×

Wealth Me Up ใช้แรงทำเงิน

3 เคล็ดลับบริหารเงินเดือนให้เหลือเก็บ

12,237

 

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

มนุษย์เงินเดือนหลายคนอาจบอกว่า แค่ใช้เงินเดือนให้พอในแต่ละเดือนก็ยากมากอยู่แล้ว อย่าว่าแต่มีเหลือเก็บออมเลย นั่นอาจเป็นเพราะว่าคุณยังไม่สามารถบริหารเงินได้ดีพอ

 

มาดู 3 เคล็ดลับในการบริหารเงินเดือนให้พอใช้จ่ายอย่างมีความสุข และยังมีเงินเหลือเก็บออมได้อีกด้วย ไม่ต้องปวดหัวกับเงินเดือนชนเดือนอีกต่อไป

 

1.ทำบัญชีแห่งความสมดุล

บัญชีแห่งความสมดุล คือ รายได้ – เงินออม = รายจ่าย

เทคนิคคือ เมื่อมีเงินเดือนและรายได้เข้ามาในแต่ละเดือน ให้หักเป็นเงินออมไว้ก่อนเลย โดยเงินออมที่หักไว้ อาจจะเริ่มต้นที่ 10% ของรายรับ แต่หากอยากมีเงินออมมากๆ ก็สามารถหักเงินออมเพิ่มได้ แล้วเงินที่เหลือค่อยนำไปใช้จ่าย ซึ่งเทคนิคนี้ ทำให้มั่นใจได้ว่า มีเงินออมแน่นอน นอกจากนี้ยังเป็นการฝึกวินัยในการใช้จ่ายอีกด้วย

 

2.ทำรายจ่ายประจำเดือน

รายจ่ายประจำเดือน คือ สิ่งที่บ่งบอกถึงการใช้จ่ายของเราในแต่ละเดือนว่าได้ใช้เงินไปอย่างไรบ้าง เพื่อให้สามารถตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปได้ แบ่งออกเป็น

– รายจ่ายคงที่ คือ ค่าใช้จ่ายที่ สามารถประมาณการล่วงหน้าได้ เช่น ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าผ่อนชำระสินค้าต่างๆ เป็นต้น

– รายจ่ายผันแปร คือ รายจ่ายที่ไม่เท่ากันในแต่ละเดือน ทำให้ยากต่อการประมาณการ เช่น ค่างานเลี้ยงสังสรรค์ ค่าท่องเที่ยว ค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น

ในส่วนนี้รวมถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดจากเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ดังนั้นการสำรองเงินเผื่อไว้สำหรับกรณีฉุกเฉินประมาณ 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายรายเดือน จะสามารถช่วยผ่อนหนักเป็นเบาได้

 

เคล็ดลับในการจ่ายค่าใช้จ่ายเหล่านี้ ให้เกิดประโยชน์และปลอดภัย คือ ให้เลือกชำระค่าใช้จ่ายแบบอัตโนมัติ เช่น ตัดบัญชีอัตโนมัติ ที่ทำให้สะดวกรวดเร็วกว่าการไปจ่ายด้วยตัวเอง อีกทั้งยังป้องกันการลืมจ่าย ซึ่งอาจต้องเสียค่าปรับ  หรือ การเลือกจ่ายค่าโทรศัพท์ ค่าอินเทอร์เน็ต ด้วยบัตรเครดิต ก็จะได้คำแนนสะสมจากบัตรด้วย

 

3.แบ่งบัญชีเงินออม 3 ระยะ

– เงินออมระยะสั้น เป้าหมายไม่เกิน 1-3 ปี เป็นเงินก้อนที่กำหนดชัดเจนว่าจะนำไปใช้ทำอะไรบ้างในระยะสั้นๆ เช่น เอาไว้ท่องเที่ยว , สำหรับวางแผนเงินฉุกเฉิน หรือเก็บไว้ซื้อของที่อยากได้ เงินออมระยะสั้นนี้ เน้นไปทางสร้างสภาพคล่องที่เปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็ว เช่น ฝากออมทรัพย์ หรือ กองทุนรวมตลาดเงิน เป็นต้น

– เงินออม ระยะกลาง เป้าหมายระยะ 3-5 ปี เป้าหมายเงินออมระยะกลาง เช่น วางแผนการศึกษาให้ลูก ดาวน์บ้าน ผ่อนบ้าน  วางแผนแต่งงาน เงินออมระยะกลางควรเก็บในรูปแบบความเสี่ยงปานกลางถึงสูง เช่น ฝากประจำ กองทุนรวมหุ้น หุ้นสามัญ ตราสารหนี้ (พันธบัตร หุ้นกู้) ประกันแบบออมทรัพย์ เป็นต้น

 

– เงินออม ระยะยาว เป้าหมายระยะยาวเกิน 5 ปีขึ้นไป เป็นเงินออมที่ไว้ใช้ในยามเกษียณ ซึ่งควรเก็บในรูปแบบความเสี่ยงต่ำ และได้รับผลตอบแทนสม่ำเสมอ เช่น ประกันชีวิตแบบบำนาญ หุ้นปันผลสูง RMF พันธบัตร เป็นต้น

ที่สำคัญอย่าลืมว่า “การไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ” ไม่ควรก่อหนี้ที่ไม่จำเป็น เพื่อที่จะได้มีเงินใช้และเหลือเก็บ และสามารถใช้ชีวิตแบบยิ้มได้ทั้งเดือนอย่าวแน่นอน

 

ที่มา : เรียบเรียงจาก Krungsri Guru

 

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats