน ถ้าผลตอบแทนได้น้อยหรือขาดทุน ก็เหมือนเรามีรายได้น้อยไม่พอชำระหนี้ สุดท้ายอาจต้องสูญเสียความคุ้มครองไป

 

ผลตอบแทนที่แสดงคือ ของสมมติ ผลตอบแทนที่ได้คือ ของจริง  

ผลตอบแทนที่บริษัทประกันชีวิตแสดงในเอกสารประกอบการขายประกันชีวิต Unit  Linked เช่น 3%, 5%, 8%, ฯลฯ เป็นผลตอบแทนสมมติทั้งสิ้น

 

ในชีวิตจริง ผลตอบแทนมีขึ้นมีลง ไม่เท่ากันทุกปี บางปีอาจขาดทุนได้ หากต้องการผลตอบแทนสูงเช่น 5% หรือ 8%/ปี ก็ต้องพร้อมที่จะยอมรับการขาดทุนได้

 

ความคุ้มครองไม่ใช่หยุดที่อายุกรมธรรม์ อาจหยุดก่อนเมื่อเงินเราหมด

ถ้าผลตอบแทนจากกองทุนรวมน้อยกว่าค่าการประกันภัย ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เพิ่มขึ้น สุดท้ายเมื่อเงินจากกองทุนรวมไม่พอจ่ายค่าการประกันภัย ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในปีไหน ความคุ้มครองก็จะหมดในปีนั้นก่อนจะครบอายุกรมธรรม์

 

ถ้าอยากให้ประกัน Unit  Linked คุ้มครองต่อ เราก็ต้องจ่ายเบี้ยประกันเพิ่ม

 

ของฟรีไม่มีในโลก ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ Premium Holiday

Premium Holiday หรือการหยุดพักชำระเบี้ยประกันภัยที่หลายคนเข้าใจผิดว่าให้ความยืดหยุ่นเราสูง ที่จะไม่จ่ายเบี้ยประกันในบางปีที่เราไม่พร้อมได้ แต่ความจริงก็คือ เมื่อเราไม่จ่ายเบี้ย บริษัทประกันก็จะขายกองทุนรวมของเราออกมาเพื่อชำระค่าการประกันภัย ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายแทน

 

ยิ่งเราหยุดจ่ายเบี้ยนานเท่าไหร่ เงินกองทุนรวมของเราก็จะหมดเร็วมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้น Premium Holiday ไม่ใช่บริษัทประกันไม่คิดเบี้ย แค่เปลี่ยนคนจ่ายจากเราเป็นกองทุนของเราเท่านั้น

 

กองทุนรวมที่เสี่ยงสำหรับการลงทุนในประกัน Unit Linked คือ กองทุนตราสารหนี้

ถ้ามองความเสี่ยงคือ การขาดทุน กองทุนตราสารหนี้หรือกองทุนตลาดเงินจะมีความเสี่ยงต่ำ แต่ถ้ามองว่ากองทุนแบบไหนที่จะทำให้ค่าการประกันภัย ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่บริษัทประกันคิดกับเรามากินเงินต้นในกองทุนรวมของเรา คำตอบก็คือ กองทุนตราสารหนี้และกองทุนตลาดเงิน เพราะผลตอบแทนของกองทุนต่ำกว่าอัตราค่าการประกันภัย ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายที่บริษัทประกันคิด

 

ถ้าอยากให้ผลตอบแทนกองทุนโตมากกว่าอัตราค่าการประกันภัย ค่าธรรมเนียม ฯลฯ ก็ต้องมีกองทุนหุ้นในพอร์ตด้วย แต่เมื่อโอกาสของผลตอบแทนสูงเพิ่มขึ้น ความเสี่ยงก็เพิ่มขึ้นด้วย

 

เงินลงทุนในกองทุนรวมโดยตรงได้ NAV วันที่ซื้อ เงินลงทุนในกองทุนรวมผ่าน Unit Linked ได้ NAV หลังวันจ่ายเบี้ย

ถ้าเป็นการซื้อกองทุนรวมปกติไม่ว่าจะผ่านธนาคารหรือที่ บลจ. โดยตรง NAV ที่ได้จะเป็น NAV ณ วันที่เราจ่ายเงินซื้อ

 

แต่สำหรับการซื้อกองทุนรวมผ่านประกัน Unit  Linked โดยทั่วไปจะได้ NAV หลังวันที่เราจ่ายเบี้ย โดยทั่วไปจะภายใน 3 วันทำการถัดจากวันที่บริษัทประกันได้ รับชำระเบี้ย

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats