×

Wealth Me Up ใช้แรงทำเงิน

เรียกเงินเดือนเพิ่มเท่าไหร่…ได้แน่

11,124

 

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

เคยรู้สึกว่าเงินเดือนที่ได้ไม่คุ้มกับแรงกายแรงสมองที่ลงไปหรือเปล่า? อยากได้เงินเดือนเพิ่ม เท่าไหร่ถึงจะเหมาะ แค่ไหนนายจ้างถึงจ่ายไหวและไม่ปฏิเสธ

 

อยากเจรจาขอขึ้นเงินเดือนให้ Win-Win กันทุกฝ่าย จะทำยังไงกันดี

 

สิ่งแรกที่ต้องทำคือ ต้องหาข้อมูลอัตราเงินเดือนของคนที่มีอาชีพและภาระงานเหมือนกับเราก่อน ลองดูว่างานแบบนี้ในธุรกิจเดียวกัน บริษัทอื่นจ่ายกันเท่าไหร่ โดยสามารถเสิร์ชหาข้อมูลจากบริษัทจัดหางาน หรือถามไถ่จากเพื่อนฝูงหรือคนรู้จักในวงการเดียวกันก็ได้

 

เมื่อได้ข้อมูลมาแล้ว ก็ต้องดูกันต่อว่า ตอนนี้เราอยู่ในสถานการณ์แบบไหน เพราะจะส่งผลต่ออัตราเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นด้วย

 

สถานการณ์แรก ขอเงินเดือนเพิ่มจากที่ทำงานปัจจุบัน

อัตราเงินเดือนเพิ่ม: 10% ของเงินเดือนปัจจุบัน

 

ทำงานที่เดิมมานานแต่รู้สึกตลอดว่า เงินเดือนที่ได้ไม่คุ้มกับงานหนักหนาสาหัสที่รับอยู่ก็น่าจะหาโอกาสเหมาะๆ ขอขึ้นเงินเดือนบ้าง

 

แต่ก่อนจะขอก็ต้องเตรียมตัวให้ดี เริ่มจากรวบรวมผลงานดีๆ เด็ดๆ ของตัวเอง เช่น ช่วยคิดกลยุทธ์ใหม่ๆ ทำให้บริษัทมีรายได้เพิ่มหรือช่วยประหยัดต้นทุน การดูแลลูกค้าอย่างดีเยี่ยม หรือทักษะพิเศษที่คนอื่นไม่มี และเราทำได้คนเดียวหรือเป็นคนส่วนน้อยที่ทำได้และมีประโยชน์ต่อองค์กร

 

พูดเองอาจจะไม่พอ อาจจะต้องยืมเสียงของคนในทีมและลูกค้าที่เห็นและชื่นชมผลงานของเรามาบอกต่อให้เจ้านายรู้ก็ได้

 

เว็บไซต์ CNN อ้างข้อมูลจาก Joel Garfinkle โค้ชนักบริหารและผู้เขียนหนังสือ Get Paid What You’re Worth ว่า ลูกจ้างควรชี้ให้นายจ้างเห็นคุณค่าของตัวเองที่มีประโยชน์ต่อองค์กร และที่ลืมไม่ได้เด็ดขาดก็คือ ตัวเองจะทำอะไรดีๆ ให้องค์กรได้อีกบ้างในอนาคต

 

สถานการณ์ที่ 2 ขอเงินเดือนเพิ่มจากที่ทำงานใหม่

อัตราเงินเดือนเพิ่ม: 15-20% ของเงินเดือนปัจจุบัน หรืออัตราเงินเดือนที่เหมาะสมสำหรับตำแหน่งดังกล่าว

 

การขอขึ้นเงินเดือนในที่ทำงานเดิมอาจไม่ง่ายนัก ดังนั้นหลายคนจึงเลือกหาที่ทำงานใหม่แทน เพราะเป็นโอกาสที่จะได้เงินเดือนเพิ่มเยอะๆ และยังช่วยลบล้างความรู้สึกทำงานเกินเงินเดือนที่เกาะกินใจมานาน

 

หากใครเลือกเดินทางสายนี้ ถ้าเป็นไปได้ควรเก็บเรื่องเงินเดือนไว้คุยหลังสุด โดยเรื่องแรกที่ต้องหยิบยกมาคุยกับ (ว่าที่) นายจ้างก็คือ ตำแหน่งงาน หน้าที่ความรับผิดชอบ และประเด็นอื่นๆ ที่คิดว่ามีความจำเป็นต่อการตัดสินใจว่า ควรจะรับงานนี้หรือไม่ และผลตอบแทนที่เหมาะสมควรจะเป็นเท่าไหร่

 

หากมีข้อมูลเงินเดือนที่ควรจะได้อยู่ในใจแล้ว ระหว่างสัมภาษณ์งานก็ควรโชว์คุณสมบัติและทักษะพิเศษให้เต็มที่ เพื่อให้เข้าตานายจ้างใหม่ ก่อนจะเจรจาผลตอบแทนเป็นเรื่องสุดท้าย

 

สถานการณ์ที่ 3: เปลี่ยนสายงาน

อัตราเงินเดือนเพิ่ม: อาจต่อรองไม่ได้

 

สำหรับบางคนที่เบื่อหน่ายหน้าที่การงานเดิมๆ และอยากลองไปทำอะไรใหม่ๆ ดูบ้างก็อาจต่อรองเรื่องเงินเดือนไม่ได้มากนัก เพราะนายจ้างใหม่มักหยิบยกเรื่องขาดประสบการณ์ตรงมาอ้าง เพื่อให้ลูกจ้างจำเป็นต้องรับเงินเดือนที่บริษัทต้องการจ่าย

 

แต่หากอยากต่อรองเงินเดือนจริงๆ อย่างน้อยให้เท่ากับเงินเดือนเดิม ก็ต้องพยายามกันมากหน่อย ต้องแสดงให้นายจ้างใหม่เห็นว่า ทักษะและประสบการณ์ของเราจะมีประโยชน์กับงานและองค์กรยังไงบ้าง

 

บางคนถ้าเจรจาเก่งๆ สามารถเชื่อมโยงงานใหม่กับงานเดิมได้ดี Selena Rezvani ผู้เขียนหนังสือ Pushback: How Smart Women Ask—and Stand Up—for What You Want ก็บอกว่าอาจขอเงินเดือนเพิ่มประมาณ 5-6% สำเร็จได้สบายๆ

 

แล้วถ้าขอเงินเดือนเพิ่มไม่สำเร็จ จะทำยังไงดี?

 

ถ้าพยายามเต็มที่แล้ว แต่บริษัทไม่ยอมขึ้นเงินเดือนให้ หรือเพิ่มน้อยกว่าที่เราคาดหวังไว้ ก็น่าจะลองขอสวัสดิการอื่นๆ มาชดเชย เช่น ขอวันหยุดเพิ่ม ขอเวลาทำงานแบบยืดหยุ่น ขอเข้าคอร์สอบรมเพิ่มเติม หรือสวัสดิการอื่นๆ อยากได้

 

สุดท้ายแล้ว ไม่ว่าผลลัพธ์จะออกมาแบบไหน ก็ต้องทำงานให้เต็มที่ เต็มฝีมือ เพราะเมื่อผลงานออกมาดี…วันหนึ่ง ผลตอบแทนที่ดีก็ตามมาแน่ๆ

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats