×

Wealth Me Up คำพ่อสอน

จ. แจ๊ส

2,191

 

แจ๊สคือแนวเพลงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ โปรด และทรงเป็นนักดนตรีแจ๊สที่เปี่ยมด้วยพระปรีชา ทรงใช้ปฏิภาณในช่วงการเล่นเดี่ยว หรือช่วงที่นักดนตรีบรรเลงโดยแต่งทำนองขึ้นอย่างฉับพลันได้ยอดเยี่ยม และทรงสามารถเล่นเพลงโต้ตอบอย่างครื้นเครงกับนักดนตรีอื่นๆ

 

พระองค์เคยทรงดนตรีร่วมกับนักดนตรีแจ๊สที่มีชื่อเสียงระดับโลก เช่น เบนนี กู๊ดแมน (Benny Goodman) แจ๊ก ทีการ์เด้น (Jack Teagarden) นักตีระนาดเหล็กสากล ไลออเนล แฮมป์ตัน (Lionel Hampton) นักเป่าทรัมโบน และสแตน เก็ตซ์ (Stan Getz) นักเป่าเทเนอร์แซ็กโซโฟน รวมทั้งวงดนตรีในประเทศต่างๆ ซึ่งพระองค์เสด็จพระราชดำเนินเยือน นอกจากนี้ผลงานเพลงพระราชนิพนธ์ที่ทรงนำไปเผยแพร่ก็ได้รับการยกย่องว่ามีความไพเราะยิ่ง จึงเป็นที่ประจักษ์ต่อนานาประเทศว่าพระองค์เป็นนักดนตรีแจ๊สผู้มีอัจฉริยะภาพสูงส่ง จนมีคำเรียกขานพระองค์ในฐานะ “The Jazz King”

 

บิล คลินตัน อดีตประธานธิบดีสหรัฐฯ เมื่อเดินทางมาเยือนประเทศไทยในปี พ.ศ. ๒๕๓๙ กล่าวยกย่องในหลวงว่าเป็น

“King of Jazz”

 

ความสนพระราชหฤทัยในเพลงแจ๊สนั้นมีมาตั้งแต่ครั้งทรงพระเยาว์แล้ว ขณะศึกษาอยู่ที่เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทรงใช้เงินส่วนพระองค์ซื้อแผ่นเสียงเพลงของนักดนตรีแจ๊สชาวอเมริกัน เช่น ดุ๊ก เอลลิงตัน (Duke Ellington) เคานต์ เบซี (Count Basie) ส่วนพระเชษฐา รัชกาลที่ ๘ ทรงซื้อแผ่นเสียงของหลุยส์ อาร์มสตรอง (Louis Armstrong) ซิดนีย์ เบเซต (Sidney Bechet) ซึ่งเป็นนักดนตรีแจ๊สชาวอเมริกันเช่นกัน

 

คอลัมน์ “ลัดดาซุบซิบ” เคยบันทึกไว้ว่ารูปแบบดนตรีแจ๊สที่พระองค์โปรด คือ ​Dixieland และ swing

 

“แจ๊สหรือไม่ใช้แจ๊ส…”

 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสครั้งหนิ่งว่า

“ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของข้าพเจ้า จะเป็นแจ๊สหรือไม่ใช่แจ๊สก็ตาม ดนตรีล้วนอยู่ในตัวทุกคนเป็นส่วนที่ยิ่งใหญ่ในชีวิตคนเราสำหรับข้าพเจ้า ดนตรีคือสิ่งประณีตงดงาม และทุกคนควรนิยมในคุณค่าของดนตรีทุกประเภท เพราะว่าดนตรีแต่ละประเภทต่างก็มีความเหมาะสมตามแต่โอกาสและอารมณ์ที่ต่างๆกันไป”

 

ที่มา : หนังสือ ตามรอยพ่อ ก-ฮ  ธ สถิตในดวงใจนิรันดร์

Related Stories

amazon anti fatigue mats