×

Wealth Me Up ให้เงินทำงาน

ซื้อ RMF “เรื่องภาษี” มีแต่ได้!

6,789

 

ถ้าถามว่าสิทธิประโยชน์ทางภาษีระหว่าง RMF LTF และประกันชีวิตแล้ว ผลิตภัณฑ์ไหนดีสุด? คนส่วนใหญ่จะตอบว่า

  1. LTF | เพราะเงื่อนไขลงทุนเพียง 7 ปีปฏิทิน
  2. ประกันชีวิต | เพราะเงื่อนไขอายุกรมธรรม์อย่างต่ำ 10 ปี
  3. RMF | เพราะต้องลงทุนจนถึงอายุ 55 และต้องลงทุนไม่ต่ำกว่า 5 ปี

 

ดูเผินๆ ระยะเวลาการลงทุน (หรือระยะเวลาการจ่ายเบี้ย) อาจเป็นเหตุผลในการพิจารณาที่ดี แต่ต้องไม่ลืมด้วยว่า การออมเงินใน RMF LTF และประกันชีวิต ทั้ง 3 อย่างล้วนเป็นการออมที่มี “เงื่อนไข” (Contractual savings) ดังนั้นหากจะพิจารณาว่าการออมแบบใดให้สิทธิประโยชน์มากที่สุด จึงควรพิจารณา “บทลงโทษกรณีที่ผิดเงื่อนไข” ประกอบด้วย

 

ประกันชีวิต

 

บทลงโทษกรณีผิดเงื่อนไข คือ คืนภาษีที่ได้ลดหย่อน พร้อมเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือน ส่วนผลประโยชน์จากกรมธรรม์ยกเว้นภาษี

 

LTF

 

มีบทลงโทษกรณีผิดเงื่อนไข คือ คืนภาษีที่ได้ลดหย่อน พร้อมเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือน และกำไรที่ได้ต้องนำมารวมคำนวณเงินได้ที่เสียภาษี

จะเห็นได้ว่า “ประกันชีวิต” และ “LTF” จะมีบทลงโทษกรณีผิดเงื่อนไขที่เหมือนกันอยู่ข้อนึง คือ “คืนภาษีที่ได้ลดหย่อน พร้อมเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือน”

 

RMF

 

มีบทลงโทษกรณีผิดเงื่อนไข 2 บท คือ

 

1.กรณีลงทุนไม่ถึง 5 ปี

 

บทลงโทษแรงที่สุดเพราะถือว่าผิดเงื่อนไข ไม่ว่าถอน หรือหยุดซื้อเกิน 1 ปีติดต่อกัน ต้องโดน 2 เด้ง คือ

    1. ต้องคืนภาษี (ไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม 1.5%/เดือนเหมือน LTF หรือ ประกันชีวิต)
    2. กำไรที่ได้ต้องนำมารวมคำนวณเงินได้ที่เสียภาษี

ตัวอย่างเช่น…

 

หากปีนี้เราซื้อ RMF 100,000 บาท ได้เงินภาษีคืนจากสรรพากรมา 20,000 บาท ปีหน้าเราขาย RMF ทั้งก้อนได้เงินมา 130,000 บาท (เป็นเงินต้น 100,000 บาท กำไร 30,000 บาท) เนื่องจากเราถือไม่ถึง 5 ปี เราก็คืนแค่เงินภาษีที่ได้มา 20,000 บาท ให้สรรพากรตอนยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

 

จะเห็นว่าเราไม่ขาดทุนอะไรเลย เท่ากับกรมสรรพากรให้เงินเรายืมใช้ฟรีๆ โดยไม่เสียดอกเบี้ย

 

ส่วนกำไร 30,000 บาท ที่ต้องเสียภาษี (สมมติเสีย 20% ของ 30,000 บาท) 6,000 บาท เราก็ยังมีเงินเหลือ 24,000 บาท สรุปก็ยังมีเงินเหลือในกระเป๋ามากกว่าไม่ซื้อ RMF อยู่ดี และถ้าเราขาดทุน กรมสรรพากรก็ไม่ยุ่งกับเรา

 

2.กรณีลงทุนเกิน 5 ปี แต่อายุไม่ถึง 55 ปี

 

ถือว่าผิดเงื่อนไข ไม่ว่าถอนหรือหยุดซื้อเกิน 1 ปีติดต่อกัน โดนแค่ 1 เด้ง คือ ต้องคืนภาษีย้อนหลัง 5 ปี (ไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือน) ส่วนผลประโยชน์ที่ได้ ไม่ต้องเสียภาษี

 

ตัวอย่างเช่น…

 

สมมติเราถือ RMF มาได้ 9 ปี ซื้อปีละ 100,000 บาท รวมเงินต้น 900,000 บาท ได้ภาษีคืนปีละ 20,000 บาท รวม 9 ปีได้ภาษีคืน 180,000 บาท ถ้าเราขายคืน RMF ในปีที่ 10 ได้เงินมา 1,000,000 บาท (กำไร 100,000 บาท) เราต้องคืนภาษีย้อนหลัง 5 ปี (20,000 บาทต่อปี) แค่ 100,000 บาท (อันนี้เหมือนสรรพากรให้ยืมฟรี) ส่วน 80,000 บาทที่เหลือ สรรพากรไม่ทวงคืน แถมกำไรที่ได้ 100,000 บาทยกเว้นภาษีให้อีก

 

สรุปง่ายๆ ถ้ามองด้าน “ภาษี” อย่างเดียว การลงทุนใน RMF มีแต่ได้กับได้

 

ไม่ว่าจะผิดเงื่อนไขกรณีไหน สำคัญอย่างเดียว ถ้าผิดเงื่อนไขเมื่อไหร่ อย่าลืมไปเสียภาษีให้ถูกต้องภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไปพร้อมกับการยื่นภาษี ภ.ง.ด. ปกติ กรณีนี้เราไม่พูดเรื่องกำไร ขาดทุน จากการลงทุน  เพราะเรื่องนั้นขึ้นอยู่กับนโยบายการลงทุนของ RMF ที่มีหลากหลายนโยบายให้เลือกตามความเหมาะสม

 

#WealthMeUp

 

กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

Related Stories

amazon anti fatigue mats