ปี 2O23 “ไทยยังแจ๋ว” แม้เศรษฐกิจโลกแผ่ว | ลงทุนนิยม EP.243
ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…
Facebook | Line | Youtube | Instagram
ปี 2023 “ไทยยังแจ๋ว” แม้เศรษฐกิจโลกแผ่ว
3:28 | เปิดรายการ
4:20 | อาการป่วยของ ‘เศรษฐกิจ‘ แต่ละประเทศ?
19:13 | จับตา ‘เศรษฐกิจไทย‘ ปีหน้า
25:49 | ความท้าทายใหญ่เศรษฐกิจโลกปี 2023
32:38 | เหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นจากสถานการณ์ปัจจุบัน
34:55 | ’ไทย‘ กับโอกาสเติบโตในปี 2023
ร่วมพูดคุยกับ…
• ดร.กิริฎา เภาพิจิตร
ผอ.นโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
และการพัฒนาสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)
• ศิรัถยา อิศรภักดี
ผู้ดำเนินรายการ
สรุปบทสัมภาษณ์ [ลงทุนนิยม Live | Wealth Me Up]
ปี 2023 “ไทยยังแจ๋ว”
แม้เศรษฐกิจโลกแผ่ว
กับ ดร.กิริฎา เภาพิจิตร
ผอ.นโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศและการพัฒนา
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)
และ เฟิร์น ศิรัถยา อิศรภักดี ผู้ดำเนินรายการ
อาการป่วยของ ‘เศรษฐกิจ’ แต่ละประเทศ?
- สหรัฐฯ: เปรียบเหมือน ‘โรคคอเลสเตอรอลสูง’
เศรษฐกิจที่ร้อนแรง และอุปสงค์ที่สูง ทำให้ราคาสินค้าและบริการเพิ่มสูงตาม เป็นปัญหาจากภายใน ซึ่งมีการให้ยาลดคอเลสเตอรอล (ขึ้นดอกเบี้ย) และหากยาแรงไป (ขึ้นดอกเบี้ยแรง) มีโอกาสเกิด Hard Landing 40%
- ยุโรป: เปรียบเหมือน ‘ไวรัสข้างนอกโจมตี’
เศรษฐกิจน่าเป็นห่วง ปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้จากราคาพลังงานที่สูง คาดมีโอกาสเกิดเศรษฐกิจถดถอย แต่ยังโตได้ 0.5% และมีโอกาสติดลบ
- จีน: เปรียบเหมือน ‘ไวรัสโจมตี–ยังไม่มีวัคซีน’
ซึ่งวัคซีน mRNA ที่ผลิตเองจะแล้วเสร็จในต้นปีหน้า และคาดเศรษฐกิจจะฟื้นตัวเร็วสุดในไตรมาส 3 ปีหน้า รวมถึงยังมีวิกฤตหนี้อสังหาฯ และปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ ทำให้เกิดแรงกดดันด้านการค้า และสงครามด้านเทคโนโลยี คาดว่าจีนยุคใหม่จะโตเฉลี่ยอยู่ที่ 5%
- ญี่ปุ่น: เปรียบเหมือน ‘โรคคนสูงวัย’
เศรษฐกิจโตช้า และต้องพึ่งพาภายนอก (การท่องเที่ยว, ส่งออก) คาดปีหน้าโต 1% กว่า และเงินเยนยังอ่อนค่าต่อไป
- ไทย: เปรียบเหมือน ‘คนยังแข็งแรง’
ในปีหน้าภาคท่องเที่ยวคือตัวขับเคลื่อนหลัก (คาดนักท่องเที่ยว 20 ล้าน ในปี 2023) ภาคการลงทุนในประเทศเริ่มดีขึ้น การส่งออกดีขึ้นและอุปสงค์เริ่มฟื้นตัว ทั้งยังได้รับอานิสงค์จากการลงทุนต่างประเทศ จากการย้ายฐานผลิตจากจีน คาดการณ์ปี 2023 การส่งออกไทยขยายตัว 1-2% และเศรษฐกิจโต 3.5%
ความท้าทายใหญ่เศรษฐกิจโลกปี 2023
- เศรษฐกิจถดถอย (ขึ้นดอกเบี้ยเร็วเกินไป)
- ราคาพลังงานสูง (ราคาสินค้าบริการยังสูง) ซึ่งบั่นทอนกำลังซื้อ
- ความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ เช่น สงครามเทคโนโลยี ‘สหรัฐฯ–จีน’ ซึ่งส่งผลกระทบทั่วโลก
เหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นจากสถานการณ์ปัจจุบัน
- กรณีฐาน: เศรษฐกิจถดถอย
- Downside Risk หรือความเสี่ยงด้านลบมีเยอะ (ขึ้นดอกเบี้ยแรง = Hard Landing, วิกฤตราคาพลังงาน = กระทบยุโรป) มีโอกาสที่ตัวเลขไม่ถึงที่ประมาณการไว้ และอาจเกิดการหดตัวของเศรษฐกิจโลก แต่ไม่รุนแรงเท่าช่วง Covid-19 ปี 2020
‘ไทย’ กับโอกาสเติบโตในปี 2023
- ไทยยังคงต้องพึ่งพาจีน แต่ยังมีความเสี่ยง
- ไทย ไม่วิกฤตแน่นอน
- เทรนด์โลกยังอยู่ = Low Carbon (ไทยใช้พลังงานสะอาด 35% ในการปั่นไฟฟ้า), Digitalization (โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลไทย เป็นอันดับ 2 ในอาเซียน)
- คำแนะนำสำหรับนักธุรกิจ–นักลงทุน
- บริหารจัดการความเสี่ยงให้ดี
- โอกาสยังมีอยู่มาก
ติดตาม “ลงทุนนิยม Live” ได้ทุกวันจันทร์ พุธ และศุกร์ เวลา 12:15 น. ทาง Wealth Me Up Channel