×

Wealth Me Up ให้เงินทำงาน

การคำนวณฐานเงินเพื่อซื้อประกันบำนาญ-RMF-LTF

15,262

 

เมื่อปี 2558 ที่ผ่านมา กรมสรรพากรได้ออกกฎหมายปรับปรุงเงื่อนไขที่เกี่ยวกับการซื้อ RMF หรือ LTF หรือประกันบำนาญ จากเดิม

 

“จำนวนเงินที่ซื้อไปลดหย่อนภาษีของ RMF, LTF หรือ ประกันบำนาญจะคำนวณจากเงินได้ โดยกำหนดให้นำเงินค่าซื้อ RMF ไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้ในแต่ละปีแก้เป็น

“เราสามารถซื้อ RMF หรือ LTF เพื่อนำจำนวนเงินที่ซื้อไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี ในแต่ละปี โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2558”

นั่นหมายความว่าฐานเงินได้ที่เราจะนำมาซื้อประกันบำนาญ RMF หรือ LTF จะลดลงจากการปรับปรุงเงื่อนไขดังกล่าว

 

โดยเงินได้ หมายถึง เงินได้ทุกอย่างที่เราได้รับมาตลอดปีภาษี

 

ส่วนเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี จะหมายความเฉพาะเงินได้ที่เราต้องเสียภาษีให้กรมสรรพากร เช่น เงินเดือน เงินปันผล ค่าจ้าง ค่าคอมมิชชั่น ฯลฯ รวมถึงเงินได้บางอย่างที่เสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายไปแล้ว อย่างเช่นดอกเบี้ยเงินฝากที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% หรือเงินปันผลของหุ้นหรือกองทุนรวมที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% ที่ผู้มีเงินได้สามารถเลือกได้ว่าจะเอามารวมคำนวณเงินได้ปลายปีเพื่อเสียภาษีหรือไม่ก็ได้

 

ดังนั้นจากกฎหมายที่กรมสรรพากรออกมา เงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีเท่านั้น ที่สามารถนำมารวมคำนวณเป็นฐานในการซื้อ RMF, LTF หรือ ประกันบำนาญได้

 

ส่วนเงินได้บางอย่างที่กรมสรรพากรยกเว้นภาษีให้ เช่น กำไรจากการขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ กำไรจากกองทุนรวม รางวัลสลากกินแบ่ง ดอกเบี้ยสหกรณ์ ฯลฯ กฎหมายใหม่ไม่ให้นำมารวมในการคำนวณเป็นฐานเพื่อซื้อประกันบำนาญ RMF หรือ LTF

 

ยกตัวอย่าง ถ้าเรามีเงินได้จากเงินเดือนปีละ 1,000,000 บาทและในปีนั้นได้เงินปันผลจากหุ้นอีก 500,000 บาท ดอกเบี้ยออมทรัพย์สหกรณ์อีก 300,000 บาท

 

กฎหมายเดิมเรา เราสามารถซื้อ RMF หรือ LTF ได้อย่างละไม่เกิน 15% ของเงินได้ คือไม่เกิน 15% ของ 1,800,000 บาท เท่ากับไม่เกิน 270,000 บาท และสามารถซื้อประกันบำนาญได้ 200,000 บาท (เพราะ 15% ของเงินได้เกินเพดานของประกันบำนาญที่ห้ามเกิน 200,000 บาท)

 

แต่จากกฎหมายที่เปลี่ยน ฐานเงินที่เราจะสามารถนำมาคำนวณเพื่อซื้อ RMF, LTF, ประกันบำนาญ จะมีเพียงเงินเดือน 1,000,000 บาทและเงินปันผลจากหุ้นอีก 500,000 บาทเท่านั้น  (เพราะดอกเบี้ยออมทรัพย์ของสหกรณ์เราไม่ต้องเสียภาษี)  เราสามารถซื้อ RMF หรือ LTF ได้อย่างละไม่เกิน 15% ของเงินได้ คือไม่เกิน 15% ของ 1,500,000 บาท คือ ไม่เกิน 225,000 บาท

แต่การนำดอกเบี้ย หรือ เงินปันผล ฯลฯ ที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไปแล้ว ไปรวมคำนวณเป็นฐาน ก็จะทำให้เงินได้เพิ่มสูงขึ้น ต้องเสียภาษีมากขึ้น หรือ ถ้าเอามารวมคำนวณเป็นฐานในการซื้อ RMF, LTF หรือ ประกันบำนาญโดยไม่กรอกในช่องเงินได้พึงประเมิน ระบบของกรมสรรพากรจะล็อคไว้ไม่ให้กรอกได้เกินเพดานที่สรรพากรให้

 

จากแบบ ภงด.ปีภาษี 2559 กรมสรรพากรได้แก้ปัญหานี้ โดยให้เราสามารถกรอกเงินได้พึงประเมินที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไปแล้ว และเลือกไม่นำมารวมคำนวณเงินได้ปลายปี ได้ในช่อง “เงินได้พึงประเมินที่ได้ใช้สิทธิเลือกเสียภาษี โดยไม่ต้องนำมาคำนวณภาษีกับรายได้อื่น (เพื่อนำไปเป็นฐานในการคำนวณซื้อหน่วยลงทุนใน RMF หรือ LTF)

 

แต่ข้อควรระวังก็คือ เงินได้ที่จะกรอกในช่องนี้ได้ ต้องเป็นเงินได้พึงประเมินที่เสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย ไปแล้ว และเราไม่อยากเอารวมคำนวณเป็นฐานเงินได้เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาดังที่กล่าวมาแล้วเท่านั้น ไม่รวมเงินได้ที่ยกเว้นภาษี ไม่งั้นเราอาจต้องเสียภาษีเพิ่มเป็นโทษมากกว่าเป็นคุณ

 

#WealthMeUp

 

กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

Related Stories

amazon anti fatigue mats