×

Wealth Me Up ให้เงินทำงาน

เคลียร์ชัด “พรบ.e-Payment”

10,859

 

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

 

มีผลบังคับใช้กันแล้วตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคมที่ผ่านมา สำหรับพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๔๘) พ.ศ. ๒๕๖๒ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า พรบ. ภาษีออนไลน์ หรือ ภาษี e-Payment

 

กฎหมายฉบับนี้บังคับให้บุคคลดังต่อไปนี้รายงานข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มี “ธุรกรรมลักษณะเฉพาะ” ในปีที่ล่วงมาเฉพาะที่อยู่ในความครอบครองต่อกรมสรรพากรภายในเดือนมีนาคมของทุกปี

  1. สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
  2. สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
  3. ผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชำระเงิน

 

หากฝ่าฝืนไม่รายงานข้อมูลตามกฎหมายฉบับนี้จะต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 100,000 บาท และปรับอีกไม่เกินวันละ 10,000 บาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่หรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง ดังนั้นมั่นใจได้แน่ว่าสถาบันการเงินที่กล่าวมารายงานข้อมูลเราให้กรมสรรพากรแน่ๆ

 

ธุรกรรมลักษณะเฉพาะ หมายถึง ธุรกรรมที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดในปีที่ล่วงมาดังต่อไปนี้

 

  1. ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 3,000 ครั้ง หรือ
  2. ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 400 ครั้ง และมียอดรวมของ ธุรกรรมฝากหรือรับโอนรวมกันตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป

 

เพราะฉะนั้นกฎหมายฉบับนี้แม้ชื่อจะเกี่ยวกับช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ แต่เนื้อหากฎหมายครอบคลุมทุกคน ทุกอาชีพ ไม่ได้เจาะจงเก็บภาษีเฉพาะบุคคลที่ทำธุรกิจออนไลน์เท่านั้น

 

แปลความได้ว่า

 

  • ถ้ายอดฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันในสถาบันการเงินใดตั้งแต่ 3,000 ครั้งขึ้นไป ไม่ว่ายอดเงินจะเป็นเท่าไหร่ สถาบันการเงินนั้นก็ต้องรายงาน หรือ
  • ถ้าฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 400 ครั้ง และมียอดรวมของธุรกรรมฝากหรือรับโอนรวมกันตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป ต้องเข้าเงื่อนไขทั้ง 2 อย่าง สถาบันการเงินนั้นก็ต้องรายงาน

 

ถ้าไม่อยากให้ธุรกรรมการเงินของเราถูกรายงาน ก็บริหารธุรกรรมของเราอย่าเข้าเงื่อนไข เช่น ยอดธุรกรรมเงินไหลเข้าไม่ถึง 3,000 ครั้ง หรือถ้ายอดธุรกรรมเงินไหลเข้าถึง 400 ครั้ง ยอดเงินไหลเข้าก็อย่าให้ถึง 2 ล้านบาท หรือยอดเงินไหลเข้าเกิน 2 ล้านบาท  ยอดธุรกรรมเงินไหลเข้าก็อย่าให้ถึง 400 ครั้ง เป็นต้น

 

สรุปจากกฎหมายฉบับนี้

  • แม้ชื่อจะเกี่ยวกับช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ แต่เนื้อหากฎหมายครอบคลุมทุกคน ทุกอาชีพ ไม่ได้เจาะจงเก็บภาษีเฉพาะบุคคลที่ทำธุรกิจออนไลน์เท่านั้น
  • กำหนดให้ผู้มีหน้าที่รายงานรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะในปีที่ล่วงมาเฉพาะที่อยู่ในความครอบครองต่อกรมสรรพากร หมายความว่า การรายงานจะยึดเลขบัตรประชาชนเป็นหลัก (หลักการเดียวกับการคุ้มครองเงินฝาก) ไม่สนใจว่าจะเปิดบัญชีเงินฝากกี่ประเภท กี่บัญชี นับข้อมูลทุกบัญชีรวมกันเฉพาะของสถาบันการเงินนั้นๆ ส่วนบัญชีร่วม (ชื่อเจ้าของบัญชี 2 คนขึ้นไป) สรรพากรยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องนี้
  • การนับข้อมูลจะนับเฉพาะข้อมูลเงินไหลเข้าบัญชีเงินฝากเท่านั้น คือ ข้อมูลเงินรับโอนและข้อมูลการฝากเงิน
  • หากเรามีบัญชีเงินฝากหลายสถาบันการเงิน  บัญชีของสถาบันการเงินที่เข้าเกณฑ์ที่สรรพากรกำหนดเท่านั้นถึงจะส่งข้อมูลให้สรรพากร บัญชีเราในสถาบันการเงินไหนที่ไม่เข้าเกณฑ์ สถาบันการเงินนั้นก็ไม่ต้องส่งข้อมูล เหมือนการคุ้มครองเงินฝากอีก คือ คุ้มครอง 1 ล้านบาทแต่ละสถาบันการเงินไม่ใช่ทุกสถาบันการเงินรวมกัน ดังนั้น กรณีคุ้มครองเงินฝาก เราใช้วิธีกระจายบัญชีเงินฝากเพื่อให้ได้คุ้มครองเยอะๆ กรณีแจ้งข้อมูล ก็ใช้วิธีกระจายบัญชีเงินฝากไปหลายๆสถาบันการเงินก็ได้เช่นกัน ถ้าไม่อยากให้สถาบันการเงินส่งข้อมูลเราให้สรรพากร
  • ข้อมูลที่ส่งให้สรรพากร มีแค่ ชื่อ-นามสกุล จำนวนครั้ง วงเงินฝากและรับโอน ข้อมูลเหล่านี้จะอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของสรรพากร ไม่มีใครสามารถเข้าไปดูได้

 

แล้วสถาบันการเงินต้องส่งข้อมูลเมื่อไหร่ กฎหมายฉบับนี้กำหนดส่งรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะต่อกรมสรรพากรครั้งแรกภายในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563 แปลว่า ข้อมูลธุรกรรมการเงินของเรานับจาก 21มีนาคม 2562 เป็นต้นไปอยู่ภายใต้กฎหมายฉบับนี้แล้ว

 

#WealthMeUp

Related Stories

amazon anti fatigue mats