#เราต้องรอด Special : อัพเดท COVID-19 จาก “คนไทยในจีน”
ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…
Facebook | Line | Youtube | Instagram
#เราต้องรอด Special : อัพเดท COVID-19 จาก “คนไทยในจีน”
กับ วรเวช อัศวพิสิฐกุล
สัมภาษณ์โดย เฟิร์น ศิรัถยา อิศรภักดี Investment Influencer เจ้าของแนวคิด “ใช้แรงทำเงิน ให้เงินทำงาน” (สัมภาษณ์วันจันทร์ที่ 4 พ.ค. 63)
เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ 50-60%
Post COVID-19 ผู้คนในจีน (โดยเฉพาะเมืองกวางโจว) ประมาณ 50-60% เริ่มกลับมาใช้ชีวิตปกติ โดยการทำงานเป็นแบบ fully recover (กลับมาทำงานที่ออฟฟิศทั้งหมด) แต่พฤติกรรมการใช้ชีวิตต่างจากเดิม เช่น
- การทานอาหาร: ไม่ค่อยทานอาหารนอกออฟฟิศ หรือนอกบ้าน แต่เน้นการสั่งมาทาน
- การเข้าอาคาร: มีการตรวจวัดอุณหภูมิก่อนที่ทางเข้า พร้อมใช้ WeChat ตรวจสถานะของแต่ละคน
WeChat ระบุ 3 สถานะ (แดง ฟ้า เขียว) ของคนทุกพื้นที่
ไม่ว่าจะเดินทางไปที่ไหนจะให้คนที่เข้าพื้นที่ใช้ WeChat เพื่อเช็คสถานะของคนนั้นโดยแต่ละคนจะขึ้น 3 ระดับที่แตกต่างกันตามความเสี่ยง (สีแดง = มีความเสี่ยงที่สุด รองลงมาคือสีฟ้า และสีเขียว) โดยคำนวณจากสถานที่ที่เดินทางไปตลอด 30 วันที่ผ่านมา (ถ้าเพิ่งกลับจากต่างประเทศภายใน 14 วันจะเป็นสีแดง) โดยทุกคน (ทั้งคนจีน และคนต่างถิ่น) ต้องลงทะเบียนเพื่อเชื่อมคลังข้อมูลนี้
จีน = พร้อมรับมือกับสถานการณ์มากกว่าประเทศอื่น
ประเทศจีนถือเป็นประเทศที่พร้อมรับมือกับสถานการณ์ COVID-19 มากกว่าประเทศอื่น ในมุมมองคนไทยในจีน เนื่องจากเป็นสังคมไร้เงินสด ซื้อของออนไลน์ สั่งอาหารออนไลน์ หรือเดินทางด้วยการเรียกรถมารับถึงที่ เป็นปกติอยู่แล้ว ทำให้ไม่ต้องปรับตัวมากนักเมื่อต้องมีการกักตัว หรือ Work From Home
มาตรการรัฐรวดเร็ว-เข้มงวด สื่อสารชัดเจน | ประชาชนร่วมมือ = หัวใจการจัดการวิกฤต
เหตุผลสำคัญที่ทำให้จีน สามารถควบคุม และจัดการโรคระบาดได้มีประสิทธิภาพกว่าหลายประเทศ คือ 2 ส่วนหลัก รัฐ และ ประชาชน โดยรัฐออกมาตรการอย่างรวดเร็ว เข้มงวด และบังคับใช้กฎหมายจริงจัง อีกทั้งยังมีการสื่อสารที่ชัดเจนในทุกช่องทาง โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ ขณะที่ประชาชนให้ความร่วมมือกับการดำเนินการของภาครัฐอย่างดี
ความสามัคคีระหว่างรัฐกับประชาชน ก็คือหนึ่งในจุดแข็งสำคัญของจีนตลอดช่วงที่ผ่านมา
คนจีนห่วงเศรษฐกิจ มีปิดกิจการ คาดคนจีนประหยัดขึ้น เน้นกระตุ้นศก.ในปท.
คนจีนส่วนใหญ่ยังมีความกังวล ในเรื่องผลกระทบทางเศรษฐกิจ (GDP Q1/2020 -6.8%) อีกทั้งห้างร้านต่างๆ ยังคงเงียบเหงา และมีบางแห่งผู้เช่าร้านค้าปิดกิจการลง
ส่วนการใช้จ่ายของคนจีน ความคึกคักเริ่มลดลงตั้งแต่เกิดสงครามการค้า (จีน-สหรัฐฯ) อีกทั้งโดนผลกระทบจาก COVID-19